ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ (4)วิชาหลอกฟ้า

17 ต.ค. 2560 | 10:53 น.
วิชา 9 หน้า ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ดึง 9 บุคคลผู้มีอิทธิพลทางความคิดในแต่ละแวดวง มาร่วมสืบสานปณิธานพ่อ ผ่านการ นำเสนอใน 9 วิชา ที่ทรงใช้ พัฒนาชีวิตคนไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

MP22-3306-3A Take A trip ฉบับนี้ ขอนำเสนอ “วิชาหลอกฟ้า” ซึ่งถ่ายทอดการร่วมสืบสานปณิธานพ่อ โดย “กรรณสวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา” นักแสดงหล่อมาดเซอร์ จะนำคุณไปเยือน “หอเฉลิมพระ เกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน สนามบินบ่อฝ้าย” จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเรียนรู้เรื่องฝนหลวง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ และทรงประดิษฐ์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อพระราชทานแก่นักวิชาการฝนหลวง เพื่อใช้ปฏิบัติในแนว ทางเดียวกัน ซึ่งดูสนุก เข้าใจ ง่าย และเห็นภาพที่ชัดเจน

เปลี่ยน “ฝัน” ให้กลายเป็น “ฝน” ด้วยศาสตร์ของการหลอกฟ้า ที่วันนี้เราจำได้ขึ้นใจว่า ต้องเริ่มจาก “ก่อกวน” ทำให้ไอนํ้าก่อตัวเป็นเมฆ จากนั้นเป็นขั้นตอนการ “เลี้ยงให้อ้วน” เมฆอ้วนกลั่นตัวเป็นหยดนํ้า และสุดท้าย คือ “โจมตี” เร่งให้ฝนตก จนได้นํ้าฝนในท้ายที่สุด

MP22-3306-5A ตำราฝนหลวงพระราชทานนี้ ย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2498 ระหว่างที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯเยี่ยมเยือนราษฎรทั่วภาคอีสาน ทรงถือโอกาสนี้ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของพสกนิกร จนทราบปัญหาสำคัญของคนที่นี่คือความแห้งแล้ง ขณะนั้นเองทรงแหงนพระพักตร์เพื่อทอดพระเนตรท้องฟ้า พบว่ามีเมฆลอยเต็มท้องฟ้าไปหมด แต่ไม่มีก้อนใดที่รวมตัวกันเลย ทรงคิดว่าถ้าเมฆรวมตัวกันได้ก็จะกลายเป็นฝนสามารถหยุดความทุกข์ยากของประชาชนได้

เมื่อเสด็จฯกลับมากรุงเทพฯ ทรงค้นงานวิจัยจากต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ โดยมีม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งอาสาทำฝันของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยใช้เวลา 2 ปีเต็ม ศึกษาจนพบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดฝนหลักๆ คืออุณหภูมิและความชื้น หากอยากจะสร้างฝน ต้องทำให้ความชื้นในอากาศรวมตัวกัน จากนั้นก็ทำอุณหภูมิให้เย็นจัด เพื่อให้ความชื้นรวมตัวและกลั่นตัวกลายเป็นเมฆ

MP22-3306-2A แล้วก็มาถึงขั้นตอนทด ลอง แต่ไม่มีนักบินคนใดกล้าบินชนเมฆ เพื่อพิสูจน์ความเชื่อ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงตัดสินใจเรียนขับเครื่องบิน จนได้ประกาศนียบัตร แล้วก็บินสำรวจท้องฟ้า รวมถึงค้นหาสารตั้งต้นที่จะช่วยทำให้เกิดฝน โดยที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงควบคุมอย่างใกล้ชิด สาร 2 ตัวแรกที่นำมาใช้คือเกลือและนํ้าแข็งแห้ง แต่ได้ผลเพียงแค่ “เกือบ” เท่านั้น จึงยังต้องควานหาสาร ตั้งต้นต่อไป จนได้พบตัวช่วยที่สำคัญอย่าง “แคลเซียมคลอไรด์”

MP22-3306-6A ครั้งนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯกลับมาจาก อ.บ้านโป่ง ระหว่างเส้นทางมีเมฆอยู่มาก ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ ซึ่งขับเฮลิคอปเตอร์นำขบวน จึงโปรยแคลเซียมคลอไรด์กับนํ้าแข็งแห้งเพื่อไล่เมฆมาตลอดทาง ผลปรากฏว่าเมฆแยกออกเป็นเส้นทางโล่ง คล้ายกำแพงยักษ์ 2 ข้างและเมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯถึงพระตำหนักจิตรลดาฯ กำแพงทั้ง 2 เริ่มเปิดเข้าหากัน และเกิดกระแสลมแรงไม่ช้าฝนก็ตกหนัก ในหลวงจึง ทรงมั่นใจว่า “มาถูกทางแล้ว” จนนำมาสู่การทดลองอย่างเป็นทางการครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2512 ณ สนามบินหนองตะกู ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผลที่ ได้คือท้องฟ้ามืดครึ้ม และฝนก็ตกหลังจากนั้น 15 นาที นับเป็นครั้งแรกที่ฝันตลอด 14 ปีของพระองค์กลายเป็นจริง

ถึงจะทำฝนได้สำเร็จ แต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็ทรงไม่ยอมหยุดฝัน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายการทดลองมายังสนามบินบ่อฝ้าย ซึ่งอยู่ใกล้พระราชวัง ไกลกังวล และใกล้กับโครงการพระราชดำริมากมาย อาทิ อ่างเก็บนํ้าเขาเต่า เพื่อจะได้พระราชทานแนวทางการทำงานต่างๆ ได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

MP22-3306-1A จากวันนั้นฝนที่พระ องค์ทรงสร้างจากศาสตร์ของการหลอกฟ้า ที่ทั้งค้นคิดและทดลอง ซํ้าแล้วซํ้าเล่ามานานถึง 14 ปี กลายเป็นเครื่องมือ สำคัญ ช่วยชาวบ้านนับแสนนับล้านรอดพ้นวิกฤติ จนผู้คน ขนานนามว่า “ฝนหลวง”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,306 วันที่ 19 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว