'ซีไอเอ็มบี' ชี้นักลงทุนเชื่อมั่นกองหุ้นเวียดนาม IPO ตามเป้า 1.48 พันล.

17 ต.ค. 2560 | 07:13 น.
‘ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล’ ปิด IPO กองทุนหุ้นเวียดนามได้ตามเป้า 1,485 ล้านบาท ผู้บริหารชี้เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งกว่า 6% ต่อปีในช่วง 5 ปีนับจากนี้ หนุนโอกาสเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม

[caption id="attachment_220346" align="aligncenter" width="335"] นายจุมพล สายมาลา นายจุมพล สายมาลา[/caption]

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิลประสบความสำเร็จในการเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ หรือ CIMB-Principal Vietnam Equity Fund (CIMB-PRINCIPAL VNEQ) เมื่อวันที่ 2-11 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่จองซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สามารถปิดการจองซื้อหน่วยลงทุนที่ 1,485 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่านักลงทุนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนของซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิลและภาพรวมเศรษฐกิจประเทศเวียดนามที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต

“เราพอใจกับผลตอบรับที่ได้จากนักลงทุนที่ให้ความเชื่อมั่นจองซื้อกองทุน CIMB-PRINCIPAL VNEQ เข้ามาจำนวนมาก ส่งผลให้เราสามารถปิดการเสนอขาย IPO ได้ตามเป้าหมาย ได้ที่ 1,485 ล้านบาท"นายจุมพล กล่าว

สำหรับกองทุน CIMB-PRINCIPAL VNEQ มีจุดเด่นที่เป็นกองทุนกองแรกที่เข้าลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นเวียดนาม โดยกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียน หรือมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมถึงสามารถลงทุนในกองทุนรวม ETF ตราสารทุนต่างประเทศ รวมเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล กล่าวว่า มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตได้ดี จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง การเมืองที่มีเสถียรภาพ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และรายได้ต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เวียดนามมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจัยบวกโดดเด่น เช่น การเติบโตของ GDP ของเวียดนามในปี 2560-2565 ที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็วประมาณ 6% ต่อปี (ข้อมูลจาก Bloomberg Consensus และ IMF ข้อมูล ณ มิถุนายน 2560) โดยเวียดนามเป็นหนึ่งใน 16 ประเทศ จากทั้งหมดกว่า 200 ประเทศ ที่ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเกินกว่า 6% ต่อปีในช่วง 5 ปีนับจากนี้ การที่เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO เมื่อปี 2550 ได้ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) เข้ามาตั้งฐานการผลิตสินค้า รวมถึงการทำข้อตกลงทางการค้า (FTAs) กับกลุ่มประเทศอื่นๆ ส่งผลดีต่อการยกระดับประเทศเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม

ในขณะที่แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางและการขยายตัวของสังคมเมือง ถือเป็นปัจจัยบวกต่อการเพิ่มอัตราการบริโภคภาคประชาชนและการลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่มีปัจจัยเสริมด้านการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม เช่น การปรับลดข้อจำกัดการถือครองหุ้นของต่างชาติหรือ Foreign Ownership Limit (FOL) ในหลักทรัพย์บางกลุ่ม ทำให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 49% ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมด ตลาดหลักทรัพย์เวียดนามยังมีค่า P/E อยู่ที่ประมาณ 14 เท่า ที่ถือว่ายังต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเดียวกัน และโอกาสที่ตลาดหุ้นเวียดนามจะถูกย้ายไปคำนวณใน MSCI Emerging Market ภายในปี 2563 ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียดนามมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เชื่อว่าด้วยกลยุทธ์การบริหารของทีมจัดการลงทุนของ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ในการบริหารจัดการลงทุนในหุ้นเวียดนามตรง (Direct Investment) จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียดนาม การเข้าเยี่ยมชมบริษัท (Company Visit) การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คัดเลือกหุ้นรายตัวจากพื้นฐานของบริษัท (Bottom-up stock selection) การเสริมสภาพคล่องการลงทุนผ่านการลงทุนใน VN30 ETF และการตั้งเป้าผลตอบแทนรวม (Total Return Focus) โดยไม่อ้างอิงผลตอบแทนตลาด ผสานความร่วมมือกับทีมจัดการลงทุน Regional Investment Team ของกลุ่ม CIMB-Principal Asset Management เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งในระดับมหภาคและเชิงลึกของหลักทรัพย์ลงทุนที่มีศักยภาพเติบโตสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จึงเป็นทีมจัดการลงทุนที่เข้าใจตลาดการลงทุนในอาเซียนเป็นอย่างดี ทำให้มีความมั่นใจว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนโดยรวมได้อย่างเหมาะสมให้กับผู้ลงทุน e-book