ขาใหญ่ ในตลาดหุ้น : ‘พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ’ พันธกิจ‘ท้าทาย’กู้ซาก IEC

14 ต.ค. 2560 | 14:53 น.
อ๊ายยยขายของ-7 แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3

1507991842899

[caption id="attachment_219774" align="aligncenter" width="377"] พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ[/caption]

ธุรกิจนี้ กำไรได้ ถ้าไม่โกง  เป็นคำกล่าวของ พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอ็นจีเนียริงฯ (IEC) บุตรคนโตของ โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งบทบาทและภารกิจขณะนี้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า  2 เดือนที่ผ่านมา  ที่ “พงศ์กวิน” เข้าไปบริหารบริษัทที่บอบชํ้าจากการกระทำของอดีตผู้บริหารเก่าคนแล้วคนเล่า ต่างแย่งชิงกันฉ้อฉล-ทุจริต สูบเงินออกจาก IEC  เกือบจะเหลือแต่ซาก จนไม่เหลือเจ้าภาพ ปล่อยให้กลุ่มนักลงทุนกลุ่มใหม่ เข้ามาหาผลประโยชน์อีกทอด

ก่อนที่ “ซาก” ของ IEC จะย่อยสลาย โกมล-ลูกชาย เป็น 1 ในนักลงทุนที่หลงเคลิ้มไปกับนโยบายสร้างฝันของ “ภูษณ ปรีย์มาโนช” ไม่สามารถทอดสายตาผ่านเลยไปได้ ท่ามกลางผู้ถือหุ้นรายย่อยร่วม 25,000 คน โกมล-ลูกชาย จึงต้องยื่นมือเข้ามากอบกู้ IEC ด้วยการใส่เงินอัดฉีด ประทังไปพลางๆ
1507992496110
ภารกิจหนักอึ้งบังเกิดแล้วกับ พงศ์กวิน หนุ่มน้อยวัย 38 ปี  เขาถูกท้าทายด้วยปัญหาที่หมักหมม ทั้งหนี้สินของ IEC  คดีความทุจริตของอดีตผู้บริหาร, การเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กลับมามีกำไรเลี้ยงบริษัทได้ รวมไปถึงการให้โรงไฟฟ้าที่หยุดดำเนินการเดินต่อได้ หรือที่ผลิตไฟฟ้าอยู่แล้ว ให้การผลิตมีประสิทธิภาพ ขณะที่ความขัดแย้งของผู้ถือหุ้น ที่สัดส่วนการถือหุ้นต่างกันไม่ถึง 1% (ข้อมูล ณ 26 ก.ย. 60) เป็นปัญหาเฉพาะหน้าอีกทางที่ต้องผ่านไปให้ได้

2 เดือนที่ผ่านมา “พงศ์กวิน” เข้าไปจัดการอะไรบ้างกับ IEC??

โฟม หรือ พงศ์กวิน เล่าว่า IEC มีการลงทุน ที่สูงเกินความจริง หน้าบัญชีติดลบ ติดหนี้เจ้าหนี้การค้า  ไม่มีวัตถุดิบ ทำให้หยุดผลิตบ่อย ต้นทุนการผลิตสูง สิ่งแรกที่คุณพ่อทำ คือ การนำเงิน 15 ล้านบาทแรก ให้บริษัทกู้ โดยไม่มีหลักประกัน โดยเงินจำนวนนี้ นำไปต่อรองเจ้าหนี้การค้าให้ส่งวัตถุดิบผลิตไฟฟ้าได้ใช้เครดิตตัวคุณพ่อ การันตีกับเจ้าหนี้ กระทั่งปัจจุบันมีสต๊อกวัตถุดิบรองรับการผลิตไฟฟ้าถึง 7 วัน  ปลอดภัยระดับหนึ่ง

หลังจากแก้ปัญหาวัตถุดิบได้ “โฟม” ได้มุ่งหน้า “ตัด และหั่น” ค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่สำนักงาน จากที่เคยใช้ออฟฟิศ 3 ห้อง ค่าเช่า 8-9 แสนบาทต่อเดือน ลดลงมาเหลือเพียง 1 ห้องสำนักงาน ค่าเช่าลงมาเหลือราว 200,000 บาท  ลดพนักงาน (ด้วยความจำเป็น) ลง 30% ของพนักงานทั้งหมด โดยจ่ายเงินชดเชยบรรเทาความเดือดร้อนจากการเลิกจ้าง, การใช้หน่วยงานกลางทำราคากลางสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง

[caption id="attachment_219516" align="aligncenter" width="335"] พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ[/caption]

“2 เดือนที่ผมเข้าไป นโยบายการบริหารของผม ค่าใช้จ่ายลดลง สามารถเบรกการขาดทุนได้ ถ้าไม่นับภาระดอกเบี้ยปีละ 60 ล้านบาท จากหนี้การค้าที่มีอยู่  110 ล้านบาท หนี้ตั๋วบี/อี 70 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคา 170 ล้านบาทต่อปี น่าจะเบรกขาดทุนได้ แต่มีประเด็น จ่ายดอกเบี้ยจำนวนมาก กลายเป็นว่า หน้าบัญชีติดลบ กระแสเงินสดไม่เพียงพอ ของเดิมๆ กำไรยาก จากการลงทุนสูงเกินจริง การบริหารจัดการไม่ดี ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้องการเงินทุนเข้าไปปรับปรุงเครื่องจักรการผลิต โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าจีเดค ที่หาดใหญ่จะคุ้มทุนต้องผลิตให้ได้ 4.3 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบันทำได้เพียง 3.8 เมกกะวัตต์เท่านั้น โรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้า (COD) แล้วทั้งหมด 17 เมกะวัตต์ ขาดทุนทุกวัน เบรกอีเวนต์ไม่ได้”
image1 เพิ่มทุน RO:แก้ปัญหา โรงไฟฟ้าเก่า-ซื้อของใหม่ต่อยอด ซึ่งโฟมบอกว่า แก้ไขได้กรณีเดียวคือ การเพิ่มทุนมีเงินเข้ามากว่า 2,000 ล้านบาท  เข้ามาอัดฉีดเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาเก่า คือ โรงไฟฟ้าชีวมวลที่หนองรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งผลิตดำเนินการและสัญญาขายไฟฟ้าจะหมดในเดือนเมษายน 2561 หากไม่มีเงินมาดำเนินการต่อ หรือขายออกไม่ทัน การลงทุนไปแล้ว 115 ล้านบาท เสียหายกลายเป็นศูนย์ ซึ่งเขาไม่ต้องการเห็น นอกจากนี้เงินก้อนใหม่ มีแผนนำไปซื้อโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งใหม่ ขนาด 8 เมกะวัตต์ ราคา 750 ล้านบาท ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงไฟฟ้าที่หยุดผลิตจากปัญหาสภาพคล่อง

สำหรับพงศ์กวิน ระดับความรู้ปริญญาตรีด้านวิศว กรรมโยธาและปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ตลอดจนความชำนาญการทำธุรกิจจากบริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ฯธุรกิจรองเท้าของครอบครัว และอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม 2 หมื่นยูนิต กว่า 10 ปีมานี้ ไม่รู้สึกท้าทายเท่ากับการได้แก้ปัญหาให้ IEC กลับมาเทิร์นอะราวด์ได้  และเชื่อว่าต้องทำให้ได้ เพื่อไม่ให้ IEC เข้าแผนฟื้นฟู  ความเสียหายมาถึงผู้ถือหุ้นรายย่อย 25,000 คน

คอลัมน์ : ขาใหญ่ ในตลาดหุ้น/ หน้า หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3305 ระหว่างวันที่ 15-18 ต.ค.2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9