ห่วงสิ่งแวดล้อม EEC! กมธ. แปรญัตติ ก.ม. ถามหามาตรฐานป้องกัน

18 ต.ค. 2560 | 03:54 น.
กมธ.พาณิชย์ฯ ผนึก กมธ.การเงินฯ และพลังงาน ลงพื้นที่ศึกษาสภาพพื้นที่ “อีอีซี” หนุนเป็นนโยบายที่ดี แต่มีความเป็นห่วงด้านสิ่งแวดล้อม ... “สิงห์ศึก” เตรียมยื่นแปรญัตติ ร่าง พ.ร.บ.อีอีซี ให้ศึกษาผลกระทบ หวั่น! ประชาชนรอบโครงการเดือดร้อน

ระหว่างที่ร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะมารองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) นั้น ในส่วนของคณะกรรมาธิการ ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และแรงงาน, คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการเงิน, คณะกรรมาธิการการคลัง และคณะกรรมาธิการพลังงาน ได้ลงพื้นที่เพื่อไปศึกษาข้อมูลและรวบรวมรายละเอียดของอีอีซี เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.อีอีซี


TP14-3255-1-696x653

พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กมธ.การพาณิชย์ฯ ได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลในการพัฒนาพื้นที่อีอีซี ร่วมกับ 3 คณะกรรมาธิการดังกล่าว นำไปเป็นข้อมูลประกอบในการแปรญัตติที่จะมีขึ้นในวันที่ 16 ต.ค. นี้ ซึ่งเห็นว่า อีอีซีเป็นนโยบายที่ดี แต่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการดูแลด้วย

 

[caption id="attachment_219403" align="aligncenter" width="503"] พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)[/caption]

ทั้งนี้ กมธ. กำลังศึกษาว่า ถ้าหากกฎหมายอีอีซี ผ่าน สนช. แล้ว ภาพรวมประเทศจะได้ประโยชน์แน่ นักลงทุนก็มาลงทุนในประเทศมากขึ้น แต่ประชาชนคนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงได้หรือไม่ เกิดความเหลื่อมล้ำหรือไม่ ไม่ใช่ตีกรอบเหมือนบ้านจัดสรร อยู่ดีมีสุขในบ้านจัดสรรอย่างเดียว ขณะที่ คนนอกเขตไม่ได้อะไรเลย ต้องดูในเรื่องเศรษฐกิจได้ประโยชน์อย่างไร กรณีมีผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำเสีย อากาศเสีย จะแก้ไขและเยียวยาอย่างไร แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย ซึ่งในไทยก็มีบทเรียนจากมาบตาพุดมาแล้ว วันนี้เราไม่อยากให้เกิดอีก ต้องหาทางป้องกันไว้ก่อน

โดยมองว่า ประเด็นการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจน เพียงแต่ในร่าง พ.ร.บ. มีการระบุตั้งกองทุนเพื่อมาเยียวยาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ในเรื่องมาตรการป้องกันไม่มีการระบุไว้ในร่าง พ.ร.บ. ดังนั้น ต้องพิจารณาว่า จะมีมาตรการดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

พล.อ.สิงห์ศึก กล่าวว่า ที่ผ่านมา นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้พบกับทาง กมธ.พาณิชย์ฯ อย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้ว เพื่อแจ้งแจงรายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ.อีอีซี ซึ่งทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีความตั้งใจ และปรารถนาที่จะให้อีอีซีเกิดขึ้นตามนโยบายรัฐ ตรงไหนไม่เข้าใจ นายอุตตมก็อธิบายให้ฟัง และทำงานประสานกันอยู่แล้ว

“ผมมองว่า ‘ร่างอีอีซี’ โดยรวมมีประโยชน์ เราผ่านกฎหมายส่งเสริมการลงทุนด้านนวัตกรรม แต่ร่าง ก.ม.อีอีซี มาเสริมการใช้พื้นที่และอำนวยความสะดวก แต่การอำนวยความสะดวกในเบื้องต้น ผมหมายความว่า ต้องให้ทั่วถึง ไม่ใช่เป็นจุด ๆ ต้องทำให้เป็นเหมือนเมืองใหม่เลย”

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01

ประธาน กมธ.การพาณิชย์ฯ ระบุว่า ในการดูงานครั้งนี้ยังได้ลงพื้นที่ จ.ระยอง - ตราด และที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา เพื่อดูเกี่ยวกับด้านการลงทุน การใช้เทคโนโลยี และเรื่องแรงงาน รวมทั้งการค้าขาย ทั้งการส่งออก-นำเข้า ซึ่งพบว่า ประเทศไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะด้านการเกษตร-ผลไม้ และอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเติบโตที่ดี

ขณะเดียวกัน นิคมอุตสาหกรรมที่เกาะกงนั้น รัฐบาลอนุญาตให้เช่า ให้สิทธิพิเศษ 10 ปี ซึ่งระยะเวลาให้เช่าน้อยกว่าประเทศไทย อุตสาหกรรมเป็นพวกเสื้อผ้าที่ต้องนำเข้ามาไทย เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินใกล้ จ.เกาะกง และโรงไฟฟ้าพลังน้ำสตึงมนัม ทราบมาว่า ทางรัฐบาลกัมพูชายังไม่มีความชัดเจนที่จะเดินหน้าในโครงการดังกล่าว

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,305 วันที่ 15-18 ต.ค. 2560

e-book