กคช.สร้างบ้านเขียว ปีหน้า4.7หมื่นยูนิต

18 ต.ค. 2560 | 00:26 น.
กคช.ขานรับองค์การสหประชาชาติจัดกิจกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกปี 60 จัดสัมมนาหัวข้อ “ที่อยู่อาศัย
สีเขียวสำหรับผู้มีรายได้น้อย” ผู้ว่าการกคช.ยืนยันเร่งเดินหน้าผลิต 4.7 หมื่นหน่วยในปี 61 พร้อมบูรณาการหน่วยเกี่ยวข้องผลักดันอย่างเต็มที่

ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยว่า องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมในทุกๆ ปี เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก เพื่อให้ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจกับสถานการณ์การอยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม รวมทั้งสร้างความตระหนักในความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัยในอนาคต โดยในปี 2560 ได้วางกรอบแนวคิด “นโยบายที่อยู่อาศัย : บ้านที่ทุกคนเข้าถึงได้” เพื่อให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องที่อยู่อาศัยตามแนวคิดดังกล่าว

[caption id="attachment_175039" align="aligncenter" width="377"] tatpol ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.)[/caption]

กคช.ได้จัดกิจกรรมวันที่อยู่อาศัยโลก ประจำปี 2560 ในหัวข้อ “ที่อยู่อาศัยสีเขียวสำหรับผู้มีรายได้น้อย” นำเสนอแนวคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยสนับสนุนที่อยู่อาศัยสีเขียวสำหรับผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนขยายเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยสีเขียวสำหรับผู้มีรายได้น้อย มีประเด็นสำคัญดังนี้คือ 
1. ด้านนโยบาย จะคำนึงถึงการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำอย่างไรให้มีการอนุรักษ์พลังงาน การออกแบบบ้านให้มีประสิทธิภาพประหยัดพลังงาน โดยมองในด้านการถ่ายเทความร้อนและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ลดการใช้พลังงาน เช่น โครงการบ้านเบอร์ 5 โดย กคช.ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องการใช้ ฉลากสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม แผนยุทธศาสตร์พัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เติบโตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01 2. กฎระเบียบและเทคโนโลยี อาทิ เรื่องพลังงานสีเขียว (Building Energy Code) การออกแบบโดยคำนึงถึงทิศทาง แดดและการระบายอากาศ การลดผลกระทบและสร้างสิ่งแวดล้อมต่อประชาชน กำหนดโซนของ
ผู้อยู่อาศัยเพื่อรองรับทุกระดับรายได้ ลดการใช้พลังงานในการเดินทาง เน้นให้มีทางรถจักรยานมากขึ้น วัสดุประหยัดพลังงาน โดยมีการวิจัยและพัฒนาวัสดุ ปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อ-จัดจ้างให้เอื้อต่อการใช้วัสดุประหยัดพลังงาน ภาครัฐต้องทำให้เกิดตลาด Mass product เพื่อให้เกิดความต้องการ (demand) เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ราคาวัสดุก่อสร้างลดลง

ส่วนประเด็นที่ 3 กลไกทางการเงินนั้น จะเน้นให้สามารถสร้างแรงจูงใจจากทางภาครัฐ เช่น เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่า มาตรการทางภาษี เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ผู้รับเหมา และผู้พักอาศัย การใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในภูมิภาค เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง รวมถึงมีวิจัยและพัฒนาให้วัสดุพื้นถิ่นมีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานหรือยืดอายุการใช้งาน และการสร้างที่อยู่อาศัยสีเขียวควรมีการขอการสนับสนุนจากรัฐบาล

“ดังนั้นเมื่อได้แนวทางที่ชัดเจนแล้วในปี 2561 จึงจะนำไปประยุกต์ใช้กับการเร่งดำเนินโครงการที่ได้รับจำนวนมาในปี 2561 ทั้งสิ้น 4.7 หมื่นหน่วยให้สำเร็จตามเป้าหมาย และจะสานต่อในโครงการของปีต่อๆไปอย่างต่อเนื่องด้วยการบูรณาการทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนโครงการอย่างเต็มที่ต่อไป”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,305 วันที่ 15 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว