ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ ตอน 3 : วิชาหมอดิน

16 ต.ค. 2560 | 09:29 น.
MP22-3305-A

ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ ตอน 3 : วิชาหมอดิน | วิชา 9 หน้า “ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ” ที่ทรงใช้พัฒนาชีวิตคนไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ดึง 9 บุคคลผู้มีอิทธิพลทางความคิดในแต่ละแวดวง มาร่วมสืบสานปณิธานของพ่อ ผ่านการนำเสนอใน 9 วิชา ที่ทรงใช้พัฒนาชีวิตคนไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

 

[caption id="attachment_219229" align="aligncenter" width="503"] บอย โกสิยพงษ์ บอย โกสิยพงษ์[/caption]

Take A Trip ขอนำเสนอ “วิชาหมอดิน” ซึ่งถ่ายทอดการร่วมสืบสานปณิธานของพ่อ โดย “บอย โกสิยพงษ์” นักแต่งเพลงชื่อดัง จะนำคุณไปเยือน “ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” จ.ราชบุรี

พลิกตำราในหลวง เอาชนะดินเสื่อมโทรม เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้เมื่อมาเยือนศูนย์ดังกล่าว เชื่อหรือไม่ว่า ที่ดินหลายแปลงที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย “ในหลวง รัชกาลที่ 9” กลับมีสภาพเสื่อมโทรมจนน่าใจหาย เพราะส่วนใหญ่ผู้ถวายมักคิดว่า พระองค์จะทรงนำที่ดินว่างเปล่าไปสร้างพระตำหนัก

MP22-3305-3A

ทว่า... พระองค์กลับคิดมุมกลับ ด้วยเห็นความสำคัญของดินยิ่งกว่าใคร ทรงอธิบายว่า ที่ดินในเมืองมีจำกัด ต่อให้สภาพย่ำแย่เพียงใด ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ใช้ประโยชน์ ไม่เช่นนั้น สุดท้ายประเทศไทยก็จะเหลือแต่ทะเลทราย และหนึ่งในโครงการที่พระองค์สามารถเอาชนะปัญหา จนพลิกฟื้นดินเสื่อมโทรมจนกลับมาเป็นดินดีได้ ก็คือ “เขาชะงุ้ม” แห่งนี้

ที่ดินซึ่งในอดีตแห้งแล้ง ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้อีก แม้แต่หญ้า แต่เมื่อ “ในหลวง รัชกาลที่ 9” เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2559 ทรงโปรดให้ขุดอ่างเก็บน้ำและสำรวจที่ดินโดยละเอียด ว่า จุดใดที่น่าจะพอเพาะปลูกต้นไม้ได้ ก็ให้ไปปลูกตรงนั้นก่อน เมื่อปลูกแล้ว ก็ปล่อยให้ต้นไม้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ โดยป้องกันไม่ให้คนเข้ามาบุกรุกทำลาย หลังพยายามอยู่หลายปี ก็เริ่มเห็นผล ทั้งพันธุ์ไม้ที่กระจายอยู่ทั่วผืนป่า สัตว์ป่าที่เริ่มกลับคืนสู่รังอีกครั้ง จนกลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ในที่สุด

MP22-3305-4A

ส่วนดินที่เสื่อมสภาพสุด ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการขุดดินลูกรังไปขาย พระองค์ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้ “หญ้าแฝก” ซึ่งมีรากแข็งแรง สามารถแทงทะลุดินที่แห้งกรังและช่วยทำให้น้ำกลับมาซีมผ่านไปได้ โดยก่อนปลูกยังรับสั่งให้ปรับสภาพดินด้วยการนำปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยอินทรีย์, น้ำ และปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง, ถั่วพร้า แล้วไถกลบ ซ้ำไปซ้ำมาอยู่ 2-3 ปี จนมีหน้าดินเกิดขึ้นบ้าง ถึงค่อยปลูกหญ้าแฝกนานถึง 2 ปี 8 เดือน จนกลายสภาพเป็นดินดี สามารถปลูกพืชต่าง ๆ ได้อีกครั้ง

MP22-3305-2A

ระหว่างนั้น “ในหลวง รัชกาลที่ 9” เสด็จฯ มาทรงตรวจเยี่ยมความคืบหน้า พร้อมรับสั่งชมเชยผู้เกี่ยวข้องทุกคน โดยเฉพาะกรมพัฒนาที่ดิน ว่า “โครงการนี้ทำให้เป็นของขวัญวันแซยิดใช่ไหม พอใจมาก และขอบใจมาก แล้วจะมาใหม่เมื่อครบ 6 รอบ” สร้างความปลื้มปีติกับข้าราชการผู้ถวายงานเป็นอย่างยิ่ง ผลจากการพัฒนาพื้นที่ “เขาชะงุ้ม” นำมาซึ่งการต่อยอดอีกมากมาย อาทิ การทำแปลงสาธิตการฟื้นฟูดินด้วยหญ้าแฝก, การทดลองปลูกผักผลไม้ในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม, การทดสอบปลูกสบู่ดำ เพื่อเป็นพืชทดแทนพลังงานทางเลือก รวมไปถึงการจัดแหล่งเรียนรู้ด้านป่าไม้ ตามแนวคิด “ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” และปัจจุบันพื้นที่กว่า 849 ไร่นี้ ก็จัดว่า เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญของ จ.ราชบุรี ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ ที่ไม่ทรงย่อท้อต่อดินเลว ๆ ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ที่ดินเลว ๆ เช่นนี้ ถ้าไม่ทำ แล้วจะให้ใครทำ”

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01

โดยในมุมมองของ “คุณบอย” ก็มีทรรศนะต่อเรื่องนี้ว่า “ปัญหาดินเสื่อมโทรมต้องรักษาด้วยการเพิ่ม ‘วิตามินของดิน’ เพื่อฟื้นฟู ปรับปรุงบำรุงให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง แก้ปัญหาที่ทำกินของตนเองให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด อาทิ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ป่าเติบโตตามในวิถีธรรมชาติ, การปลูกหญ้าแฝก ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การรักษา ความชุ่มชื้นของดิน

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,305 วันที่ 15-18 ต.ค. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว