“หัวเว่ย” ชู! กิกะแบนด์ฯ สร้างเมืองอัจฉริยะ

16 ต.ค. 2560 | 08:41 น.
“หัวเว่ย” เผย ในเอเชียและยุโรปวางยุทธศาสตร์อัลตร้าบรอดแบนด์ เป็นก้าวแรกเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิตอล ชี้! “กิกะแบนด์ ซิตี้” คือ กลยุทธ์หลักในการสร้างเมืองอัจฉริยะ ปรับโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจเพิ่มศักยภาพดิจิตอลเมือง

นายสู่ เผิง ผู้อำนวยการธุรกิจบรอดแบนด์ ของ “หัวเว่ย” เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมงานเสวนาระดับเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 3 ขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องสมาร์ทซิตีและรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยภายในงานได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้นำด้านอุตสาหกรรม ในเรื่องต่าง ๆ อาทิ บริการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และบริการดิจิตอลสาธารณะ, การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิตอล, เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน, สังคมดิจิตอล, นวัตกรรมดิจิตอล และสิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ คือ “เครือข่ายอัลตร้าบรอดแบนด์” เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของการสร้างเมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีไอซีที

 

[caption id="attachment_219199" align="aligncenter" width="503"] สู่ เผิง ผู้อำนวยการธุรกิจบรอดแบนด์ ของหัวเว่ยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่ เผิง ผู้อำนวยการธุรกิจบรอดแบนด์ ของหัวเว่ยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[/caption]

ในขณะที่ หลายประเทศชั้นนำ อาทิ สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, สิงคโปร์ และจีน ได้ยกอัลตร้าบรอดแบนด์ให้เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ ซึ่งในระหว่างการแชร์ข้อมูล หัวเว่ยได้ยกตัวอย่างกลยุทธ์ “กิกะแบนด์ ซิตี” ในการสร้างเมืองอัจฉริยะ

อย่างไรก็ตาม การนำ “กิกะแบนด์ ซีตี” มาใช้จะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านดิจิตอลของเมืองและสร้างแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจสตาร์ตอัพ รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร อาทิ ระบบแสงไฟถนนอัจฉริยะ, กล้องซีซีทีวีความละเอียดสูง, ระบบการบริหารการจราจร และโอกาสการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ในโรงเรียนต่าง ๆ

ทั้งนี้ ในเมืองซูโจว ซึ่งมีระบบไฟเบอร์บรอดแบนด์เข้าถึงทุกบ้าน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP เติบโตขึ้น 60% ในระหว่างปี 2554-2559 ประชากรมีการใช้จ่ายเงินผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ถึง 30% ของการใช้จ่ายทั้งหมด และสามารถลดเวลาที่ต้องใช้ติดต่อกับภาครัฐลงได้ถึง 90%

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01
การสร้างกิกะแบนด์ ซิตี ผู้ว่าการประจำเมืองต้องมีนโยบายรองรับ เพื่อรับมือกับความท้าทายและอุปสรรคในระหว่างการติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์ นอกจากนี้ การกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนในการชดเชยสำหรับเรื่องต่าง ๆ และริเริ่มให้มีกองทุนบริการ รวมถึงต้องสามารถออกกฎหมายกรอบโครงการด้านไอซีทีที่ครบวงจรได้

จากกรณีตัวอย่างความสำเร็จของเมืองชั้นนำต่าง ๆ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและโอเปอเรเตอร์ด้านโทรคมนาคม ถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ สำหรับกิกะแบนด์ ซิตี ในเกาหลี และเอสเคเทเลคอม ล้วนให้การสนับสนุนโครงการกิกะบิตบรอดแบนด์อย่างเต็มที่อีกด้วย

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,305 วันที่ 15-18 ต.ค. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว