เอกชนแห่ชิงเค้ก! “ขายไฟฟ้า” คาดยื่นประมูลกว่า 2 พัน รับซื้อแค่ 300 เมกะวัตต์

15 ต.ค. 2560 | 11:03 น.
Screen Shot 2560-10-15 at 17.47.01
เอกชนแห่งชิงเค้ก! เอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม 16-26 ต.ค. นี้ คาดยื่นเสนอขายไฟฟ้าเกิน 2 พันเมกะวัตต์ จากโควตาที่เปิดรับซื้อแค่ 300 เมกะวัตต์ ... “เคเอสแอล” หวั่น! ดัมพ์ราคารุนแรง ราคาขายไฟเหลือไม่ถึง 3 บาทต่อหน่วย


นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามที่ กกพ. ได้ออกประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ในรูปแบบเอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม (SPP Hybrid Firm) โดยในเชื้อเพลิงแบบผสมผสานในปริมาณ 300 เมกะวัตต์

[caption id="attachment_171374" align="aligncenter" width="503"] นายวีระพล จิรประดิษฐกุล นายวีระพล จิรประดิษฐกุล[/caption]

โดยในวันที่ 16-26 ต.ค. นี้ กกพ. จะเปิดให้ผู้สนใจยื่นประมูลเสนอขายไฟฟ้าในปริมาณรับซื้อ 300 เมกะวัตต์ และจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและการประเมินข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านเทคนิค ในวันที่ 24 พ.ย. นี้ และจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกภายในวันที่ 14 ธ.ค. 2560 การเปิดรับซื้อไฟฟ้าครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลเป็นจำนวนมาก เห็นได้จากในช่วงที่มีการเปิดรับตรวจสอบจุดเชื่อมโยงระบบโครงข่ายไฟฟ้าไปแล้ว พบว่า มีผู้ประกอบการสนใจมากกว่า 2 พันเมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันและทำให้ราคารับซื้อไฟฟ้าตามที่กำหนดไว้ 3.66 บาทต่อหน่วย ต่ำลงได้อีก

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ เคเอสแอล เปิดเผยว่า จากที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลขายไฟฟ้าในโครงการเอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม (SPP Hybrid Firm) มากถึง 2 พันเมกะวัตต์ เกินโควตาที่จะเปิดรับซื้อ 300 เมกะวัตต์นั้น ต้องยอมรับว่า ผู้ประกอบการที่มีวัตถุดิบเอง ย่อมมีความได้เปรียบ ซึ่งในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการ อาทิ โรงงานน้ำตาลหันมาลงทุนโรงไฟฟ้าค่อนข้างมาก เพราะมีชานอ้อยเหลือ สามารถนำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงได้ แต่ส่วนใหญ่ใช้ในโรงงาน เมื่อภาครัฐเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากเอสพีพี ก็มีผู้ประกอบการสนใจจำนวนมาก รวมถึงเคเอสแอลด้วย

1756
ดังนั้น การประมูลครั้งนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาขายไฟฟ้าต่ำกว่าที่ กกพ. กำหนดไว้ 3.66 บาทต่อหน่วย ซึ่งในส่วนของบริษัทแล้ว อาจจะไม่สามารถเสนอในราคาที่ต่ำกว่านี้ได้ เนื่องจากสัญญารับซื้อ 20 ปี เป็นราคาเฉลี่ยระยะยาว ต้นทุนเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวลไม่สามารถกำหนดได้ตายตัว เพราะในอนาคตราคาเศษไม้อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.2-1.3 พันบาทต่อตัน เทียบกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ที่มีต้นทุนลดลงต่อเนื่อง จากเดิมเคยสูงถึง 70-80 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ แต่ตอนนี้เหลือเพียง 40-50 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01

นอกจากนี้ อาจมีผู้ประกอบการบางรายที่กดราคาขายไฟฟ้าต่ำมาก ๆ เพียงเพื่อต้องการชนะการประมูลเอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม เพราะจะเป็นผลดีกับราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ

สำหรับ “เคเอสแอล” มีความพร้อมเสนอขายไฟฟ้าเอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเอสพีพี ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย กำลังการผลิต 20-25 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ โดยบริษัทมีโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อยผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงงานน้ำตาล แต่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเหลืออยู่ จึงต้องการเสนอขอขายไฟฟ้าเข้าระบบ แต่ภายหลังจากการตรวจสอบจุดเชื่อมโยงระบบโครงข่ายกับการไฟฟ้าฯ พบว่า บริษัทจะต้องลงทุนสายส่งเอง 40-50 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 200-300 ล้านบาท ดังนั้น หากราคาขายต่ำมาก ก็อาจไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน

“ปัจจุบันต้นทุนผลิตไฟฟ้าใช้เองก็เกือบ 3 บาทแล้ว หากราคาแข่งขันเอสพีพีไฮบริดเฟิร์มที่ กกพ. จะเปิดรับซื้อแข่งขันรุนแรงมาก ๆ ดัมพ์ราคากันเหลือ 2-3 บาทต่อหน่วย ก็คงไม่น่าสนใจแล้ว เพราะบริษัทจะต้องลงทุนเดินสายส่งที่จะเชื่อมระบบของการไฟฟ้าฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่า มีผู้ประกอบการสนใจจำนวนมาก เกินกว่าที่ กกพ. กำหนดโควตาไว้ที่ 300 เมกะวัตต์” นายชลัช กล่าว

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,305 วันที่ 15-18 ต.ค. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว