กรมโรงงานฯส่งเสริมใช้พลังงานทดแทนตามศาสตร์พระราชา

13 ต.ค. 2560 | 04:01 น.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรม ตามรอยศาสตร์พระราชา

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคส่วนที่ใช้พลังงานมาก โดยจากข้อมูลพบว่าต่อปีภาคส่วนดังกล่าวมีการใช้พลังงานไฟฟ้า จำนวน 6,500 พันตัน และพลังงานเชื้อเพลิงรวมกว่า 27,803 พันตัน หรือเป็นปริมาณกว่าร้อยละ 35.7 ของการใช้พลังงานในประเทศ ดังนั้น กรมโรงงานฯ ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมให้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ได้น้อมนำแนวความคิด ตามหลักของศาสตร์พระราชาด้านความยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมการประหยัดพลังงานเพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมโดยมีเป้าหมายในการลดใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ในปี 2579 ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปี 2558 – 2579 ของประเทศไทย

ภาพกระบวนการผลิต 1 สำหรับยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าวได้ดำเนินการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่องใน 2 ด้านคือ

1. ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ผ่านการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการประหยัดพลังงานสำหรับโรงงานขนาดเล็ก เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (CT) โครงการสำรวจและจัดทำแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม (Biogas) โครงการ  เพิ่มประสิทธิภาพระบบไอน้ำในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความร้อนโดยการปรับแต่งการเผาไหม้ในภาคอุตสาหกรรม  รวมถึงยังได้ ดำเนินโครงการยกระดับประสิทธิภาพพลังงานในระบบไอน้ำสำหรับโรงงานควบคุม เพื่อจัดทำฐานข้อมูลการใช้พลังงาน  และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบตรวจสอบการใช้พลังงานของหม้อน้ำแบบออนไลน์ (Smart Boiler Monitoring System) สำหรับโรงงานควบคุม เพื่อการพัฒนาหม้อน้ำไปสู่ Boiler 4.0 ตามแนวทางนโยบาย Thailand 4.0

2.การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน  รัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนและมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในทุกๆ ด้าน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานในบางพื้นที่มีความเหมาะสมในการใช้พลังงานดังกล่าว ซึ่งพลังงานลมนอกจากจะใช้พื้นที่ในแนวราบที่น้อยกว่าเทคโนโลยีพลังงานทดแทนรูปแบบอื่นแล้ว การนำพลังงานลมมาใช้งานยังสามารถประยุกต์ ได้ในหลายลักษณะ เช่น การใช้กังหันลมในการผลิตไฟฟ้า การใช้กังหันลมทำการอัดอากาศ การใช้กังหันลมอัดอากาศเพื่อใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในระบบเติมอากาศต่างๆ และการใช้กังหันลมร่วมกับระบบผลิตพลังงานรูปแบบอื่น

ภาพกระบวนการผลิต ทั้งนี้ ในปี 2561 กรมโรงงานฯ มีการส่งเสริมการประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม อันได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม S-curve โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีการใช้พลังงานจำนวนมาก รวมถึงโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs ซึ่งมีจำนวนผู้ประกอบการจำนวนมากเช่นเดี่ยวกัน  โดยกรมโรงงานฯ มีแผนที่จะเข้าไปช่วยยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน สู่การเป็น SMART Factory พร้อมจัดทำมาตรฐานหลักเกณฑ์การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม หรือ Factory Energy Code เพื่อยกระดับการประหยัดพลังงานโดยรวมในโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงการร่วมกันพัฒนาคน เช่น การอบรมให้ความรู้ความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญ องค์กรและสมาคมวิชาชีพเฉพาะทางด้านวิศวกรรม และหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเข้ามาร่วมบูรณาการในการ ที่จะผลักดันให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน นายมงคล กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน นายมารุจน์ พรหมเมศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินกิจการมากว่า 26 ปี โดยเริ่มจากโรงงานขนาดเล็กและเติบโตอย่างรวดเร็วจนในปัจจุบันเป็นผู้นำในด้านการแปรรูปโลหะภัณฑ์ขนาดใหญ่ โดยมีเครื่องจักรที่หลากหลายสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่งานเชื่อมประกอบ งานเชื่อมพอกผิวแข็ง งานพ่นทราย ทำสี งานกลึง งานติดตั้งเครื่องจักร ฯลฯ มีกำลังการผลิตสำหรับงานเชื่อมประกอบโลหะ 500 ตัน/เดือน โดยนอกจากการผลิตดังกล่าว บริษัทยังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยพลังงานภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เตรียมรองรับการผลิตกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทน ตามโครงการพระราชดำริ ขนาดใหญ่ 100 กิโลวัตต์ โดยกังหันดังกล่าว 1 ต้น สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 12,000 ยูนิตต่อต้นต่อเดือน ที่ความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 5 – 6 เมตรต่อวินาที สามารถช่วยประหยัดได้สูงถึง 48,000 บาท ต่อต้น ต่อเดือน ทั้งนี้ ในอนาคตบริษัทเตรียมวางแผนการผลิตสำหรับกังหันลมขั้นต่ำจำนวน 200 อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการผลิตดังกล่าวจะเพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในการนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของพลังงานในโรงงานการส่งเสริมพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนในโรงงาน อ๊ายยย!!!!ขายของ