ป.ป.ช.สรุปความเห็น 6 ประการ ส่งถึง กรธ.

12 ต.ค. 2560 | 12:33 น.
ป.ป.ช.สรุปความเห็น 6 ประการ ส่งถึง กรธ.

วันนี้(12 ตุลาคม) เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (www.nacc.go.th)ได้เผยแพร่ความเห็น 6 ประเด็นสำคัญต่อร่างพระราชบัญบัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... (ที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)เมื่อวันที่ 2  ตุลาคม2560) ดังนี้

1.กลุ่มมาตราและประเด็นที่อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1.1 เรื่อง การตรวจสอบการทำงานของ ป.ป.ช. เห็นว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มี อำนาจเพียงตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ไม่มีอำนาจตรวจสอบเพื่อดำเนินคดีอาญา เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติวิธีการตรวจสอบไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๖ แล้วว่าหากมีการ กล่าวหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ศาลฎีกาตั้งผู้ไต่สวนอิสระมาตรวจสอบอยู่แล้ว และการให้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบคณะกรรมการการ ป.ป.ช. อีกจึงขัดรัฐธรรมนูญ และ เป็นการซ้ำซ้อน

1.2 เรื่อง คำนิยาม “เจ้าพนักงานของรัฐ” ซึ่งไม่ครอบคลุมและแตกต่างจากที่กำหนดตาม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้การชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในอดีต ไม่เป็น ความผิดอีกต่อไป เช่น คดีอดีตนายกรัฐมนตรี กรณีจำนำข้าว

1.3 เรื่อง การตั้งคณะทำงานร่วม ปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่มีการบัญญัติในเรื่องนี้ไว้ แต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม โดยในเรื่องดังกล่าวนี้ หากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ประสงค์ที่จะให้มีขั้นตอนดังกล่าว ก็ควรที่จะคงให้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่กรณีนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญปี 2560ไม่มีการบัญญัติไว้ ตามร่างมาตรา 77 จึงเป็นการขัดเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญ และหากดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว จะเสมือนหนึ่งว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็น พนักงานสอบสวนที่อยู่ภายใต้อำนาจของอัยการสูงสุดที่จะสั่งการ ซึ่งไม่น่าจะเป็นหลักการที่ถูกต้อง ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และ รัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งได้มีการบัญญัติ เรื่อง การตั้งคณะทำงาน ร่วมกรณีการดำเนินการคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไว้ในมาตรา 276 ประกอบมาตรา 272 กรณีที่อัยการสูงสุดเห็นว่า รายงาน เอกสารและความเห็น ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้

tamma

2. กลุ่มมาตราและประเด็นที่ขัดต่อหลักการจัดตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. แนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

2.1 เรื่อง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ ตามร่างมาตรา 97 กำหนดให้เพียงผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน โต้แย้งสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และบังคับให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องกลับมาทบทวนภายใน 30 วันโดยละเอียด ทำให้สภาพ คำวินิจฉัยสามารถถูกโต้แย้งได้จากองค์กรที่มิใช่คู่กรณี และทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเท่านั้น (ขัดหลักการตามคำวินิจฉัยศาล รัฐธรรมนูญที่ 2/2546)

2.2 เรื่อง การอุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษ และการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ

การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ใช้อำนาจชี้มูลความผิดทางวินัย เป็นการใช้อำนาจตาม รัฐธรรมนูญและเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ต่างหากจากการดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการนั้นๆ จึงส่งผลให้ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ทางวินัยแล้ว ผู้บังคับบัญชาจะต้องถือเอารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในขณะที่ ร่างมาตรา 97 เปลี่ยนหลักการดังกล่าว โดยกำหนดให้การพิจารณาลงโทษทางวินัยตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. หากผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนมีพยานหลักฐานอันแสดงได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำความผิด ให้ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน มีหนังสือพร้อม เอกสารและพยานหลักฐานถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาทบทวน มตินั้นได้ ซึ่งหลักการนี้อาจขัดต่อหลักการตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้ ในคำวินิจฉัยที่ 2/2546 เช่นกัน

2.3 ประเด็น เรื่อง การสถาปนาอำนาจให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจทับซ้อนกับ คณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

3. มาตราและประเด็นที่ทำให้การปราบปรามการทุจริตเสื่อมประสิทธิภาพ

3.1 เรื่องกระบวนการไต่สวน มีการสร้างรูปแบบและขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการดำเนินการโดย ต้องนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาก่อน เช่น ร่างมาตรา 49 วรรคสาม หรือร่างมาตรา 51 กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. 3 คน เป็นคณะกรรมการไต่สวน ไม่ยืดหยุ่น และอาจมีปัญหาหากมีปริมาณเรื่องจำนวนมากไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง หรือตามร่างมาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ต้อง รับพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหานำส่งทุกกรณีจนกว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติชี้มูล อาจทำให้ เป็นช่องทางประวิงเวลาได้ และไม่คำถึงถึงการชี้แจงภายในกำหนดเวลา

3.2 การกำหนดกรอบระยะเวลาเร่งรัดการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อเทียบกับ กรอบระยะเวลาในการฟ้องคดีของอัยการสูงสุด ตามร่างมาตรา 77 จะเห็นได้ว่า มีกรอบระยะเวลา แตกต่างกันมาก ทั้งนี้ หากต้องการเร่งรัดการดำเนินการก็ควรกำหนดกรอบระยะเวลาการพิจารณาฟ้อง ของอัยการสูงสุดให้เหมาะสมและเท่าเทียมกัน

3.3 ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินบางประเภท ตามร่างมาตรา 37 กำหนดให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจขอข้อมูลธุรกรรมทางการเงินจาก ปปง. ได้ แต่ปัญหาคือ กรณีที่ข้อมูล ธุรกรรมทางการเงินไม่เข้าหลักเกณฑ์(ต่ำกว่า 2 ล้านบาท) ที่ต้องรายงานต่อ ปปง. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่สามารถมีข้อมูลในส่วนนี้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบทรัพย์สินได้เลย

3.4 ตามร่างมาตรา 63 การพิจารณาว่าเรื่องคดีใดมิใช่เป็นความผิดร้ายแรง เท่ากับเป็นการ กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องรับเรื่องและเป็นผู้พิจารณาทุกเรื่องว่าเรื่องกล่าวหาใดควรส่งหรือ เรื่องใดควรทำ ไม่สอดคล้องกับหลักการที่ต้องการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการเฉพาะเรื่องกล่าวหาขนาดใหญ่ จึงควรให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาไว้ก่อน แล้วจึง รายงานมายังสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา

3.5 เรื่อง ความเสมอภาคในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามร่างมาตรา 127 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อหัวหน้าส่วน ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดหรือปฏิบัติงานอยู่ ควรกำหนดให้สอดคล้องกับ มาตรา 150 ที่ให้คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยื่นลักษณะเดียวกัน

4. มาตราที่สุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการตีความและอาจเป็นการนิรโทษกรรมความผิดที่ได้เคยวินิจฉัยชี้มูล ไปแล้ว

4.1 การกำหนดนิยาม “เจ้าพนักงานของรัฐ” ไว้แตกต่างจากเดิมอาจทำให้คดีที่ได้ชี้มูลผู้ดำรง ตำแหน่งในฐานะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ้นจากความรับผิด เนื่องจากกฎหมายที่บัญญัติขึ้นในภายหลังไม่ได้ กำหนดให้ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องรับผิด เป็นต้น

4.2 ไม่กำหนดนิยาม “การกระทำการทุจริตในวงราชการ” ที่ชัดเจน

5.มาตราที่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และขวัญกำลังใจ

5.1 เรื่อง การกำหนดกรอบระยะเวลา และบทลงโทษ สันนิษฐานความผิดโดยปราศจากการ สอบสวนและการพิสูจน์ความผิด เช่น การเปิดเผยข้อมูล ตามมาตรา 35

ppc

5.2  เรื่อง การใช้กฎหมายสันนิษฐานความผิดของเจ้าหน้าที่ไว้และให้ลงโทษโดยไม่มี กระบวนการพิสูจน์ความผิดไม่เคยมีกำหนดไว้ในองค์กรใดในกระบวนการยุติธรรมแม้แต่องค์กรเดียว ที่สำคัญการดำเนินการที่ผ่านมา ไม่เคยมีปัญหาเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากมีบทลงโทษที่รุนแรง หากมีการนำความลับไปเปิดเผย

5.3 เรื่อง ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต เช่น ตามมาตรา 40 บทคุ้มครอง เจ้าหน้าที่ถูกตัดออกทั้งหมด จึงเป็นช่องทางให้มีการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่เพื่อประวิงคดี เนื่องจากต้องไป ต่อสู้เพื่อให้ตัวเองพ้นผิด

5.4 การตัดเรื่อง องค์กรกลางบริหารงานบุคคลออก ทำให้หลักความเป็นอิสระในการ บริหารงานบุคคลไม่มี ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารทรัพยากรบุคคลซึ่งควรจะต้องเป็นอิสระ

6. ประสิทธิภาพในการดำเนินคดีที่ถูกตัดออกไป

6.1 เรื่อง อำนาจในการดำเนินการตามคำร้องขอจากต่างประเทศในคดีทุจริต ในฐานะ ศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านการทุจริต เพื่อดำเนินการตามพันธกรณีระหว่าง ประเทศ ตามกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา

6.2 อำนาจที่จำเป็นในการระงับยับยั้งการทุจริตที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น การแฝงตัว การสะกดรอย การปฏิบัติการอำพราง การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก การดักฟังโทรศัพท์ เพื่อยับยั้งการทุจริต ในโครงการขนาดใหญ่หรือการฮั้วประมูล ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ทุกประเทศต้องมี

6.3 การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดนำไปซุกช่อนในต่างประเทศ เพื่อนำกลับคืนมา

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว