ม.อ.ชูโมเดลหาดใหญ่สู้นํ้าท่วม สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้จัดการน้ำยุค4.0

14 ต.ค. 2560 | 01:31 น.
ม.อ.วางยุทธศาสตร์ “หาดใหญ่เข้มแข็ง..สู้ภัยนํ้าท่วม” เน้นการบริหารจัดการนํ้ากันกระทบย่านเศรษฐกิจตามนโยบายประเทศไทย 4.0 รับสถานการณ์ช่วงฤดูฝนท้ายปี 2560

นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์นํ้าท่วมครั้งใหญ่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อปี 2531 ปี 2543 และ ปี 2553 ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งด้านชีวิต ทรัพย์สิน สังคม และเศรษฐกิจต่อพี่น้องประชาชน แต่แม้ว่าชาวหาดใหญ่จะได้รับผลกระทบจาก นํ้าท่วม หลังเกิดเหตุการณ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นล้นพ้น ที่พระองค์ทรงพระราชดำริโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ คลอง ร.1 หรือ “คลองภูมินาถดำริ” ขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มการระบายนํ้าสามารถป้องกันนํ้าท่วมได้เป็นอย่างดีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

[caption id="attachment_217969" align="aligncenter" width="314"] ดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา[/caption]

“ จึงถือเป็นโอกาสดีที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง และประสานงานกันอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างแบบอย่างของการบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหานํ้าท่วมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนให้กับจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ในการเตือนภัยให้มีความรวดเร็ว สามารถลดความเสียหายให้เหลือน้อยลงได้ และอีกอย่างที่สำคัญ คือความร่วมมือร่วมใจกันของผู้นำชุมชน พี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่แต่ละชุมชนที่จะช่วยกันดูแล เป็นพี่เลี้ยง สามารถแจ้งเตือนภัยคนในชุมชนได้อย่างทันท่วงที”

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติภาคใต้ เปิดเผยว่า เนื่องจากมีผลกระทบจากการเกิดนํ้าท่วมหนักของภาคใต้ในช่วงต้นปี และการเกิดนํ้าท่วมในภาคเหนือและภาคอีสานในช่วงเดือน กรกฎาคม และสิงหาคม เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ช่วงฤดูฝนในปี 2560 จึงได้จัดเสวนา “หาดใหญ่เข้มแข็ง..สู้ภัยนํ้าท่วม ครั้งที่ 8 ประจำปี 2560” ภายใต้หัวข้อ “การบริหารจัดการ นํ้าท่วมเมืองหาดใหญ่ ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0” ขึ้น โดยเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการนํ้าท่วมให้ทันสมัยตามนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เปิดพื้นที่เป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือประชาชนเนื่องจาก
อยู่บนที่สูง และเป็นที่จอดรถได้ 1,000 คัน เปิดอาคารกิจกรรมนักศึกษาเป็นครัวสำหรับผู้ประสบภัยและเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคเพื่อนำส่งให้แก่ผู้ประสบภัย

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มอ. กล่าวว่า มอ. ได้มีการจัดกิจกรรมเสวนา “หาดใหญ่เข้มแข็ง..สู้ภัยนํ้าท่วม” มาแล้วก่อนหน้านี้ จำนวน 7 ครั้ง โดยมีการทบทวนแผนและการดำเนินการป้องกันนํ้าท่วมของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอหาดใหญ่ และประเด็นความต้องการ/ความเดือดร้อนและปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ในช่วงที่เกิดนํ้าท่วมจากตัวแทนภาคประชาชน และยังมีการร่วมวางแผนการทำงาน การจัดการที่เป็นระบบ เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการที่เรียกว่า Hat Yai Model ต่อจากนั้น ถอดบทเรียนเพื่อขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีของ Hat Yai Model สู่ลุ่มนํ้าอื่นๆ ในจังหวัดสงขลา เพื่อให้เป็น Songkhla Model ต่อไป และได้รับโจทย์วิจัยที่เป็นปัญหาหรือความต้องการจากชุมชนผู้ประสบอุทกภัย นอกจากนั้น ยังมีการลงนามความร่วมมือในการรับมือและป้องกันพิบัติภัยนํ้าท่วมในจังหวัดสงขลาของหน่วยงาน
ต่างๆ จำนวน 14 หน่วยงาน ที่ร่วมมือร่วมใจกันทำงานด้านนํ้าท่วม

“สำหรับในปี 2560 นี้ เนื่องจากมีผลกระทบจากการเกิดนํ้าท่วมหนักของภาคใต้ในเดือนมกราคม และการเกิดนํ้าท่วมในภาคเหนือและภาคอีสานในช่วงเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ทำให้มีการตื่นตัวในด้านข่าวสารเกี่ยวกับนํ้าท่วม และด้านการ เตรียมตัวและรับมือนํ้าท่วมหาดใหญ่ในช่วงท้ายปีนี้”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,304 วันที่ 12 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1