BBLผนึกสู้ฟินเทคจีน พัฒนาระบบกวาดลูกค้า หมดยุคแข่งต๋ง

08 ต.ค. 2560 | 23:10 น.
แบงก์บัวหลวง ชี้ระบบชำระเงินแบงก์เสี่ยงถูก อี-คอมเมิร์ซจีนเจาะตลาด หลังต้อนลูกค้าไปอยู่บนแพลตฟอร์มก่อนปล่อยสินเชื่อเร่งปรับกลยุทธ์รับมือก่อนโดนกินแชร์ เหตุโลกอนาคตแข่งด้วยข้อมูล-พฤติกรรมผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องค่าธรรมเนียม

นายพนุกร จันทรประภาพเจ้าหน้าที่บริหารระดับ Vice President ฝ่ายการลงทุนธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBLเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การเข้ามาของธุรกิจด้านอี-คอมเมิร์ซของจีน เช่น Alibaba หรือ AliPay จะทำให้การทำธุรกรรมทางการเงิน (Transaction) ขึ้นไปอยู่บนแพลตฟอร์มของระบบเหล่านี้หมด ซึ่งไทยหรือธนาคารพาณิชย์ไทยจะไม่เห็นข้อมูลเหล่านี้ที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมเลย เพราะธุรกรรมไม่ได้วิ่งผ่านระบบของไทย ทำให้การเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคจะอยู่บนแพลต ฟอร์มนี้ เพราะในอนาคตจะแข่งขันด้วยข้อมูลผู้บริโภคและพฤติกรรมลูกค้าเป็นหลัก

MP23-3303-A ธนาคารกรุงเทพประเมินว่า พื้นที่ที่ธนาคารพาณิชย์จะถูกกระทบก่อน และเป็นพื้นที่ที่จะต้องมีการปรับตัว จะเป็นเรื่องของระบบการชำระเงิน หรือ Payment เนื่องจากจะเห็นว่าฟินเทค (Finance Technology) จะพัฒนาระบบการชำระเงินออกมาค่อนข้างมาก เช่น กระเป๋าตังค์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ก็เป็นส่วนหนึ่งที่กลุ่มฟินเทคเข้ามาแย่งชิงตลาดชำระเงิน เพราะเป็นธุรกรรมที่จะเห็นพฤติกรรมผู้บริโภค และหลังจากนี้จะเกิดการแข่งขันกับธนาคารโดยการปล่อยสินเชื่อ ให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ที่มีการเดินบัญชีหรือธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มในระยะต่อไป

ดังนั้นในระยะต่อไป การแข่งขันในเรื่องของค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจะหายไป และจะไม่มีอีกต่อไป โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องกลับมาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และคิด Business Model การทำธุรกิจใหม่ เพราะการทำธุรกิจใหม่จะเป็นการแข่งขันด้านข้อมูล โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยบริการลูกค้า ซึ่งมีทั้งการพัฒนาเองและการจับมือกับพันธมิตร ส่วนรายได้ที่หายไปจากค่าธรรมเนียม จะเห็นธนาคารหารายได้อย่างอื่นมาช่วยชดเชยผ่านการเพิ่มมูลค่าบริการด้านอื่นๆ ให้กับลูกค้า

สำหรับธนาคารกรุงเทพ เบื้องต้นได้พัฒนาระบบบริการด้านการชำระเงิน โดยนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการเพิ่มการบริการ หรือ Collaboration เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เช่น กลุ่มที่ยังไม่เข้าถึงสถาบันการเงิน หรือ UnBank เป็นต้น ผ่านระบบการชำระเงิน E-Wallet ที่จะให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อน ควบคู่กับการพัฒนาระบบภายในของธนาคารเองด้วย “ต่อไปจะไม่มีคำว่าธรรมเนียมเข้ามาเกี่ยวข้องในการแข่งขันแล้ว ทุกอย่างจะแข่งขันบนฐานข้อมูลและพฤติกรรมผู้บริโภค ทุกแบงก์จะต้องมาทิศทางนี้หมด”

นายพนุกร กล่าวต่อไปอีกว่า การจัดโครงการ Bangkok Bank InnoHub ถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการต่อยอดธุรกิจที่มีการเปลี่ยน แปลงเกิดขึ้น โดยโครงการนี้จะบ่มเพาะสตาร์ตอัพกลุ่มฟินเทคระดับโลกที่คัดจากผู้สมัคร 119ราย จาก 32 ประเทศ เหลือเพียง 8 ทีมโดยคาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีความร่วมมือกับสตาร์ตอัพใน 8 ทีมนี้ในการออกผลิตภัณฑ์และบริการอย่างน้อย 1 โปรดักต์

ส่วนการลงทุนร่วมกัน อาจจะต้องศึกษาในรายละเอียดและความเป็นไปได้อีกครั้ง เพราะการลงทุนมีหลายรูปแบบ และสตาร์ตอัพก็มีหลายธุรกิจ เช่น ด้านชำระเงิน ลูกค้ามั่งคั่ง หรือการปล่อยสินเชื่อระหว่างกัน (P2P) เป็นต้น

“ฟินเทคเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนรุ่นใหม่จะเข้าสาขาน้อยลง และหันไปทำธุรกรรมบนมือถือทั้ง ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและต่างประเทศ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,303 วันที่ 8 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว