‘ไทยเบฟ’ลั่นบุกเอเชีย ผู้นำอาหาร-เครื่องดื่ม ยาหอมรัฐกระตุ้นศก.

11 ต.ค. 2560 | 14:39 น.
นับจากปี 2558 ที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟ ประกาศวิชัน 2020 ก้าวสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่มีเสถียรภาพและการเติบโตอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน Leading Asean Beverage and Food Company และการเป็นบริษัทที่มีการเติบโตแบบยั่งยืน ผ่านการเน้นโครงสร้างกลุ่มสินค้า (Product Group) ที่หลากหลาย เพื่อให้ง่ายต่อการขยายเข้าไปในตลาดที่แตกต่างกัน กว่าครึ่งทางในวันนี้ ไทยเบฟสามารถรักษาการเติบโตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมกับเดินหน้าสร้างอาณาจักรก้าวสู่การเป็นผู้นำในเอเชีย

โดยนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า 3 ปีนับจากนี้ บริษัทจะยังคงเดินหน้า
ลงทุนและขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการนำสินค้าที่เหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่เข้าไปทำตลาดเพื่อให้เหมาะสมกับการขายมากที่สุด ควบคู่กับการพัฒนาเรื่องบุคลากรเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยปี 2561 บริษัทเตรียมใช้เงินลงทุน 7,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณของปีนี้ ที่มีการใช้เงินลงทุน 5,200 ล้านบาท ในการสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้แก่กลุ่ม

[caption id="attachment_216721" align="aligncenter" width="327"] ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)[/caption]

**ชู 5 กลยุทธ์โตยั่งยืน
“นอกจากเรื่องของรายได้และผลกำไรในการเติบโตตามเป้าหมายแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโต ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และสามารถสร้างการเติบโตให้ธุรกิจควบคู่การแบ่งปันสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่า ทั้งในเรื่องสาธารณสุข กีฬา การศึกษา โครงการประชารัฐ และรวมไปถึงโครงการศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ”

ขณะที่การดำเนินงานภายใต้ 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ Growth การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่ครบวงจรใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Diversity ความหลากหลายของสินค้าทั้งในกลุ่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ Brand การมีตราสินค้าที่โดนใจ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Reach การกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ และ Professionalism ความเป็นมืออาชีพ ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร

**ทำตลาด 360 องศา
ด้านการทำตลาด บริษัทเน้นการทำตลาดแบบ 360 องศา ทั้งในกลุ่มแอลกอฮอล์และนอน แอลกอฮอล์ ซึ่งที่ผ่านมาได้เปิดตัวสินค้าใหม่ อาทิ โซดา ร็อค เมา เท็น ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้แล้ว 10% ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญจากการเดินหน้าพัฒนาสินค้าอย่างจริงจังของทางบริษัท ขณะที่กลุ่มสุราสีหงส์ทองและสุราขาวรวงข้าว ก็ถือเป็นแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท็อป 
10 ของบริษัท ที่มีชื่อเสียงว่าเป็นแบรนด์สุราระดับโลก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าที่ผลักดันให้แบรนด์เครื่องดื่มของไทยไปยังระดับสากล นอกจากนี้ยังมีการรีลอนช์เบียร์เฟเดอร์บรอย การเปิดตัวนํ้าแร่ช้าง เป็นต้น

**มั่นใจกำลังซื้อโค้งท้ายดี
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนนับจากนี้ คาดการณ์ว่าน่าจะดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายที่เตรียมกระตุ้นในช่วงปลายปี กอปรกับก่อนหน้านี้ได้มีโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ออกมาแล้ว ส่งผลให้การจับจ่ายของประชาชนกลับมาคึกคักอีกครั้ง ขณะที่ภาพรวมตลาดในเมืองไทยช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าจากปัจจัยลบสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้กลุ่มเครื่องดื่มของบริษัทโดยรวมหดตัวและมียอดขายลดลงบ้างเล็กน้อย ทำให้ภาพรวมบริษัทช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาสามารถปิดรายได้ที่ 1.42 แสนล้านบาท เติบโตลดลง 6% แต่บริษัทปรับยุทธศาสตร์โดยหันมาบริการจัดการเรื่องของค่าใช้จ่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้สามารถสร้างกำไรสุทธิได้เติบโต 3.1%

นายฐาปน กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านผลกระทบในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายหลังจากที่มีการปรับวิธีคำนวณฐานภาษีใหม่เป็นราคาขายปลีกแนะนำนั้น มองว่า การทำธุรกิจจะต้องมีการปรับขึ้น-ลงเรื่องของภาษีเป็นประจำอยู่แล้ว โดยหน้าที่ของบริษัทคือการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าถ้ามีการปรับขึ้นราคาย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดอยู่แล้วแต่เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น และเมื่อผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินแล้วก็จะสามารถปรับตัวได้ โดยบริษัทวางเป้าหมายการเติบโตทั้งยอดขายและผลกำไรอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามปัจจุบันกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มรายใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตามมูลค่า (Market Cap) ประกอบไปด้วย อาซาฮีอยู่ที่ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ไทยเบฟ 1.67 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,คิริน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และซันโตรี่ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

พร้อมกันนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟฯ (เอฟ แอนด์ เอ็น) โดยเบื้องต้นจะมีการแลกหุ้น (SWAP) แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ โดยเป้าหมายของการดำเนินธุรกรรมครั้งนี้ เพื่อทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดภายใต้การเป็นพันธมิตรกัน (Strategic partner) กำหนดวิสัยทัศน์ และภารกิจในทิศทางเดียวกัน คือการปรับสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งมีความซับซ้อน ปัจจุบันไทยเบฟถือหุ้นในเอฟแอนด์เอ็น 28% ซึ่งจะบันทึกเพียงกำไรเท่านั้น ยังไม่มีการบันทึกรายได้เข้ามาในพอร์ตจนกว่าจะถือหุ้นเกิน 50%

[caption id="attachment_216719" align="aligncenter" width="341"] ประภากร ทองเทพไพโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจสุรา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประภากร ทองเทพไพโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจสุรา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)[/caption]

**กรีธาทัพน้ำเมา
นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจสุรา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้กุมบังเหียนกลุ่มธุรกิจสุรา กล่าวถึงเป้าหมายในการขับเคลื่อนครั้งนี้ว่า จะยังคงเดินหน้ารุกตลาดเพื่อก้าวสู่ความเป็นอาเซียนแบรนด์ โดยล่าสุดได้ยกระดับแบรนด์สุราขาวรวงข้าวสู่ความเป็นพรีเมียมในชื่อ “รวงข้าว ซิลเวอร์” กับขวดแก้วใหม่ 35 ดีกรี โดยใช้โรงงานผลิตสุรากระทิงแดง เพื่อให้มีรูปลักษณ์ที่ดูอินเตอร์ เหมาะแก่การส่งออก โดยเมืองไทยจะเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนนี้ พร้อมกันนี้ยังได้เตรียมนำสินค้าในกลุ่มสุราเข้าไปทำตลาดในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น เมียนมา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเอเชียเหนืออย่าง จีน ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่นเป็นตลาดแรก

ทั้งนี้ในช่วงปีที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าไปจัดตั้งบริษัทลูกในเวียดนามในชื่อบริษัท ไอบีเอชแอล เวียดนาม จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่ายสุราและกลุ่มไวต์สปิริตอย่างเป็นทางการ โดยเบื้องต้นอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตจำหน่ายโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้และเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการได้ในต้นปี 2561 พร้อมกับนำสกอตวิสกี้ แบรนด์ old pultney เข้าไปทำตลาดด้วย โดยวางเป้าหมายช่วง 3 ปีนับจากนี้ (ปี 2563) บริษัทจะต้องมีฐานการผลิตและบริษัทจัดจำหน่ายเหล้าขาวรวงข้าว ซิลเวอร์ ในประเทศเวียดนาม เพื่อขยายตลาด ขณะที่ในเมียนมานั้นจะเป็นโอเปอ
เรเตอร์โมเดล ส่วนฟิลิปปินส์จะต้องก้าวสู่ดิสตริสบิวเตอร์ โมเดล โดยเบื้องต้นอยู่ระหว่างศึกษาตลาด

“แม้จะมีสุราขาวรวงข้าว ซิลเวอร์ เข้ามาทำตลาดแต่ว่า สุราขาวรวงข้าวแบบดั้งเดิมจะยังคงวางจำหน่ายอยู่เช่นเดิมในราคา 120 บาท เนื่องจากยังมีกลุ่มเป้าหมายอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับเป็นสินค้าดั้งเดิมที่มีอายุยาวนานกว่า 231 ปี”

ขณะที่แบรนด์เบลนด์ 285 นั้นหลังจากมีการปรับแพ็กเกจจิ้งใหม่เพื่อให้ดูทันสมัยแล้ว ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ขวดใหม่ แคมเปญใหม่ ยิ่งใหญ่กว่าเดิม” จะเน้นการทำตลาดในประเทศเป็นหลัก ควบคู่กับการศึกษาความเหมาะสมในการทำตลาดในอนาคต โดยในช่วงปีที่ผ่านมาบริษัทได้มีการนำแบรนด์
เบลนด์ 285 เข้าไปทำตลาดในสปป.ลาว ด้วย

[caption id="attachment_216718" align="aligncenter" width="335"] งนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจอาหาร ประเทศไทย งนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจอาหาร ประเทศไทย[/caption]

**ปูพรมธุรกิจฟูด
สำหรับธุรกิจนอน แอลกอฮอล์ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งขึ้นต่อเนื่อง และกำลังจะกลายเป็นขาที่แข็งแรงในอนาคตอันใกล้ ด้วยเป้าหมายที่ต้องการก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในระดับอาเซียนเช่นกัน โดยแม่ทัพหญิงอย่าง “นงนุช บูรณะเศรษฐกุล” กรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจอาหาร ประเทศไทย กล่าวว่า ได้วางเป้าหมายภายในปี 2563 กลุ่มธุรกิจอาหารจะต้องการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า หรือคิดเป็นมูลค่า 1.5-2 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่มีรายได้ 6,000-7,000 ล้านบาท ภายใต้การเติบโตจากแบรนด์สินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการควบรวมหรือซื้อกิจการ (M&A)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจอาหารจะไม่ได้มีอัตรากำไรสูงเช่นธุรกิจแอลกอฮอล์ แต่สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำแบรนด์ไทยไปขยายตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มสามารถออกไปทำตลาดและสร้างความเป็นผู้นำตลาดได้แล้ว ธุรกิจอาหารซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ควบคู่ไปกับธุรกิจเครื่องดื่มจึงสามารถสร้างการเติบโตได้เช่นกัน

สำหรับธุรกิจอาหารปัจจุบันมี 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มแบรนด์โออิชิ และกลุ่มฟูดออฟเอเชีย (FOA) ซึ่งกลยุทธ์สร้างการเติบโตของกลุ่มแบรนด์โออิชิ อาทิ การขยายสาขา การเปิดตัวแบรนด์คอนเซ็ปต์ใหม่ เป็นต้น ส่วนกลยุทธ์กลุ่มฟูดออฟเอเชีย อาทิ การขยายสาขา การขยายพอร์ตฟอลิโอ เช่น การซื้อสิทธิการบริหารแฟรนไชส์แบรนด์เคเอฟซี ที่คาดว่าจะเจรจาแล้วเสร็จภายในสิ้นปี

ขณะที่ธุรกิจเครื่องดื่มนอน แอลกอฮอล์ กลุ่มไทยเบฟให้ความสำคัญ และต้องการสร้างการเติบโตให้เป็นผู้นำตลาดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นนํ้าดื่มแบรนด์คริสตัล ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด 21.5% ส่วนชาเขียวแบรนด์โออิชิหลังจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมาได้ใช้ 5 กลยุทธ์สำคัญ อาทิ การปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้มีความเป็นวัยรุ่น, ออกสินค้าใหม่ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เช่น ชาเขียว เคี้ยวได้, การทำตลาดเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ด้วยการสร้างกระแสในโลกออนไลน์, การรุกตลาดในภูมิภาคอาเซียน และการผลึกกำลังกับพันธมิตรในทุกส่วน ทำให้มีความสามารถในด้านการแข่งขัน ส่งผลให้สามารถขึ้นเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 46%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,303 วันที่ 8 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1