CMMU ชี้! 3 ธุรกิจไทย รับมือโลกนวัตกรรม

10 ต.ค. 2560 | 10:01 น.
CMMU เผยแนวทางการดำเนินธุรกิจของ 3 ประเภทธุรกิจ ปรับตัวตามวิวัฒนาการของธุรกิจไทย เพื่อรับมือภาวการณ์โลกแห่งนวัตกรรมเทคโนโลยี

ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รูปแบบการทำธุรกิจถูกพัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกการใช้ชีวิตประจำวัน โดยภายในช่วงเวลาประมาณ 100 ปี รูปแบบธุรกิจได้เปลี่ยนไปตลอดเวลา และอาจแบ่งเป็น 3 ยุคใหญ่ ๆ คือ “ยุคแฟมิลี่บิสิเนส” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ, “ยุคเอสเอ็มอี” ที่อุตสาหกรรมได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคการผลิตและบริการ และ “ยุคสตาร์ตอัพ” ที่เทคโนโลยีกลายเป็นตัววัดผลที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันในตลาด

[caption id="attachment_216628" align="aligncenter" width="335"] ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)[/caption]

โดยรูปแบบธุรกิจ “แฟมิลี่บิสิเนส (Family Business) รูปแบบธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุดและมีความซับซ้อนน้อยที่สุด เริ่มต้นในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิดประเทศ และเกิดการค้าขายแบบ “ซื้อมา-ขายไป” การเป็นนายหน้าขายสินค้า และต่อมามีธุรกิจประเภทบริการเพิ่มเติมเข้ามาตามลำดับ “ยุคเอสเอ็มอี” รูปแบบธุรกิจแบบ “ซื้อมาเพื่อทำการผลิต แล้วจึงจำหน่าย” โดยในประเทศไทย “เอสเอ็มอี” เริ่มมีบทบาทในภาคเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วง 2530 ที่ต่างประเทศได้เข้ามาลงทุนกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปัจจุบันที่มีธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 200,000 รายทั่วประเทศ และสตาร์ตอัพเข้ามามีบทบาทในช่วง 2555 และในปัจจุบันมีจำนวนธุรกิจสตาร์ตอัพที่ประสบความสำเร็จอยู่ประมาณ 500-1,000 ราย เนื่องจากโอกาสประสบความสำเร็จของสตาร์ตอัพที่จะได้รับการลงทุนมีเพียงไม่ถึง 10%

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,303 วันที่ 8-11 ต.ค. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1