IDE Center ปั้นโครงการเสริมเขี้ยวสตาร์ทอัพไทย

04 ต.ค. 2560 | 09:44 น.
ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ม.หอการค้า เดินหน้าพัฒนาสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีไทย ผนึกความร่วมมือกับ MIT เปิดโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ  ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 1,000 ราย

เดินหน้าบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เปิดโครงการ ICE Accelerator ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ IDE เรียนรู้หลักการดำเนินธุรกิจ 24 ขั้นตอนของการเป็นผู้ประกอบการจาก MIT ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม เสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว

IDE Media Open House11

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) ได้เปิดโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ หรือ  IDE Accelerator  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาคธุรกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยมุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมในประเทศ อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงในระยะยาวต่อไป

IDE Media Open House12 สำหรับโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ  หรือกระบวนการความรู้แบบ IDE เป็นแนวทางการสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม ซึ่งศูนย์สร้างผู้ประกอบการฯ ได้พัฒนาร่วมกับสถาบัน MIT สหรัฐอเมริกา โดยนำองค์ความรู้เชิงวิชาการมาถ่ายทอด ด้วยการใช้หลักการ 24 ขั้นตอนของการเป็นผู้ประกอบการ (24 Steps of Disciplined Entrepreneurship) ซึ่งเป็นแนวคิดนอกกรอบจากการเป็นผู้ประกอบการแบบเดิม เนื่องจากการสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม จะต้องมีการสร้าง Design Thinking ที่คิดจากปัญหาที่มีอยู่ในสังคมเพื่อสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์ปัญหาเหล่านั้นควบคู่ไปกับการสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นจุดเริ่มต้น

IDE Media Open House6

“การสร้างระบบนิเวศของธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม หรือ IDE Ecosystem เป็นพันธกิจหลักที่ IDE Center by UTCC ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องผ่านการสร้างความร่วมมือจาก 5 ภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐบาล ภาคธุรกิจใหญ่ กลุ่มทุนทางการเงิน สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการ โดยจำเป็นจะต้องสร้างความเข็มแข็งให้ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพของไทยให้สามารถสร้างธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดด”

ทางด้าน ดร.ศักดิพล เจือศรีกุล ผู้อำนวยการ ศูนย์สร้างผู้ประกอบการฯ  กล่าวว่า  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลักดันผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพของไทยที่จะต้องมีศักยภาพ  และสามารถแข่งขันได้ในโลกธุรกิจสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมนวัตกรรม ซึ่งการจัดตั้ง โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ   มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม ผ่านกระการเรียนรู้แบบ IDE โดยอิงโมเดลจากสถาบัน MIT ที่ให้การฝึกอบรม พัฒนา และบ่มเพาะ ไปจนถึงการสรรหาและสนับสนุนแหล่งทุน ตลอดจนกระทั่งมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีแนวคิด เทคโนโลยี ไปจนถึงแผนธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพของไทยสามารถขยายธุกิจไปสู่ตลาดภูมิภาคและตลาดโลกได้ IDE Media Open House14

ทั้งนี้ จากแนวคิดของ Bill Aulet จากสถาบัน MIT ได้อธิบายว่าผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDEs) จะแตกต่างจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ทั้งในด้านวิธีคิดในการดำเนินงาน การสร้างสรรค์สินค้าและบริการ ไปจนถึงการลงทุน ซึ่งจะต้องอาศัยระบบนิเวศของธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดดและขยายธุรกิจไปสู่ตลาดภูมิภาคและตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

โดยโครงการบ่มเพาะผู้รปะอบการดังกล่าว  ทางศูนย์สร้างผู้ประกอบการฯ ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาฝึกอบรมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพเพื่อพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ราย ผ่านรายการแข่งขันแผนธุรกิจ 3 รายการเพื่อคัดเลือกทีมธุรกิจที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการ IDE Competitions ซึ่งประกอบไปด้วยเวทีแข่งขันกะเทาะเปลือก GSVC:SEA และ MITEF ประเทศไทยโดยได้เปิดรับสมัครไปแล้วตั้งแต่ 15 กันยายนที่ผ่านมา และกำลังจะปิดรับสมัครในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ และ IDE Center by UTCC จะสามารถเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

IDE Media Open House13

สำหรับผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะดังกล่าว  จะได้รับคำแนะนำจากทีมโค้ชและผู้เชี่ยวชาญจาก MIT ในระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งแต่ละทีมที่ได้รับการคัดเลือกจะได้พัฒนาแนวคิดเชิงนวัตกรรม ทดสอบตลาดจริงเพื่อทำความเข้าใจในธุรกิจ และวิเคราะห์ลูกค้าคนแรกของตลาดแรก ไปจนถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งแต่ละทีมจะสามารถพัฒนาแผนการขยายตลาดให้ได้มากที่สุด และทีมที่เกิดจากโครงการดังกล่าวจะมีความพร้อมที่จะพูดคุยกับนักลงทุน และระดมเงินทุนโดยผ่านการแข่งขัน IDE Competitions ซึ่งถือเป็นโอกาสในการดึงความสนใจของนักลงทุนและมีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนเพื่อเริ่มกิจการฉบับ IDE กว่า 2 ล้านบาทด้วย