ศาสตร์พระราชาคืนที่ทำกินให้ชาวนรา

07 ต.ค. 2560 | 02:25 น.
Mp28-3302-1a จากการที่กรมชลประทานกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ได้ร่วมดำเนินโครงการสืบสานงานโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริแบบบูรณาการ ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาใช้ หนึ่งในโครงการที่ทางมูลนิธิได้ดำเนินการ คือ การขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตร ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษบกิจพอเพียงบ้านฮูแตทูวอ จังหวัดนราธิวาส

Mp28-3302-6a ที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ มีพื้นที่รวมประมาณ 11 ไร่ ซึ่งชาวบ้านร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันพัฒนา จากพื้นที่ดินทรายที่มีปัญหาด้านการเพาะปลูก ปราชญ์ชาวบ้าน และคนในพื้นที่ได้ช่วยกันปรับปรุงดินด้วยวัสดุที่จัดหาได้ง่ายในพื้นที่ อย่าง ปูนขาว และวัสดุอื่นๆ ทำให้สภาพดินกลับมาเพาะปลูกได้ ด้วยการเพาะปลูกแบบผสมผสาน รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ อาทิ แพะ ไก่พื้นเมือง เป็ดเทศ และไก่ไข่อินทรีย์หรือไก่ไข่อารมณ์ดี รวมทั้งเลือกสรรพื้นที่มีความแตกต่างและเป็นที่ต้องการของตลาด อย่าง ผักสลัด และเมล่อน สร้างมูลค่าให้กับพืชผลเกษตร จนทำให้เกิดรายได้เลี้ยงชีพ

Mp28-3302-5a และอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการซ่อมแซม ปรับปรุงและเสริมประสิทะภาพฝากสากล บ้านตันหยง อำเภอสุไหงปาดี ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมทั้งแต่ปี 2557 ทำให้ไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้ ส่งผลทำให้พื้นที่ทำกินของชาวบ้านจำนวน 1,063 ไร่ กลายเป็นพื้นที่ร้าง โดยเริ่มต้นได้มีการประเมินการซ่อมแซม คิดเป็นมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท แต่เมื่อทางมูลนิธิฯและกรมชลประทานเข้ามาประเมิน พร้อมน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ ด้วยการให้คนในชุมชนช่วยเหลือกันต่อยอดองค์ความรู้กัน ทำให้การซ่อมแซมครั้งนี้ใช้งบเพียง 10 ล้านบาท

[caption id="attachment_215212" align="aligncenter" width="335"] พาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส[/caption]

"พาตีเมาะ สะดียามู" รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และ "รุ่งเรือง ธิมาบุตร" นายอำเภอสุไหงปาดี และ "สัญชัย เหสามี" กำนันตำบลสากอ ร่วมให้ข้อมูลว่า การซ่อมแซมฝายแห่งนี้ได้นำภูมิปัญญาของชาวบ้านมาใช้ รวมทั้งการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาช่วยวันละ 50 คน ทำให้ลดงบประมาณลงไปได้ โดยการซอมแซมได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นเดือนตุลาคมนี้

Mp28-3302-2a การนำศาสตร์พระราชา ศาสตร์จากเทคนิค และวิชาการ มาผสมผสาน การสร้างกล่องเอเบียนขนาดใหญ่เพื่อทำให้ฝายมีความแข็งแรงด้วยกล่องเอเบียนกว่า 1,000 กล่อง ที่ใช้ทั้งแรงคนและแรงเครื่องจักร ทำให้แผนงานดำเนินไปได้กว่า 90% โดยโครงการนี้เมื่อแล้วเสร็จ จะทำให้ชาวบ้านสามารถกลับมาทำเกษตรกรรมได้เหมือนเดิม

Mp28-3302-3a ด้วยหลักการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ที่มุ่งมั่นดำเนินการโดยยึด 3 หลักการ ดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาท คือ 1. หลักการองค์ความรู้ 6 มิติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน้นการพัฒนาชุมชนตามหลักการองค์ความรู้ ได้แก่ ดิน น้ำ เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และ สิ่งแวดล้อม 2. หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และ 3. หลักการทรงงานและหลักการโครงการ

Mp28-3302-7a ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อทำให้ประชาชนสามารถเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมไทย นั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,302 วันที่ 5 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560
e-book