ซีพีร่วมวางปะการังเทียม ฟื้นระบบนิเวศทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน

08 ต.ค. 2560 | 05:41 น.
ระบบนิเวศปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ทำให้สภาพแวดล้อมสวยงาม และยังเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ เนื่องจากแนวปะการังช่วยป้องกันชายฝั่งจากคลื่นขนาดใหญ่ในทะเล ให้อาหารที่มีโปรตีนสูง และยังทำให้มีการจ้างงานโดยผ่านการท่องเที่ยว แต่แนวปะการังก็ถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ ด้วย 2 ปัจจัยใหญ่ คือ นํ้ามือมนุษย์และธรรมชาติ เพราะฉะนั้น การฟื้นฟูแนวปะการัง เพื่อคืนระบบนิเวศให้กับทะเล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม

Mp26-3302-8b ล่าสุด เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้ร่วมกับกรมประมง มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) วาง “ปะการังเทียม” ฟื้นทะเล-ชุมชนคนชายฝั่งให้กับชุมชนชายฝั่ง ในพื้นที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ตามโครงการความร่วมมือการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและฟื้นฟูการประมงชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน ณ หาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Mp26-3302-7b “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า การวางปะการังเทียมครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวคิดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายความยั่งยืนภายใต้กรอบ SDGs (Sustainable Development Goals)

Mp26-3302-2b การวาง “ปะการังเทียม” ให้กับชุมชนชายฝั่งในพื้นที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เป็นโครงการจัดสร้างปะการังเทียมระยะที่ 1 จำนวน 1,000 แท่ง ถือเป็นโครงการนำร่องการสร้างปะการังเทียมจำนวน 2,000 แท่ง ภายในเวลา 1 ปี ให้กับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย 4 แห่งใน 3 จังหวัดได้แก่ 1. ชุมชนชายฝั่งทะเลตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 2. ชุมชนชายฝั่งทะเล ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 3. ชุมชนชายฝั่งทะเลตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และ 4. ชุมชนชายฝั่งทะเลตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส โดยปะการังเทียมที่ใช้เป็นวัสดุแท่งคอนกรีตสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาด 1.5x1.5x1.5 เมตร

Mp26-3302-3b “ปะการังเทียมจะทำให้ระบบนิเวศสมบูรณ์ขึ้น จะเป็นที่อยู่ ที่หลบภัย และที่เพาะพันธุ์ของสัตว์นํ้า ทำให้สัตว์นํ้ามีจำนวนมากขึ้นและชาวประมงสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้”

เมื่อสัตว์นํ้ามีจำนวนมากขึ้น จะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆในชุมชนประมงชายฝั่ง ช่วยสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและท้ายสุดจะส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืนตามมา

Mp26-3302-5b จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,302 วันที่ 5 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560
e-book