สรท.มั่นใจส่งออกปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 6%  

03 ต.ค. 2560 | 08:27 น.
สรท.มั่นใจส่งออกปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 6%  ชี้ไตรมาส 4 คาดส่งออกต่อเดือน 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกดี สินค้าโภคภัณฑ์เติบโต

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผย สภาผู้ส่งออกคาดการณ์การส่งออกทั้งปี 2560 ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 6% โดยการส่งออกไตรมาสสุดท้ายเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน พร้อมกับปัจจัยการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงประเทศคู่ค้าหลักและคู่ค้าสำคัญดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมัน และความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและประเทศที่ประสบปัญหาภัยพิบัติมีผลต่อความต้องการนำเข้า ซึ่งมีผลกระทบให้ภาพการส่งออกไทยขยายตัวได้ดี

ปัจจัยที่จะมีผลต่อการส่งออกในภาพรวมให้ขยายตัว ก็ยังเป็นปัจจัยเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ กลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัว การปรับตัวสินค้าไทยเข้าสู่ Digitization ต่อความต้องการของตลาด ทิศทางสินค้าโภคภัณฑ์ ยังเป็นปัจจัยต่อภาพการส่งออก ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการส่งออก เช่น ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่า และอาจจะมีความผันผวน การกีดกันทางการค้าของสหรัฐ จากการออกประกาศ เซฟการ์ดกับสินค้าเครื่องซักผ้า อุปสรรคทาง ด้านโลจิสติกส์ เช่น การขาดแคลนตู้บรรจุสินค้า การยกเลิกเที่ยวเรือ เป็นต้น ปัญหาคาบสมุทรเกาหลีเหนือ ที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออก

003 นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยต่อผู้ส่งออกที่ต้องติดตาม ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ เพิ่มเติมจากปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการส่งออก โดยเฉพาะเรื่องของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ คือ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 13 พฤศจิกสยน 2560 โดยอาจจะกระทบต่อการบริหารจัดการวัตถุดิบขาเข้าของภาคการผลิต นโยบายส่งเสริมลงทุนภาคเอกชน และนักลงทุนต่างชาติ ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะมี MOU 7 ฉบับ เป็นสัญญาณที่ดี แต่อาจจะต้องเฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจีนตอนใต้เข้าไทย พ.ร.บ.สรรพสามิต อาจกระทบต่อภาคการนำเข้า ส่งออก และ พ.ร.บ.การบริหารจัดการน้ำ ระหว่างเกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรม ที่ยังไม่ชัดเจน

อย่างไรก็ดี สภาผู้ส่งออกมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามดูแลและแก้ไข เช่น การดูแลและรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่าสูงเกินไป เร่งส่งเสริมตลาดอื่นที่มีศักยภาพรองลงมา ควรมีการกำหนดรูปแบบแนวทางการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้มีความชัดเจน เพื่อส่งเสริมการลงทุน มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วม มากขึ้นในการออกกฎหมายใหม่ แก้ไข ปรับปรุง พ.ร.บ. กฎกระทรวง ประกาศ เป็นต้น และระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัวสำคัญ และออกมาก็ไม่ต้องการให้เกิดภาระต่อการส่งออกหรือผู้ประกอบการเอง

สำหรับการส่งออกเดือนสิงหาคม 2560 มีมูลค่า 21,224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13%เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้การส่งออก 8 เดือนแรก มีมูลค่า 153,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 8.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน e-book