'พระเมรุมาศ' สรวงสวรรค์กลางพระนคร

30 ก.ย. 2560 | 23:30 น.
นับตั้งแต่พิธีตอกหมุดเพื่อเตรียมก่อสร้างพระเมรุมาศบริเวณท้องสนามหลวง สำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2559 วันนี้ (1 ตุลาคม 2560)รวมเป็นระยะเวลามากถึง 275 วัน ที่พระเมรุมาศ อาคารประกอบงานประติมากรรม และงานจิตรกรรมต่างๆ ได้เริ่มต้นขึ้นและทยอยเสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่ตั้งไว้คือวันที่ 30 กันยายน 2560

P02-3301-1a นอกจากพระเมรุมาศซึ่งเป็นอาคารซึ่งเปรียบดั่งแกนหลักใจกลางจักรวาลแลว้ ยังประกอบด้วยอาคารแวดล้อมอื่นๆ อีกหลายส่วน เปรียบได้ดั่งสัตบริภัณฑ์คีรีที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุตามคติภูมิจักรวาล ทั้งนี้ความพิเศษประการหนึ่งของพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร คือการวางแนวแกนการก่อสร้างที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับโบราณสถานสำคัญบนเกาะรัตนโกสินทร์ เส้นแกนซึ่งวางทิศเหนือใต้เป็นแนวตรงจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามส่วนเส้นแกนทางทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นแนวตรงจากเจดีย์วัดมหาธาตุ ตัดกึ่งกลางที่พระเมรุมาศ วางตัวเป็นแนวสมมาตรเชื่อมโยงกับอาคารประกอบทุกอาคารอย่างลงตัว

417772

ประติมากรรมซึ่งได้รับการรังสรรค์ขึ้นตลอด 8 เดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น องค์มหาเทพท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ครุฑ เทวดาบันไดนาค ประติมากรรมตกแต่งเตรียมพร้อมเพื่อประดิษฐานบนพระเมรุมาศ สัตว์ประจำทิศซึ่งประกอบด้วย ช้าง ทางทิศเหนือ ม้า ทางทิศตะวันตก โคทางทิศใต้ และสิงห์ทางทิศตะวันออก รวมถึงสัตว์หิมพานต์ในสระอโนดาต ได้รับการประดับลงบนโขดหินซึ่งรวมแล้วยาวกว่า 200 เมตรเป็นที่เรียบร้อย

417771

บริเวณเบื้องหน้าโดดเด่นด้วยทุ่งนาเลข๙ ตัวเลขเก้าไทย ซึ่งดร.พรธรรมธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก กรมศิลปากรผู้ออกแบบ ภูมิสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศได้ออกแบบขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจจากคันนาที่มีความเรียบง่าย แสดงออกถึงความพอเพียงบนผืนนาซึ่งปลูกด้วยพันธุ์ข้าวในช่วงอายุต่างๆ ถึง3 สายพันธุ์คือ ต้นกล้าข้าวสายพันธุ์ปทุมธานี 1 ข้าวหอมมะลิ105 ที่กำลังแตกกอ และข้าวปทุมธานี 80 ที่กำลังออกรวงพร้อมเก็บเกี่ยว เพื่อให้นาข้าวซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สะท้อนพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 และจำลองท้องสนามหลวงเมื่อ 200 ปีก่อน ซึ่งเคยเป็นทุ่งนาใจกลางกรุงให้กลับมาอยู่ในความทรงจำของคนไทยทั้งประเทศอีกครั้ง

P02-3301-a ภาพโดย: คุณครูสุรกานต์ดะห์ลัน ที่ปรึกษาชมรมเด็กหลังเลนส์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ และนายวาทกานต์ ดะห์ลันช่างภาพเยาวชนจิตอาสา กรมศิลปากร (เครือข่ายช่างภาพโรงเรียนเทพศิรินทร์) และ 6 โรงเรียนเครือข่ายช่างภาพเยาวชนจิตอาสา กรมศิลปากร

417778

420538

420540

420542

420544

417774

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,301 วันที่ 1 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9