น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลิต ผนึก และผลึกโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

01 ต.ค. 2560 | 11:05 น.
Mp27-3301-a ตามที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ความตอนหนึ่งว่า “...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร 
บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...”

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมสืบสานพระราชปณิธานในเรื่องนี้ โดยรับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งที่ทรงประทับแรม ณ เขื่อนสิรินธร อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

Mp27-3301-4a เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 มาดำเนินการจัดตั้ง “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากศูนย์อำนวยการประสานงานเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุบลราชธานี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเทคนิควิธีการนำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) มาใช้ทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์นํ้า และปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ กฟผ. ยังได้นำเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมมาดำเนินการด้วย

Mp27-3301-5a ต่อมาได้มีการจัดอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. 
ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และ
ยังขยายผลไปยังหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ วัด โรงเรียนและชุมชนต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม และในปี พ.ศ. 2546 กฟผ. จึงได้จัดตั้งโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการดำเนินงานเพื่อสังคม ด้วยการเสริมสร้างความรู้ 
ความเข้าใจในการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างธรรมชาติและ
การดำรงชีวิตของมนุษย์ รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
มาพัฒนาเพื่อใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง โดยเน้นเรื่องปลอดสารพิษเป็นหลักสำคัญ และไม่ก่อหนี้สิน ผสมผสานกับการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คำนึงถึงการรักษาและฟื้นฟู
สิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด

Mp27-3301-3a ปัจจุบันโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการใน 4 มิติ คือ การเกษตร การประมง การปศุสัตว์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวช่วย โดยทางโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ทดลองใช้แล้วได้ผลดี และเนื่องจากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เป็น
สิ่งมีชีวิต ซึ่งนับเป็นเกษตรทางเลือก (Alternative Agriculture) อีกทางหนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้นโครงการดังกล่าวได้เข้ามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เขื่อน และใต้แนวสายส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน จวบจนปัจจุบันมีชุมชนต้นแบบทั้งหมด 39 แห่งทั่วประเทศ

Mp27-3301-2a ถือได้ว่าโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหนึ่งต้นแบบในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน พึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,301 วันที่ 1 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว