กม.คดีอาญานักการเมือง ประกาศใช้29ก.ย.นี้ คดีไม่นับอายุความ หากหนีต้องตลอดชีวิต มีชัยชี้ ‘ปู’ เข้าข่าย

28 ก.ย. 2560 | 07:36 น.
- 28 ก.ย.60 - ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 รายละเอียด ระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารง ตําแหน่งทางการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 28 และมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ นี้ เพื่อ กําหนดวิธีพิจารณาพิพากษาและการอุทธรณ์คําพิพากษาคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง รวมทั้งการบังคับให้เป็นไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดี ให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และรวดเร็ว อันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งการตรา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้โดยคําแนะนํา และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

กฎหมายดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้ มาตรา 27 ในการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ให้อัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ ผู้ถูกกล่าวหามาศาลในวันฟ้องคดี ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาลและอัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้เคยมีการออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหาแล้วแต่ยังไม่ได้ตัวมา หรือเหตุที่ ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาลเกิดจากการประวิงคดี หรือไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุแก้ตัวอันควร ให้ศาล ประทับรับฟ้องไว้พิจารณาได้ แม้จะไม่ปรากฏผู้ถูกกล่าวหาต่อหน้าศาล

มาตรา 28 ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้ตามมาตรา 27 และศาลได้ส่งหมายเรียก และสําเนาฟ้องให้จําเลยทราบโดยชอบแล้วแต่จําเลยไม่มาศาล ให้ศาลออกหมายจับจําเลยและให้ผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการติดตามหรือจับกุมจําเลยรายงานผลการติดตามจับกุมเป็นระยะตามที่ศาลกําหนด ทในกรณีที่ได้ออกหมายจับจําเลยและได้มีการดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ไม่สามารถจับจําเลยได้ ภายในสามเดือนนับแต่ออกหมายจับ ให้ศาลมีอํานาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทําต่อหน้าจําเลย แต่ไม่ตัดสิทธิจําเลยที่จะตั้งทนายความมาดําเนินการแทนตนได้

ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวมี 70 มาตรา ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (29 ก.ย.) ระบุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ว่า โดยที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารง ตําแหน่งทางการเมือง เพื่อให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาพิพากษาและการอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

แนบลิงค์ราชกิจจา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/099/1.PDF