ระเบียงเศรษฐกิจกับจีน

30 ก.ย. 2560 | 03:06 น.
tp11-3300-c ขณะนี้โครงการเมกะโปรเจ็กต์ ระดับชาติที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจใน 10 ปีข้างหน้าหนีไม่พ้นโครงการยักษ์ของรัฐบาลคือการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ที่รัฐบาลจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมหาศาล สร้างงาน สร้างฐานทางเศรษฐกิจ

โครงสร้างพื้นฐานของอีอีซีนี้ จะมีการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ที่จะเป็นโครงการกระดูกสันหลังติดต่อค้าขาย โดยมี “ทางบก” เป็นแกนและ “ระบบราง” (RAIL) ถูกวางเป็นฐานคือ รถไฟ พร้อมที่จะเป็นตัวกระโดดสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบายรัฐบาลของชาติ ที่จะเชื่อมต่อไปยังภูมิภาค แต่ก็ยังไม่น่าจะพอเชื่อมสู่โลกภายนอก

เพราะการเชื่อมต่อกับ NETWORK ระดับโลก หรือ CHINA WORLD MEGA ROJECT จีน คือ “เส้นทางสายใหม่แห่งอนาคต” หรือ ONE OBOR-ONE BELT-ONE ROAD มีจีนเป็นพี่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก กำลังจะเป็นอันดับ 1 ในเร็ววันนี้ ที่มีทั้งกำลังผลิต-กำลังซื้อมหาศาล 1,300 ล้านคน ของจีนกำลังเติบโต มีรายได้ปานกลางอย่างรวดเร็ว
แต่การจะมองอีอีซีออกได้อีกก้าวคงยังไม่สายเกินไปที่จะต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบระดับ AEC และเชื่อมต่อระบบ “GLOBAL” ของโลก การต่อเชื่อมน่าจะ 2 ระดับ ระดับแรก “เชื่อมเข้ากับ AEC” คาดว่าเราจะเป็น “HUB ของ AEC” การเชื่อมระดับนี้ คือประเทศเพื่อนบ้านดู NETWORK เชื่อมกับทางตะวันออก คือ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม สู่ทะเลตะวันออก และต่อเชื่อมกับตะวันตกผ่านไปลงทะเลเมียนมาให้ได้เส้นทางกาญจนบุรีสู่ทวาย ควรเตรียมไว้ด้วยและอย่าลืม สนามบินแห่งที่ 4 คือ สันกำแพงของนครปฐม จะช่วยสร้างฐานการบินเชื่อมทั้ง 4 สนามบินในอนาคตและเชื่อมระบบรางระบบรถเข้าด้วยกัน

เมื่อหันมาดูจีน OBOR EEC จะต้องเชื่อมจีนให้ชัดกว่านี้ สระบุรีคือฐานทางรางในอนาคต ฉะเชิงเทรา สระบุรี พิษณุโลก ขอนแก่น คือ NETWORK ของไทยเชื่อมจีนที่หนองคายและเชื่อมจีนเหนืออีกแห่งที่สำคัญ คือ “เชียงราย” จากเชียงใหม่-ลำปาง ต้องเชื่อมจีนที่ “ยูนาน” ให้ได้เพราะ “ยูนาน” คือ HUB ศูนย์กลางที่สำคัญยิ่ง

ดังนั้น เพียงขอให้ EEC มองให้กว้างออกไปสักนิด เชื่อมเพื่อนบ้านและจีนใต้ได้ทั้งระบบราง (อย่าเกี่ยงงอนกับโครงการที่ดีของจีนและญี่ปุ่นเลย) ยอมเสียบ้างเพื่อสิ่งที่สำคัญจะตามมาทีหลัง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,300 วันที่ 28 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1