ทางออกนอกตำรา : เบื้องหลังเอกชนรวมพลัง ต้านภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง

23 ก.ย. 2560 | 11:08 น.
2546879-1-1

ทางออกนอกตำรา
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
เบื้องหลังเอกชนรวมพลัง ต้านภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง

6666
นับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2559 เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. … ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จนถึงบัดนี้เป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน

กฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาตั้งแต่ปีที่แล้ว จนบัดนี้มีการพิจารณาในชั้นของกรรมาธิการ วาระ 2 กำลังเข้าสู่วาระ 3 แต่ดูเหมือนการปฏิรูปภาษีที่ดินฯ ฉบับนี้มีปัญหายุบยิบ รุนแรงไปหมด

20160619134758-1752094

เฉพาะในวาระที่ 2 ปรากฏว่าที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ตลอดระยะเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา มีข้อถกเถียงกันมากในเรื่องอัตราการจัดเก็บภาษี เนื่องจากอัตราภาษีดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ทั้งคนจน คนชั้นกลาง และคนรวย เพราะบางแห่งอัตราภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นพันกว่าเท่า ซึ่งเป็นผลมาจากการคิดอัตราภาษีใหม่ต้องใช้การประเมินตามอัตราที่ดินใหม่

ถึงขนาดที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ต้องออกแรงใช้มือของสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศออกมายับ

ยั้งและให้เสนอปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมา เพื่อนำเสนอให้รัฐบาลซึ่งขณะนี้มีข้อมูลเล็ดลอดออกมาพบว่า มีข้อเสนอที่สะท้อนถึงปัญหากว่า 1 หมื่นหัวข้อ “เรียกว่าไม่สะเด็ดนํ้า”

L_hbjffb978hg56gggiaafa

วันที่ 22 กันยายน 2560 ในที่สุดที่ประชุมกรรมาธิการฯ ก็มีมติขอขยายเวลาการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ออกไปอีก 60 วัน จากเดิมกำหนดสิ้นสุดเดือนกันยายน 2560 ไปสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2560 แต่ยังไม่แน่ว่าจะยุติหรือไม่

วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง ที่เป็นหัวเรือหลักในการทำคลอดกฎหมายฉบับนี้ ออกมายอมรับว่า ถ้าไม่เสร็จหรือไม่ได้ข้อสรุป ก็อาจขอขยายเวลาออกไปได้อีก

อะไรที่เป็นปัญหาและทางออกอยู่ตรงไหน!!!

ผมสแกนรายละเอียดไปก็พบปัญหาในข้อกฎหมายมากมายเหลือคณา...อันดับแรก เรื่องอัตราเพดานภาษีที่รัฐบาลเสนอให้ สนช.พิจารณา แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

600_8

1. ที่ดินเพื่อการเกษตร มีเพดานภาษี 0.2% และให้เว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่ดินมูลค่า 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ให้เก็บ 0.10%

2. เป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เพดานภาษี 0.5% เว้นภาษีบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10% สำหรับบ้านหลังที่ 2 มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.03% บ้าน  50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10%

propertytax

3. ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ หรือกรณีใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆเช่นพาณิชย  กรรม อุตสาหกรรม ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 2% โดยมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท เสียภาษี 0.3% มูลค่า 20-50 ล้านบาท เสีย 0.5% มูลค่า 50-100 ล้านบาท เสีย 0.7% มูลค่า 100-1,000 ล้านบาท เสีย 0.9% มูลค่า 1,000-3,000 ล้านบาท เสีย 1.2% และมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท เสีย 1.5%

4. ที่ดินว่างเปล่า หากไม่ใช้ประโยชน์จะเก็บเพิ่มขึ้น 0.5% ทุกๆ 3 ปี แต่สุดท้ายต้องไม่เกิน 5%


เฉพาะกรณีที่ดินเพื่อการเกษตรมีเพดานภาษี 0.2% และให้เว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ขณะนี้กรรมาธิการได้มีการแก้ไขใหม่จากที่รัฐบาลเสนอกำหนดยกเว้นไม่เกิน 50 ล้านบาทในทุกแปลง ไม่ต้องเสียภาษี แต่กรรมาธิการฯปรับใหม่ เป็นการกำหนดเป็นพื้นที่รวมใน 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็น อบต. เทศบาลและกทม. ถ้าเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีทันที

1-e1465530730218

เดิมถ้าพื้นที่เกษตรกรรมในอบต.นี้ มี 20 แปลง แปลงละ 10 ล้านบาท รวม 200 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นทั้งหมด แต่กฎหมายใหม่จะยกเว้นเฉพาะ 50 ล้านบาท ไม่ว่าจะมีกี่แปลงรวมกัน แต่อีก 150 ล้านบาท ต้องเสียภาษีทันที อันนี้ก็ยุ่งยากในการจัดเก็บไม่น้อย

เรื่องบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทที่รัฐบาลเสนอยกเว้นภาษีนั้น ในชั้นกรรมาธิการฯได้สรุปตรงกันแล้วว่าจะเก็บบ้านที่มีราคา 20 ล้านบาท  เพราะบ้านราคา 50 ล้านบาทขึ้นไปนั้น มีแค่ 11,000 หลังเท่านั้น

แต่นั่นมิใช่ปัญหาใหญ่ที่ทำให้กฎหมายฉบับนี้ต้องชะลอออกไป จนบรรดาหอการค้าต้องพาเหรดกันออกมา “ส่งเสียงดัง” ไปยังรัฐบาลทหาร เพราะส่วนใหญ่ 90% ถือครองที่ดินที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท ที่ได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว มีเพียงส่วนน้อยราว 10% เท่านั้นที่อาจได้รับผลกระทบ


f64d9718e6ea8f317b55617a3342bf92c29174ebb953af7594948333d3aa0ada

ประเด็นอยู่ที่นี่ “ที่ดินสิ่งปลูกสร้างใจกลางเมืองในย่านธุรกิจ” ที่บรรดาขาใหญ่ถือครองจะต้องเสียภาษีใหม่ตามอัตราใหม่ที่จะกลายเป็นต้นทุนของบรรดาเศรษฐี พ่อค้า นี่แหละคือปัญหา

ปัจจุบันที่ดินย่านสีลม สุรวงศ์ เจริญกรุง เยาวราช สุขุมวิท ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา สงขลา โคราช ขอนแก่นที่ดินแค่ 100-200 ตร.ว มีมูลค่าเป็น 50-100 ล้านบาท เข้าไปแล้ว ย่อมโดนชาร์จภาษีกันไปหลังแอ่น

บรรดาพ่อค้าที่ถือครองที่ดินเหล่านั้น ก็ต้องส่งผ่านไปยังผู้เช่า ที่ต้องเสียภาษีแบบขั้นบันไดตามกรณีที่ 3

ถ้าคิดภาษีในอัตรา 0.1% ราคา 50-100 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษี 5 หมื่น-1 แสนบาท เมื่อต้องถูกประเมินและเสียภาษีตามโครงสร้างภาษีใหม่ สุดท้ายก็ต้องผลักภาระไปยังผู้เช่าคนอื่นๆ

“ที่ดินตาบอด” ที่ถูกปิดทางเข้าออก จะขายออกไปก็ไม่ได้ ที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์ อยู่ในแนวเขตเวนคืน อยู่ในเขตผังเมืองที่ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง จะต้องถูกประเมินภาษีตามอัตราใหม่  จะขายก็ไม่ได้ โอนก็ไม่ได้ กลับถูกเรียกเก็บภาษีรายปี โดยไม่มีข้อยกเว้น

65300 1479777272_559000011675401

อีกประเด็นหนึ่งที่กลายเป็นปมใหญ่ที่บรรดาสมาชิกหอการค้ายกมาคัดค้านคือ  กฎหมายนี้มีกำหนดโทษจำคุก ในกรณีจ่ายช้าหรือไม่ยอมจ่ายภาษี อันนี้แหละที่หลายคนไม่รู้

กฎหมายฉบับนี้ไม่เพียงบังคับให้ต้องจ่ายภาษีการถือครองที่ดินใหม่เท่านั้น แต่ใครที่ถือครองที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง มีสิทธิ์ถูกดำเนินคดีอาญาหากดื้อดึงไม่เสียภาษี

นี่คือปมใหญ่ที่กระทรวงการคลังต้องเร่งหาทางออก ก่อนกฎหมายนี้จะแท้งคาสภา...รีบไปล็อกคอหอการค้า-สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย-ขาใหญ่ในประเทศด่วน...

คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา/ หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศราฐกิจ /ฉบับ 3299  ระหว่างวันที่ 24-27 ก.ย.2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1-11