ดันสมุนไพรไทยผงาดโลกแบ่งเค้กตลาด4ล้านล้านบาท

25 ก.ย. 2560 | 06:45 น.
ประเทศไทยมีพืชพันธุ์กว่า 2 หมื่นชนิด ในจำนวนนี้นำมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรกว่า 1,800 ชนิด แต่มีจุดอ่อนคือยังขาดการวิจัยและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ขณะที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ 8 กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้อง พร้อมภาครัฐและเอกชนไปจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการสมุนไพรไทยฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564 เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเป้าหมาย 3.2 แสนล้านบาทภายใน 5 ปีนั้น

รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้รับมอบ
หมายจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ในการศึกษาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” โดยได้ฉายภาพขนาดตลาดสมุนไพรและผลิต
ภัณฑ์สมุนไพรของโลกว่า จากข้อ มูลของ Euromonitor และหลายแหล่งข้อมูลระบุขนาดตลาดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของโลกในปี 2559 มีมูลค่ากว่า 3.2 ล้านล้านบาท และในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านล้านบาท

[caption id="attachment_211507" align="aligncenter" width="471"] รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย[/caption]

**จีนเบอร์ 1 สมุนไพร
ทั้งนี้จีนเป็นผู้ส่งออกสมุนไพร และสารสกัดจากสมุนไพร อันดับ 1 ของโลก โดยในปี 2559 มีส่วนแบ่งตลาดสมุนไพรโลกสัดส่วน 36.2% และสารสกัดจากสมุนไพรสัดส่วน 24.3% รองลงมาคืออินเดียสัดส่วน 9.1% และ 13.6% ตามลำดับ และอันดับ 3 แคนาดา (สมุนไพร) สัดส่วน 6.4% และสหรัฐฯ (สารสกัดจากสมุนไพร) 10.2% ขณะที่ไทยเป็นผู้ส่งออกสมุนไพรลำดับที่ 28 
ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 0.58% และในส่วนของสารสกัดสมุนไพรในลำดับที่ 38 ของโลกสัดส่วนเพียง 0.2%

“ไทยจำเป็นต้องผลักดันในการสร้างมูลค่าสมุนไพรและสารสกัดของเราให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสู่ตลาดโลกที่กำลังขยายตัว ซึ่งหลายประเทศเช่นจีน อินเดียถือเป็นต้นแบบได้เป็นอย่างดี อย่างจีน 1 บริษัท เช่น ยูนนาน ไป่เหยา (Yunnan Baiyao Group) มียอดขายผลิต
ภัณฑ์สมุนไพรถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี จากที่ตั้งมาประมาณ 70 ปี ขณะที่บริษัทไทย 70 ปียอดขายยังแค่หลักร้อยล้านบาท ส่วนอินเดียบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นหิมาลายา (Himalaya) ดาเบอร์(Dabur) ก็มียอดขายเกิน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ซึ่งขณะนี้
ดาเบอร์ได้ขยายการลงทุนตั้ง
บริษัทผลิตสมุนไพรในตะวันออก กลาง ในทวีปแอฟริกาและมีแผน จะมาตั้งฐานผลิตในไทย ขณะที่ยูนนานฯมีแผนจะมาหาดีลเลอร์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในไทย”

**ดัน 4 กลุ่มเพิ่มขีดแข่งขัน
รศ.ดร.อัทธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับห่วงโซ่การผลิตสมุนไพรไทย อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารสัดส่วน 50% (ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โตปีละ 30%), อุตสาหกรรมยา 25% และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง 25% มีผู้เกี่ยวข้อง 4 กลุ่มได้แก่ 1. หมอพื้นบ้านที่สืบทอดตำรับยาสมุนไพรโบราณ ซึ่งจะต้องเปิดพื้นที่ให้อยู่ได้ในเชิง
ธุรกิจ เช่นให้มีสถาบันรับรอง 2. กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ทำเรื่องสมุนไพร ทั้งการปลูก และการแปรรูป ซึ่งต้องพัฒนาในเรื่องพันธุ์ในการเพาะปลูกที่ให้สารสกัดสูง พัฒนาโรงงานแปรรูปให้ได้มาตรฐาน GMP เรื่องฉลาก เรื่องบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและทันสมัย 3. กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และ 4. ผู้ประกอบการรายใหญ่

“ไทยส่งออกสมุนไพร
และสารสกัดยังไม่มากปีหนึ่งประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกยังน้อย และยังตํ่ากว่ามาเลเซียที่เขาเน้นการแปรรูปทำให้เขาส่งออกได้ระดับแสนล้านบาทต่อปี ขณะที่ขนาดตลาดสมุนไพรในประเทศ
ไทย จากข้อมูลของ Euromonitor-Herbal/Traditional Products in Thailand ระบุในปี 2559 มีมูลค่าราว 3.92 หมื่นล้านบาท และคาดในปี 2564 จะขยายตัวเป็น 5.69 หมื่นล้านบาท”

ทั้งนี้จากผลการศึกษา
ถึงประเภทสมุนไพรที่มีปลูกในไทย ว่านหางจระเข้มีสัดส่วนมากสุด 24% รองลงมาคือขมิ้นชัน 17% กฤษณาและพริกไทย 14% ใบบัวบก 4% กระชายดำ 1.1% ไพล 1% และอื่นๆ 38.9% ข้อมูลในปี 2558 ไทยมีพื้นที่ปลูกสมุน
ไพร 4.79 หมื่นไร่ มีครัวเรือนที่เกี่ยวข้อง 1.20 หมื่นครัวเรือน

**แนะช่องเจาะตลาดจีน
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ได้ให้คำแนะนำถึงกลยุทธ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์ของไทยที่ยังมีช่องทางการจำหน่ายสู่ตลาดโลกอีกมาก โดยได้ยกกรณีตลาดจีนที่ในปี 2559 ไทยมีการส่งออกสมุนไพรและสารสกัดไปจีนมูลค่า 185.4 ล้านบาทว่า จีนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับสมุนไพร และไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีนที่มาเยือนปีละกว่า 8 ล้านคน และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยได้รับความนิยมซื้อไปเป็นของฝาก โดยผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยที่มีโอกาสในตลาดจีน เช่น นํ้ามันนวดแก้ปวดเมื่อยต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในธุรกิจสปา เช่นครีมอาบนํ้า ครีมนวด ครีมบำรุง ครีมทาหน้า ยาดม ยาหม่อง ยาอมสมุนไพร เป็นต้น

สำหรับกลยุทธ์ในการนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปสู่ตลาดจีน เช่น ผลิตภัณฑ์ของไทยควรมีพื้นที่วางขายให้นักท่องเที่ยวจีนได้เห็นและได้ทดลองใช้ตามร้านค้าต่างๆในเมืองไทย, ไทยควรมี ตลาดนัดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการพบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทุกระดับ,เจรจากับ จีนให้เปิดตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในจีนจากปัจจุบันผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยไม่สามารถเข้าไปขาย ในจีนได้เนื่องจากติดกฎระเบียบที่เข้มงวด ขณะที่ยาจีนเข้ามาขายในไทยเยอะมาก, รัฐบาลไทยควรเจรจาให้ทั้งนวดแผนไทยและนวดสปาเข้าไปทำงานในจีนได้,ติดต่อเว็บไซต์จีนที่ขายสินค้าเฉพาะเช่นเว็บไซต์อาหารได้แก่ yhd.com และ jmall.com ทำการค้าผ่านอี-คอมเมิร์ซผ่านบริษัทเว็บไซต์ของจีนซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอาลีบาบา เช่น Tmall, JD,Suning เป็นต้น

“จากที่ได้ไปศึกษาดูงานด้านสมุนไพรที่จีนและอินเดีย ในส่วนของอินเดียเขามีแล็บทดลองและให้การรับรองผลิต
ภัณฑ์สมุนไพรมากกว่า 200 
แล็บ ผู้บริหารของดาเบอร์ผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ไปใน 120 ประเทศบอกเลยว่าเขาเน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนาสินค้าเป็นหลัก และหากส่งไปขายประเทศหนึ่งแล้วยอดขายไม่ดี คนไม่รู้จัก
ก็จะมีการทำวิจัยตลาด (มาร์เก็ต รีเสิร์ช) ภาพของอินเดียกับ
จีนจะคล้ายกัน ซึ่งไทยควรใช้เป็นแนวทาง”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,299 วันที่ 24 - 27 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว