ทางหลวงชนบทสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟบ้านโคกท่าจ.ขอนแก่นงบกว่า400ล.

22 ก.ย. 2560 | 07:23 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ จุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย ขก.1027 แยกทางหลวงหมายเลข 2 - บ้านโคกท่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดถนนกับทางรถไฟ และรองรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางราง

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่ากระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กระจายตัวอย่างทั่วถึง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเชื่อมโยงระบบขนส่งภายในประเทศ

jirut

โดย ทช. ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ จุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย ขก.1027 แยกทางหลวงหมายเลข 2 - บ้านโคกท่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 2.125 กิโลเมตร งบประมาณ 411 ล้านบาท ลักษณะโครงการ ก่อสร้างถนนเชื่อมกับถนนเดิมรองรับการจราจร 2 ช่องจราจร ไป - กลับ อุโมงค์ทางลอด ยาว 810 เมตร กว้าง 11 เมตร มีแผงกั้นคอนกรีตตรงกลาง (Concrete Median) สำหรับเบี่ยงทิศทางการจราจร แผงกั้นเหล็กมีล้อเลื่อน จำนวน 1 แห่ง สำหรับเบี่ยงการจราจรในกรณีฉุกเฉิน

tc

โครงสร้างของอุโมงค์เป็นแบบกําแพงคอนกรีตเสริมเหล็กขุดเจาะหล่อในดิน (Diaphragm Wall) มีหลังคาช่วงลอดทางรถไฟ ยาว 160 เมตร ภายในอุโมงค์ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่สามารถปรับความสว่างได้ตามสภาพแสงระหว่างวัน เพื่อทัศนวิสัยที่ดีในการขับขี่ พร้อมติดตั้งระบบระบายน้ำ และเครื่องสูบน้ำ จำนวน 4 เครื่อง สามารถทำงานร่วมกันและสลับกันได้อัตโนมัติ เพื่อป้องกันน้ำท่วมภายในอุโมงค์ ติดตั้งกล้อง CCTV ในอุโมงค์และอาคารควบคุม ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังป้ายไฟบริเวณก่อนถึงอุโมงค์ และแจ้งเตือนผ่านระบบควบคุมระยะไกล (SCADA) ให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบและแก้ไขได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดถนนกับทางรถไฟได้อย่างสมบูรณ์

tc2

นอกจากนี้ ทช. ได้นำนวัตกรรมการก่อสร้างอุโมงค์ช่วงลอดทางรถไฟ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินรถไฟ โดยติดตั้งโครงสร้างเหล็กชั่วคราวรองรับทางรถไฟในระหว่างก่อสร้าง แทนการเบี่ยงทางรถไฟซึ่งเป็นการก่อสร้างรูปแบบเดิม ทำให้ไม่ต้องก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณใหม่ รวมทั้งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และความปลอดภัยในการเดินรถไฟ

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1