พาณิชย์ชี้โมเดลไตรภาคี ดันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มสูงขึ้น

22 ก.ย. 2560 | 08:51 น.
พาณิชย์ฟุ้งโมเดลไตรภาคี ดันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มสูงขึ้น สั่งพาณิชย์จังหวัดเร่งดำเนินการเชื่อมโยงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

[caption id="attachment_211409" align="aligncenter" width="503"] นางอภิรดี ตันตราภรณ์ นางอภิรดี ตันตราภรณ์[/caption]

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเป็นการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่กำลังจะออกสู่ตลาดในฤดูกาลใหม่ ปี 2560/61 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้เริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้วเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และจะกระจุกตัวออกมากช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมความพร้อมในการที่จะป้องกันไม่ให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ มีแนวโน้มอ่อนตัวลง โดยกระทรวงพาณิชย์ได้หารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการผลผลิตและเชื่อมโยงรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร หลังจากนั้นได้มอบหมายให้ทีมผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง จนได้ออกมาเป็น โมเดลไตรภาคี ที่มีเกษตรกร – ผู้รวบรวม (หรือผู้ใช้) – โรงงานอาหารสัตว์ เป็นกลไกหลักสำคัญ เพื่อบริหารจัดการการรับซื้อตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยเป็นการจับคู่เชื่อมโยงผลผลิตระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในพื้นที่ซึ่งเกษตรกรจะสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้นในขณะเดียวกันผู้รับซื้อก็จะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดโดยทั่วไป

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีการนำโมเดลไตรภาคี เข้ามาใช้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ในราคาที่สูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 10-30 สตางค์ นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มอบนโยบายให้กับพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศ เช่น เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ เลย ตาก เชียงราย ลพบุรี ลำพูน ลำปาง นครราชสีมา พิจิตร และสระบุรี ให้เร่งดำเนินการเชื่อมโยง โมเดลไตรภาคีระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างเร่งด่วน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับรายงานจากพาณิชย์จังหวัดในหลายพื้นที่ว่าได้มีการดำเนินการดังกล่าวแล้ว เช่น โรงงานเบทาโก จังหวัดลพบุรี และ บจก.ไทยฟู้ด จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการเชื่อมโยงการรับซื้อผลผลิตกับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จังหวัดลำพูน ประมาณ 40,000 ตัน ในขณะที่โรงงานเบทาโกร จังหวัดลำพูน ก็ได้มีการเชื่อมโยงการรับซื้อผลผลิตกับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรลำปาง จำกัด อีกกว่า 3,000 ตัน เช่นเดียวกัน ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว