เปิดฉากดิจิทัลไทยแลนด์ เอกชนแห่โชว์เทคโนโลยี

22 ก.ย. 2560 | 07:38 น.
กระทรวงดีอี เปิดฉากงาน ดิจิทัล ไทยแลนด์ บิ๊กแบง 2017  ชูนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้แนวคิด “โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน” พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านดิจิทัล ด้านค่ายมือถือ 3 รายใหญ่ร่วมประชันเทคโนโลยี S__22978590

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  สำหรับงาน ดิจิทัล ไทบแลนด์ บิ๊กแบง 2017ที่จัดขึ้นนั้นเน้นในเรื่องของเทคโนโลยีด้านดิจิตอลที่นำมาขับเคลื่อนประเทศ โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงดีอีดำเนินการ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญนอกจากด้านเทคโนโลยีก็คือกำลังคนที่ยังต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ อีกทั้งรัฐบาลยังได้มุ่งเน้นในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนด้วยโครงการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านใยแก้วนำแสง หรือ เน็ตประชารัฐที่จะทำให้ประชาชนทุกหมู่บ้านเข้าถึงโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชน สามารถเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ต รวมถึงเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านการเกษตร ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงอินเตอร์เพื่อนำมาปรับปรุงการทำการเกษตร การใช้เครื่องมือตรวจวัดต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรืออัพเดตข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยมุ่งหวังว่าเกษตรกรต้องพัฒนาตัวเองให้ทันตามเทคโนโลยี S__22978578

ขณะที่ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องปรับตัวตามเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอล การเชื่อมโยงระบบอินเตอร์เน็ตที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติด้านธุรกิจต่างๆ ในโลกอินเตอร์เน็ตมากมาย สำหรับการจัดงาน Digital Thailand Big Bang 2017 ในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้เป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่สังคมดิจิตอลตามกระแสโลก โดยชุมชนและหมู่บ้านก็ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทั้งด้านสาธารณสุข การค้า การท่องเที่ยว รวมถึงด้านเกษตรกรรม เช่นการทำสมาร์ทฟาร์ม  การปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิงจากไฟฟ้า พลังงานชีวภาพ ชีวมวล การแพทย์ในสังคมของผู้สูงอายุ และไอโอที ซึ่งอนาคตเทคโนโลยีและสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเกิดความเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน 2017_0921_12411200 2017_0921_12432400

นอกจากนี้ 3 โอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ ยังได้นำนวัตกรรมมาจัดแสดงโชว์ภายในงาน โดยทางดีแทคได้นำเสนอโรงเรือนจำลองของโครงการดีแทค ฟาร์มแม่นยำ ที่นำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์ม ทั้ง เซนเซอร์อัจฉริยะช่วยสังเกตและติดตามการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการเพาะปลูก, เรียลไทม์ แทร็กกิ้ง ส่งข้อมูลความชื้นในดิน แสง และ อุณหภูมิ, การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประมวลผลผ่านระบบคลาวด์และแสดงผลผ่านแอพพลิเคชัน ซึ่งหลักจากได้รับข้อมูลแล้วเกษตรกรจะสามารถปรับปรุงกระบวนการในการผลิตได้อย่างทันท่วงทีเพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายของผลผลิต

2017_0921_11282600  ทางด้านของ เอไอเอสได้นำเทคโนโลยี Narrow Band – Internet of Things หรือ NB-IoT มาใช้ในการออกแบบชุดอุปกรณ์สื่อสาร อีกทั้งเอไอเอสยังได้พัฒนา Smart Parking จุดจอดรถอัจฉริยะ ที่มีระบบเซนเซอร์ด้านล่างเพื่อตรวจหาจำนวนที่ว่างของพื้นที่จอดโดยเชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชัน และสามารถตรวจสอบหาที่จอดก่อนจะไปยังพื้นที่นั้นๆ ได้

2017_0921_11404700 เช่นเดียวกับ ทรู ที่ได้นำนวัตกรรมหุ่นยนต์ ชุดประกอบขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ รวมถึงการแสดงท่าทางต่างๆ ทั้งการเต้นรำ ออกกำลังกาย โดยสามารถควบคุมได้ผ่านแอพพลิเคชันอีกทั้งยังสั่งงานด้วยเสียงบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้อีกด้วย

นอกจากนี้ นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวในฐานะนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เกี่ยวกับแนวทางของโทรคมนาคมในอนาคต ด้วยการรวบรวมแนวทาง ความเห็น มาตรการต่างๆ ไปยังภาครัฐ  โครงการเน็ตประชารัฐที่จะมาช่วยให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น   นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขปัญหาสายสื่อสารที่ส่งผลต่อทัศนียภาพ ภาพลักษณ์ที่ดูไม่สวยงาม ซึ่งสมาคมได้มีโครงการที่จะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และผู้ประกอบการอีกกว่า 10 ราย เพื่อนำสายสื่อสารลงใต้ดินบริเวณพื้นที่สุขุมวิทช่วง ซอย 71 และซอย 48 ให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้