ทีจีรับ 787-9 ครบ 2 ลําตุลาฯ

23 ก.ย. 2560 | 06:56 น.
การบินไทย แก้ปัญหาเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เสร็จสมบูรณ์ นำมาทำการบินครบ 6 ลำแล้ว ทั้งรับมอบนิวเจเนอเรชัน โบอิ้ง787-9 ดรีมไลเนอร์ ลำแรกเข้าประจำฝูงบิน ชี้หากรับมอบครบ 2 ลำ ในเดือนตุลาคมนี้ นำมาบินกรุงเทพฯ-โอกแลนด์ รวมถึงกรุงเทพฯ-ไทเป เริ่ม 16 พ.ย.นี้

นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในขณะนี้การบินไทยได้แก้ปัญหาการขาดแคลนเครื่องยนต์อะไหล่โบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ จากกรณีเครื่องยนต์ Trent-1000 ของโรลส์-รอยซ์ มีปัญหาจนสถานการณ์นี้คลี่คลายอย่างรวดเร็วเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ และนำเครื่องบินโบอิ้ง 787-8 มาทำการบินครบทั้ง 6 ลำแล้ว โดยลำสุดท้ายได้ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา

[caption id="attachment_156745" align="aligncenter" width="503"] อุษณีย์ แสงสิงแก้ว อุษณีย์ แสงสิงแก้ว[/caption]

อีกทั้งการบินไทยเพิ่งจะรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 ดรีมไลเนอร์ ลำแรก นามพระราชทาน “พัฒนานิคม” เข้าประจำฝูงบินเมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา และจะรับมอบโบอิ้ง 787-9 ดรีมไลเนอร์ ลำที่ 2 ในราวเดือนตุลาคมนี้ ทั้งนี้เครื่องบินลำแรกที่มาถึงการบินไทยจะนำมาทำการบินเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 23-30 กันยายน 2560 และเส้นทาง กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม- 15 พฤศจิกายน 2560

“หลังรับมอบครบ 2 ลำ จะนำเครื่องบินรุ่นนี้มาทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-โอกแลนด์ และกรุงเทพฯ-ไทเป เริ่มวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 ทั้งนี้ด้วย เครื่องบินซึ่งเป็นนิวเจเนอเรชัน ทำให้เราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่มาให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร และแข่งขันในตลาดได้” นางอุษณีย์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้จุดเด่นของโบอิ้ง 787-9 ดรีมไลเนอร์ คือ เป็นเครื่องบินที่รวมทั้งความทันสมัยและความมีประสิทธิภาพ ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับโบอิ้ง 787-8 จะมีลำตัวเครื่องบินยาวกว่าประมาณ 6 เมตร ทำให้สามารถบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าได้มากยิ่งขึ้น ใช้วัสดุคอมโพสิตที่มีความแข็งแรงแต่นํ้าหนักเบามาใช้ในการประกอบลำตัวและปีกเครื่องบิน

ส่วนเครื่องยนต์ จะเป็นโรลส์-รอยซ์ เทรนท์ 1000 ซึ่งทางโรลส์-รอยซ์ได้ปรับปรุงชิ้นส่วนกลีบใบพัด เครื่องยนต์ใหม่แล้ว ทำให้เสียงดังจากเครื่องยนต์ลดลง และแก้ปัญหาเครื่องยนต์เสียเหมือนที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดนํ้ามันได้มากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 20% รวมถึงภายในห้องโดยสาร นอก จากนี้ยังใช้เทคโนโลยีการกรองอากาศในการทำความสะอาดอากาศภายในห้องโดยสารเครื่องบิน ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสบายในการเดินทาง

MP22-3298-B สำหรับห้องโดยสารและเก้าอี้ ได้รับการออกแบบด้วยแนวคิดไทยร่วมสมัย (Thai Contemporary Design Concept) ด้วยเก้าอี้โดยสารชั้นธุรกิจ ซึ่งมีอยู่ 30 ที่นั่ง ถูกจัดวางอย่างเหมาะสมด้วยความกว้างที่นั่ง 20 นิ้ว สามารถปรับเอนนอนราบได้ 180 องศา ทุกที่นั่งมีความเป็นส่วนตัวและเข้าสู่ทางเดินได้อย่างสะดวก สำหรับชั้นประหยัด มีอยู่ 268 ที่นั่ง ในโทนสีม่วงและเหลืองสดใส และที่เป็นจุดเด่นของเครื่องบินรุ่นนี้ คือ หน้าต่างที่กว้างขึ้น ทำให้เห็นมุมมองที่กว้างใหญ่สบายสายตามากขึ้น พร้อมระบบปรับความเข้มของแสงที่ผ่านเข้าหน้าต่างแบบสัมผัส (Electromagnetic Windows Shades)

ในส่วนของระบบสาระบันเทิงบนเครื่องบิน (In-Flight Entertainment) จะเป็นระบบ Panasonic eX3 มีความทันสมัย มีหลากหลายรูปแบบทั้งภาพยนตร์ เกม เพลง และรายการโทรทัศน์ ข่าวสารของการบินไทย และข้อมูลท่องเที่ยว ผ่านระบบดิจิตอลได้บนหน้าจอทีวีส่วนตัวขนาด 16 นิ้ว สำหรับชั้นธุรกิจ และขนาด 11 นิ้ว สำหรับชั้นประหยัดรวมทั้งให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wi-Fi บนเครื่องบิน เพิ่มความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสารสำหรับผู้โดยสารในยุคดิจิตอล

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,298 วันที่ 21 - 23 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1