จับตา! ผู้นำ 193 ประเทศ ประชุมสมัชชาใหญ่“ยูเอ็น”

18 ก.ย. 2560 | 07:23 น.
ผู้นำ 193 ประเทศร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปียูเอ็น แต่ผู้นำรัสเซีย, จีน, เยอรมนี และนางซูจี จะไม่เข้าร่วมการประชุม จับตา 5 ประเด็นร้อน

บรรดาผู้นำของ 193 ชาติสมาชิกสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เตรียมที่จะเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปี หรือ ยูเอ็นจีเอ ในวันอังคาร(19 ก.ย.60)นี้ที่นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการประชุมปีที่ 72แม้ปีนี้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน, ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย, นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี และนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา จะไม่เข้าร่วมการประชุม แต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของเขา

9-18-2017-12-51-45-PM (1) ส่วนประเด็นที่น่าจับตามองในการประชุมปีนี้ประเด็นแรก ตัวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เคยวิพากษ์วิจารณ์โจมตียูเอ็นมาก่อนในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว อีกทั้งคณะรัฐบาลของเขาก็ยังมีจุดยืนตรงกันข้ามกับแนวทางของยูเอ็น อย่างประเด็นปกป้องสิทธิของผู้อพยพ, ข้อตกลงโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน รวมทั้งข้อตกลงลดโลกร้อนกรุงปารีส

ประเด็นที่สองเกาหลีเหนือ ที่ยังคงเดินหน้าทดสอบขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ แม้จะถูกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซี คว่ำบาตรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่เกิดขึ้นเพียง 4 วันหลังจากยูเอ็นเอสซีอนุมัติการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือรอบใหม่ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ ที่ให้คำมั่นว่าจะตอบโต้เกาหลีเหนืออย่างหนักหน่วง หากว่าเป็นภัยต่อสหรัฐฯ คาดว่าจะชูประเด็นเกาหลีเหนือเป็นเรื่องหลักในการกล่าวสุนทรพจน์ที่การประชุม

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ประเด็นที่สาม เรื่องชาวโรฮิงญาในเมียนมา ที่ตอนนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง เพราะมีชาวโรฮิงญาจำนวนเกือบ 5 แสนคน หลบหนีข้ามชายแดนเข้าสู่บังกลาเทศ เพื่อหนีจากเหตุรุนแรงในรัฐยะไข่ของเมียนมาที่เลขาธิการยูเอ็นเรียกการกระทำของกองทัพเมียนมาว่าเป็นการล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา

ประเด็นที่สี่ โครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์และนางนิกกิ เฮลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำยูเอ็น พยายามชี้ว่าอิหร่านเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และว่าสหรัฐฯจะยกเลิกข้อตกลงการจำกัดโครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา และอีก 5 ชาติมหาอำนาจได้ทำไว้กับอิหร่านในปี 2015 โดยประธานาธิบดีทรัมป์ ชี้ว่า เป็นข้อตกลงที่เลวร้ายที่สุด

และประเด็นสุดท้าย ข้อตกลงลดโลกร้อนกรุงปารีสและสภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ซึ่งน่าจับตามองว่าบรรดาผู้นำโลกจะมีความเห็นต่อพายุเฮอร์ริเคนสองลูกที่พัดถล่มรัฐเท็กซัสกับรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ และหมู่เกาะแคริบเบียน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมายังไงบ้าง นอกจากนี้ท่าทีของประธานาธิบดีทรัมป์ที่เคยประกาศว่าจะพาสหรัฐฯออกจากข้อตกลงลดโลกร้อนกรุงปารีสจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1