กรมทางหลวงเผยมอเตอร์เวย์ 3สายคืบเล็งให้เอกชนร่วมลงทุนแบบPPP

17 ก.ย. 2560 | 10:13 น.
กรมทางหลวงเผยความคืบหน้ามอเตอร์เวย์ 3 สาย เตรียมเปิด 2 เส้นทาง สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Gross Cost ระยะเวลาร่วมลงทุน 30 ปี คาดเปิดขายซองม.ค.61

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผย ถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ จำนวน 3 สาย ได้แก่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สาย (บางปะอิน – นครราชสีมา) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วง พัทยา- มาบตาพุด และทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 (บางใหญ่ กาญจนบุรี) ว่าแต่ละเส้นทางมีความคืบหน้าไปอย่างมากโดยเฉพาะทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วง สายพัทยา – มาบตาพุด ระยะทาง 32 กม.

kl

kl1

ปัจจุบัน(เดือนกันยายน 2560 ) มีความคืบหน้า 46% ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. มีความคืบหน้า 14% และทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. ซึ่งกรมทางหลวงแบ่งเป็น25ตอนในงานโยธาลงนามแล้ว 24 ตอน อีก 1 ตอน คือ ตอน 3 คาดว่าจะลงนามภายใน ปลายเดือน ก.ย. 60- มีผลงานก่อสร้างร้อยละ 3

kl2

kl3

สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในส่วนของการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (Operation and Maintenance:O&M) ในรูปแบบ PPP Gross Cost)ของทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (สายบางปะอิน-นครราชสีมา) และ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 (สายบางใหญ่-กาญจนบุรี) ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (22 ส.ค.60) มีมติเห็นชอบให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 2 เส้นทาง คือ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) ในส่วนของการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยมีระยะเวลาร่วมลงทุน 30 ปี

kl4

kl6

หลังจากนี้จะมีการดำเนินการต่างๆตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้ดังนี้ ในเดือน ก.ย.2560 จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 หลังจากนั้นเดือน พ.ย.2560 จะมีการจัดสัมมนาเผยแพร่ข้อมูลโครงการให้แก่นักลงทุน ในเดือน ม.ค.2561 จะประกาศเชิญชวนพร้อมขายซองเอกสารประมูลนานาชาติ (ICB) เดือน พ.ค.-ก.ค. 2561 จะมีการประเมินข้อเสนอและเจรจาต่อรอง เดือน ส.ค. 2561 จะพิจารณาผลคัดเลือกและตรวจร่างสัญญา เดือน ก.ย.2561 กระทรวงคมนาคมจะพิจารณาผลการคัดเลือกเอกชน ต.ค.2561 จะเสนอ ครม.พิจารณาผลการคัดเลือกเอกชนและอนุมัติลงนามสัญญา

kl7

kl8

ทั้งนี้เมื่อโครงการทางหลวงพิเศษทั้ง 3 เส้นทางแล้วเสร็จ จะสามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคต่างๆของประเทศได้อย่างสมบูรณ์ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และแก้ไขปัญหาจราจรระหว่างภาค ส่งเสริมทั้งในภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว ด้วยแนวเส้นทางที่สามารถรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าไปยังทั่วทุกภูมิภาค เชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน

 

kl9

kl10

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1