เปิดโครงสร้าง! ภาษีใหม่ ‘เหล้า-เบียร์-บุหรี่-น้ำหวาน’

16 ก.ย. 2560 | 03:49 น.
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 กันยายน 2560 ประกาศกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ลงนามโดยนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

ในรายการสินค้าสุราชนิดต่างๆ คำนวณบนฐานราคาขายปลีกแนะนำ อัตราภาษีตามมูลค่าคิดเป็นร้อยละและตามปริมาณคิดตามหน่วยละต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธ์ และยึดตามราคา

 

สุราแช่ แยกเป็น

(1)เบียร์ อัตราตามมูลค่าร้อยละ 22 ตามปริมาณหน่วยละ 430 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอร์บริสุทธิ์

(2) ไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น แบ่งเป็น 1.ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 1,000 บาท ตามมูลค่าร้อยละ 0  และหน่วยละ 1,500 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 2.ราคาขายปลีกแนะนำเกินกว่า 1,000 บาท ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณหน่วยละ 1,500 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

whiskey and natural ice on old wooden table

(3)ไวน์องุ่น ที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี และมีขนาดบรรจุไม่เกิน 0.330 ลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 10  ตามปริมาณ หน่วยละ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์  ไวน์องุ่นชนิดอื่นๆ แยกเป็น1.ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 1,000 บาท ตามมูลค่าร้อยละ 0  ตามปริมาณ หน่วยละ 900 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 2.ราคาขายปลีกแนะนำเกินกว่า 1,000 บาท ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณหน่วยละ 900 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ไวน์องุ่นที่นอกเหนือจากนี้ ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณหน่วยละ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

 

รายการต่อมา สุรากลั่น ชนิดสุราขาว ตามมูลค่าร้อยละ 2 ตามปริมาณหน่วยละ 155 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ สุราชนิดอื่นๆยกเว้นสุราสามทับใช้เพื่ออุตสาหกรรม หรือการแพทย์ หรือเภสัชกรรม หรือ วิทยาศาสตร์ที่ไม่เสียภาษี ให้เก็บตามมูลค่าร้อยละ 20 ตามปริมาณหน่วยละ 255 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

 

ยาสูบ

1409975362-image-o

ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562  บุหรี่ซิกาแรต ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกินซองละ 60 บาท ตามมูลค่าร้อยละ 20 ตามปริมาณมวนละ  1.20 บาท ที่มีราคาขายปลีกแนะนำเกินซองละ 60 บาท ตามมูลค่าร้อยละ 40 ตามปริมาณมวนละ 1.20 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ตามมูลค่าร้อยละ 40 ตามปริมาณมวนละ 1.20 บาท อัตราเดียวทุกประเภทราคาบุหรี่ซิการ์ ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณหน่วยละ 1.20 บาท ยาเส้นปรุง ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณกรัมละ 1.20 บาท
ไพ่จัดเก็บ 2 ชนิด คือไพ่ป็อก 100 ไบเก็บ 30 บาท และไพ่อื่นๆ 100 ใบ เก็บ 2 บาท
ภาษีน้ำหวาน

แบ่งการจัดเก็บออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.น้ำแร่เทียม น้ำโซดา และน้ำอัดลม ที่ไม่เติมน้ำตาลหรือสารที่ทำให้หวานื่นๆ และไม่ปรุงกลิ่นรส ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

1.น้ำแร่ และน้ำอัดลม ที่ไม่เติมน้ำตาลหรือสารที่ทำให้หวาน อื่นๆ หรือที่ปรุงรสและเครื่องดื่มอื่นๆ แต่ไม่รวมถึงน้ำผลไม้หรือน้ำพืชผัก ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตรจัดเก็บตามค่าความหวาน 5 ระดับ และ ตามระยะเวลา แบ่งเป็น

 

ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ถึงวันที่ 30  กันยายน 2562

 

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0.10 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 0.30 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมแต่ไม่เกิน 14 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0.50บาท

excise170657-01-20140617153457

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท
ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30  กันยายน 2564

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0
ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0.10 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 0.30 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมแต่ไม่เกิน 14 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 มิลลิกรัม แต่ไม่เกิน 18 มิลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 3 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 18 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 5 บาท

 

ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2566

 

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0.30 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมแต่ไม่เกิน 14 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 3 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 5 บาท

 

ระยะที่ 4 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

 

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 3 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14  ตามปริมาณต่อลิตร 5 บาท

img_5873568d6bd00bceccf84768fc335ba1

 

ประเภทน้ำผลไม้ที่รวมถึงเกรปมัสต์ และน้ำพืชผักที่ไม่ได้หมักและเติมสุรา ไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารที่ทำให้หวานอื่นๆหรือไม่ก็ตาม จัดเก็บดังนี้

 

ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ถึงวันที่ 30  กันยายน 2562

 

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 10  ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 0.10 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 0.30 บาท

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมแต่ไม่เกิน 14 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 0.50บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท

 

ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30  กันยายน 2564

 

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 0.10 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 0.30 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมแต่ไม่เกิน 14 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10  ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 มิลลิกรัม แต่ไม่เกิน 18 มิลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 14 ตามปริมาณต่อลิตร 3 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 18 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 5 บาท

 

ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2566

 

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 10  ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10  ตามปริมาณต่อลิตร 0.30 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมแต่ไม่เกิน 14 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 3 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 5 บาท

 

ระยะที่ 4 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

 

ที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลหรือ ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่มปริมาตร 100 มิลลิลิตร ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 0

 

ที่มีปริมาณน้ำตาล 6-8 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 1 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 3 บาท

 

ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อปริมาตรเครื่องดื่ม 100 มิลลิกรัม ตามมูลค่าร้อยละ 10 ตามปริมาณต่อลิตร 5 บาท

 

 

กิจการบันเทิงเพื่อการหย่อนใจ

 

บริการประเภทสถานบันเทิงต่างๆที่มีดนตรี ไนท์คลับ เธค ผับ รวมถึงสถานที่อาบตัวอบตัวนวดตัวที่มีผู้ให้บริการ(อาบอบนวด) คิดภาษีร้อยละ 10

 

สนามแข่งม้า เก็บจาก 2 ส่วน คือ ค่าผ่านประตู ร้อยละ 20 และเงินรางวัลจากผู้แทงม้าถูกร้อยละ 20

 

สนามกอล์ฟ เก็บจาก ค่าสมาชิก ร้อยละ 10 และค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ ร้อยละ 10

 

ขณะที่กิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐ ในกิจการโทรคมนาคม ตามมูลอัตราร้อยละ 0