โวยมิลค์บอร์ดบีบผลิตนมผง

17 ก.ย. 2560 | 09:16 น.
สหกรณ์-โรงนม 70 บริษัทเต้นหลัง อนุฯมิลค์บอร์ดเล็งแก้ปัญหานมล้นช่วงปิดเทอมให้ผลิตเป็นนมผงแทนนมยูเอชที ชี้ล็อกสเปกเอื้อสหกรณ์วังนํ้าเย็น “อำนวย” ฉะกรรมการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด แนะบีบบริษัทที่นำเข้านมผงนอกโควตาหันซื้อในประเทศแทน

[caption id="attachment_204801" align="aligncenter" width="503"] พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[/caption]

จากนโยบายพล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานเร่งหามาตรการรับมือแก้ปัญหานํ้านมดิบล้นตลาดช่วงปิดเทอมเพื่อลดความเดือนร้อนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ 1.6 หมื่นราย ควบคู่กับการเพิ่มคุณภาพและมาตรฐานของนมโรงเรียนให้สูงขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมคุณภาพและปรับวิธีการจัดสรรโควตาให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใสกับผู้ประกอบการนมโรงเรียนทั้ง 70 ราย

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 แหล่งข่าวจากคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือมิลค์บอร์ด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากการหารือประชุมอนุกรรมการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ที่มีนายธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน (11 ก.ย.60) มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหานมล้นในช่วงปิดเทอม จากที่นำนํ้านมดิบไปบรรจุผลิตเป็นนมกล่องยูเอชที ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีปัญหาในเรื่องการจัดเก็บ ทำให้คุณภาพนมเสื่อมเร็ว จากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นจึงเห็นว่าการผลิตเป็นนมผง น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่า เพราะเก็บไว้ได้นานกว่า อย่างไรก็ดีผลการประชุมครั้งนี้ยังไม่ตกผลึกเพราะมีทั้งฝ่ายค้าน ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ส่วนฝ่ายสนับสนุนคือคณะกรรมการ จากปัจจุบันผลผลิตนํ้านมโคทั้งประเทศมี 3,328 ตันต่อวัน (ผลิตเป็นนมโรงเรียน 1,170 ตันต่อวันที่เหลือผลิตเป็นนมพาณิชย์) ทั้งนี้ทางคณะอนุกรรมการฯ จะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งในวันที่ 13 กันยายนนี้

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการนมโรงเรียน กล่าวว่า ควรที่จะใช้แนวทางเดิมดีกว่าคือ ผลิตบรรจุเป็นนมกลุ่มยูเอชที เพราะถ้าจะให้โรงงานที่อยู่ไกล เช่นจากเชียงใหม่ไปส่งนํ้านมดิบที่สระแก้วซึ่งมีโรงงานผลิตนมผงตั้งอยู่เพียงแห่งเดียวของประเทศ ต้นทุนผู้ประกอบการแต่ละโรงจะเพิ่มเพราะเมื่อผลิตเป็นนมผงแล้ว ยังไม่จำหน่ายออกไป ผู้ประกอบการจะต้องดิ้นหาเงินมาจ่ายให้เกษตรกรก่อน มองว่าปัญหาจะหนักกว่าผลิตเป็นนมกล่องเสียอีก

[caption id="attachment_61985" align="aligncenter" width="380"] อำนวย ทงก๊ก อำนวย ทงก๊ก[/caption]

ขณะที่นายอำนวย ทงก๊ก ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมวังนํ้าเย็น จำกัด กล่าวว่า นํ้านมดิบล้นต้องบริหารทั้งระบบ ปัจจุบันสหกรณ์มีโรงงานนมผง(เพียงแห่งเดียวของประเทศ)กำลังการผลิต วันละ 200 ตันนํ้านมดิบ หรือคิดเป็นนมผงเฉลี่ย 22 ตันต่อวัน ขณะที่นํ้านมโรงเรียนมีมากถึงวันละ 1,170 ตันต่อวัน ดังนั้นวิธีแก้คือควรให้ 4 สมาคมนมที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาไปก่อนแล้วนมเหลือเท่าไรค่อยนำมาเป่าเป็นนมผง

“เมื่อเป่าเป็นนมผงแล้ว ผมถามว่าใครจะมาซื้อนมผงต่อ ก็ต้องให้บริษัทที่สั่งซื้อนอกโควตาหันมาซื้อนมผงในประเทศแทน แต่ถ้าฝ่าฝืนจะนำเข้า ก็เก็บภาษีเต็มเพดานทันที 33% แต่ปัจจุบันนอกโควตาเก็บภาษี แค่ 5% เท่านั้น (ไทยมีการนำเข้านมผงเข้ามาทั้งในโควตาและนอกโควตา WTO 8 หมื่นตัน) ที่สำคัญต้องทำให้นมโรงเรียนซื้อขายทั่วไปได้ เชื่อว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหานมล้นได้อย่างยั่งยืน”

TP08-3296-b แหล่งข่าวจากมิลค์บอร์ด เผยว่า วันที่ 13 กันยายน 2560 จะพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการนมโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2/2560 ผู้ประกอบการจะต้องมีผลผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพนมโรงเรียนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เช่น ต้องมีค่าไขมัน (Fat) รวมกับเนื้อนมไม่รวมไขมัน (Solids not fat) ไม่น้อยกว่า 12.30% นํ้านมโคจะต้องมีเซลล์โซติก ไม่เกิน 5 แสนเซลล์/ลบ.ซม.เป็นต้น โดยภาคเรียนที่ 2 (1 พ.ย. 60-15 พ.ค. 61) ห้ามผู้ประกอบการผลิตเพื่อจำหน่ายนมโรงเรียนข้ามภาคเรียน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,296 วันที่ 14 - 16 กันยายน พ.ศ. 2560
e-book