ชงครม.ขับเคลื่อนไบโออีโคโนมี รับทัพญี่ปุ่นตั้งเป้า10ปีลงทุน3.6แสนล้าน

14 ก.ย. 2560 | 23:17 น.
“อุตตม” จี้คณะทำงานสานพลังประชารัฐ เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการไบโออีโคโนมีให้แล้วเสร็จภายในสิ้นก.ย.นี้ หวังสร้างความชัดเจนให้กับนักลงทุนทั้งไทยและญี่ปุ่น เดินหน้าลงทุน ดันแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี เข้าครม.พิจารณาในเร็วๆ นี้ ด้วยเม็ดเงินกว่า 3.65 แสนล้านบาท

[caption id="attachment_136511" align="aligncenter" width="503"] อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[/caption]

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าในการผลักดันโครงการไบโออีโคโนมีภายใต้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีว่า ในการประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (คณะทำงานไบโออีโคโนมี) ภายใต้สานพลังประชารัฐ ที่มีตัวเองเป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้คณะทำงานไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมให้แล้วเสร็จภายใน 3 สัปดาห์

ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนไบโออีโคโนมีให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับการลงทุนของนักลงทุนไทยและทัพญี่ปุ่นที่เข้ามาดูลู่ทางการลงทุนระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2560 นี้ให้เกิดความต่อเนื่องด้วย เนื่องจากไบโออีโคโนมีถือเป็นหนึ่งใน 10 กลุ่มเป้าหมายที่ไทยต้องการส่งเสริมให้เกิดขึ้น โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าว จะอยู่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนไบโออีโคโนมีที่คาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในเร็วๆ นี้

TP09-3296-A “การลงทุนด้านไบโออีโคโนมีไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะพื้นที่อีอีซีเท่านั้น แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่รัฐบาลหยิบยกขึ้นมา เพราะมีการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานพร้อมอยู่แล้ว ที่ต้องมองความเชื่อมโยงกับภาคอื่นๆหรือให้อุตสาหกรรมที่มีอยู่ในอีอีซี เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นด้วย”

แหล่งข่าวจากคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (คณะทำงานไบโออีโคโนมี) ภายใต้สานพลังประชารัฐ เปิดเผยว่าขณะนี้แผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนไบโออีโคโนมีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแต่เดิมจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2560 แต่ต้องเลื่อนออกไป ที่คาดว่าจะเป็นภายในเดือนกันยายนนี้

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 โดยระหว่างนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อเสนอเพิ่มเติมกับทางรัฐบาล ที่จะให้มีการตั้งคณะทำงานของภาครัฐขึ้นมาขับเคลื่อนโดยตรง เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง และที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานรัฐเข้ามาดู และ หากสามารถตั้งคณะทำงานได้ จะช่วยให้เกิดการประสานงานกับภาคเอกชนได้โดยตรง ประกอบกับเวลานี้แผนงานด้านการลงทุนของภาคเอกชนแต่ละรายก็มีความชัดเจนขึ้นมากว่ารายใดจะลงทุนในโครงการอะไร เช่นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)บริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) บริษัทนํ้าตาลมิตรผล จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยวาจำกัด(มหาชน) บริษัทโกลบอลกรีนเคมีคอล จำกัด (มหาชน)บริษัทเกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนลชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท อูเอโนไฟน์เคมีคัลส์ อินดัสตรี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเอเชียสตาร์ เทรดจำกัดบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด บริษัท คริสตอลลา จำกัด บริษัท แบ็กซ์เตอร์เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทไทยโอซูก้า จำกัด

ส่วนกรอบการลงทุนเบื้องต้นที่มีการหารือกันไว้ใน5กลุ่ม ช่วงระยะเวลา10ปี ได้แก่ ด้านพลังงานเช่นการผลิตเอทานอลจากการใช้อ้อยและมันสำปะหลัง การผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยและกากอ้อยมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพด้านไบโอพลาสติกหรือพลาสติกชีวภาพด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ด้านผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ที่เป็นการต่อยอดจากอาหารในกลุ่มแป้งและนํ้าตาลด้านการสร้างด้านอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ และวัคซีนขั้นสูง

โดยจะมีงบการลงทุนราว 3.65 แสนล้านบาท จะก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อยได้มากกว่า 3แสนล้านบาทต่อปี มันสำปะหลังกว่า1 แสนล้านบาทต่อปี เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มเป็น 7.5 หมื่นบาทต่อคนต่อปี มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นไม่ตํ่ากว่า 2 แสนตำแหน่ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,296 วันที่ 14 - 16 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1