EECi จับมือสอท. และมจพ. เสริมแกร่งอุตสาหกรรม

12 ก.ย. 2560 | 09:57 น.
สวทช. ร่วมกับ มจพ. และ สอท.ลงนามความร่วมมือการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi

[caption id="attachment_206847" align="aligncenter" width="503"]  ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล[/caption]

ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา สวทช.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi กับพันธมิตรที่เป็นภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 61 หน่วยงาน ได้มีการหารือประชุมร่วมกันเพื่อศึกษาความเหมาะสมของการจัดตั้ง EECi (Feasibility Study) และลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในพื้นที่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากชุมชนที่เห็นประโยชน์ของ EECi ที่จะมาพัฒนาพื้นที่และความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างเป็นรูปธรรม

[caption id="attachment_206848" align="aligncenter" width="503"] ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์[/caption]

ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สภาอุตฯ ต้องการพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความเข้มแข็งทางเทคโนโลยี สนับสนุนและผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานวิจัยภาครัฐ และมหาวิทยาลัย และการจัดอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนา EECi ครั้งนี้ จะเป็นการสะท้อนมุมมอง รวมถึงสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนา EECi ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในที่สุด

[caption id="attachment_206849" align="aligncenter" width="503"]  ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน
ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน[/caption]

ศ.ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวเสริมว่า การเข้าร่วมกับ EECi ครั้งนี้ จะช่วยให้ มจพ.เห็นทิศทางและเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนากำลังคน รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทาง มจพ. มีวิทยาเขตอยู่ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเชื่อว่ามหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือกับ EECi นั้น มีจำนวนประมาณ 1 แสนอัตรา ที่จะเข้ามารองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นความต้องการของรัฐบาล และอุตสาหกรรมในพื้นที่ EECi โดยความร่ววมือกับ สวทช. ครั้งนี้ จะช่วยให้ลดช่องว่างระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับสถาบันอุดมศึกษา และทำให้งานวิจัยหรือระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัย ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่ง มพจ.ผลิตนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก 3 วิทยาเขตได้ 6,000 คนต่อปี เป็นจำนวนที่มั่นใจว่าเพียงพอที่จะรองรับอุตสาหกรรม 4.0 ได้ในอนาคต

e-book