วิกฤติโรฮิงญา ทำไม? ‘ซู จี’ นิ่งเฉย!

10 ก.ย. 2560 | 10:47 น.
 

วินาทีนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นางออง ซาน ซูจี คือ สัญลักษณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เธอฉลาด หลักแหลม เปี่ยมด้วยความรู้ ไม่มีทางเสียเลยที่สื่อทั่วโลกจะมองบรรดานายพลผู้โหดเหี้ยมในเมียนมาด้วยทัศนะเดียวกัน
หลังจากเธอได้รับการปล่อยตัวจากการถูกคุมขัง เธออยู่แต่ในบ้านพัก เมื่อ ปี 1995 นางซู จี มีความสำคัญเป็นรองจากนายเนลสัน แมนเดลา บุคคลที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่สุดของโลกซึ่งผู้ไม่ยอมก้มหัวให้กับระบบทรราชย์
นักข่าวต่างชาติที่เข้าไปในเมียนมายุคนั้น ล้วนผ่านสนามข่าวท่ามกลางโศกนาฏกรรมอย่างในรวันดาและคาบสมุทรบอลข่านมาแล้ว เห็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
กระบวนการสร้างสันติภาพโลกในยุคนั้นถูกบดบังด้วยเงามืดอันเกิดจากการกระทำของนายสโลโบดาน มิโลเชวิค อดีตประธานาธิบดีเซอร์เบีย นายฟรานโจ ทัดจ์มาน แห่งโครเอเชีย และกลุ่มหัวรุนแรงเชื้อสายฮูตูในรวันดา

arakantv2
ในขณะนั้นเรื่องราวเกี่ยวกับเมียนมา ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ความยากจนข้นแค้นและการกุมอำนาจยาวนานหลายทศวรรษของรัฐบาลทหารเมียนมา เป็นสิ่งที่สื่อแทบจะไม่ค่อยจะมีความรู้ พอ ๆ กับที่สื่อแทบจะไม่รู้จักตัวตนของนาง ซู จี เช่นกัน ไม่มีใครคิดว่าความดื้อดึงไม่ยอมอ่อนข้อให้รัฐบาลทหารในตอนนั้น เป็นพลังสั่งสมในตัวของเธอไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของต่างชาติ
พลังอันแข็งแกร่งกลับกลายเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ มิตรสหายในแวดวงสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองที่เคยเห็นอกเห็นใจได้กลายมาเป็นผู้ที่ส่งเสียงติติงอย่างหนัก
ใครก็ตามที่เคยใกล้ชิด รู้ดีว่าเมื่อนางซู จี ปักใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว การจะไปเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ยากยิ่งนัก อย่างเมื่อครั้งที่นายวิเจย์ นัมเบียร์ ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติประจำเมียนมา เรียกร้องให้นางซู จี เดินทางไปรัฐยะไข่ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นางซู จี บอกปัดอย่างสิ้นเชิง ซึ่งก่อนหน้านี้คนใกล้ชิดนางซู จี ได้เคยเอ่ยปากว่า "ไม่มีทางที่นางซู จี จะทำตามคำขอของนายนัมเบียร์”

Rohingya Muslims look on past burned shelters during a fire that gutted Bawdupa camp, near Sittwe, Rakhine
นับตั้งแต่วิกฤติโรงฮิงญาเกิดขึ้น นางซู จี ไม่เคยยอมรับเลยว่าชาวมุสลิมโรฮิงญากำลังตกเป็นเป้าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แม้กระทั่งตอนที่บ้านเรือนของชาวโรฮิงญานับหมื่นคนถูกเผาทำลาย ท่ามกลางรายงานเรื่องการสังหารและการกระทำรุนแรงทางเพศ ว่าเกิดขึ้นจริง
เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ชาวโรฮิงญากว่า 1 แสนคนต้องละทิ้งบ้านเรือน เพราะกดขี่ทางรัฐบาลทหารของเมียนมา ซึ่งครั้งนี้จึงไม่ใช่ครั้งแรกที่นางซู จี ถูกตำหนิถึงพฤติกรรมที่แสดงความเพิกเฉยต่อวิกฤติรฮิงญา
‘ดอว์ ซู’ อีกชื่ออันเป็นที่รู้จักของนางซู จี ไม่แม้กระทั่งไปเยือนพื้นที่หรือเอ่ยถ้อยคำปกป้องชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงรังแก
ในขณะที่รัฐบาลของเธอขยับไปจัดการกับกลุ่มพุทธสุดโต่งที่ก่อกระแสสร้างความเกลียดชัง แต่นางซู จี ยังคงนิ่งเฉย ไม่แสดงท่าที อย่างที่มหาตมะ คานธี วีรบุรุษของเธอ และนายเยาวราห์ล เนรู เคยแสดงออกถึงแรงสนับสนุนที่มีต่อชาวมุสลิมที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในเหตุการณ์แยกประเทศอินเดีย

48faf1267e7345de9124bf5ee38bb8d4_18
‘มหาตมะ คานธี’ ต้องอุทิศชีวิต ขณะที่แกนนำคนอื่น ๆ ก็ไม่อาจหยุดยั้งการเข่นฆ่า แต่คนเหล่านั้นคือผู้ที่ปลุกสำนึกเพื่อนร่วมชาติและวางรากฐานค่านิยมที่อินเดียควรจะเป็น จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ภาพความทรงจำที่นายเนห์รู ฝ่าฝูงชนฮินดูเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงอันมีที่มาจากความขัดแย้งทางศาสนา เป็นหนึ่งในการกระทำอันหาญกล้าแห่งศตวรรษที่ 20
ไม่มีใครหวังว่านางซู จี จะทำเช่นเดียวกัน แต่การไม่มีถ้อยคำใดออกจากปากนางซู จี เลยนั้น ทำให้ผู้ที่เคยเกื้อหนุนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ
ความขื่นขมที่ชาวโรฮิงญาต้องเผชิญ นับเป็นโศกนาฏกรรมในตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ภาพบ้านเรือนที่ถูกเผาในรัฐยะไข่สะท้อนให้การกระทำของกองทัพเมียนมาที่ไม่แยแสว่าสายตานานาประเทศในโลก

15MIGRANTS-WEB1-master1050-v2
วันนี้...สิ่งที่เกิดกับชาวโรฮิงญาไม่ต่างไปจากสิ่งที่เกิดกับพื้นที่ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นรัฐฉาน หรือการปราบปรามกลุ่มกะเหรี่ยง
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า นางซู จี ไม่มีอำนาจควบคุมกองทัพ ขณะเดียวกันทหารเมียนมาก็ไม่วางใจเธอเช่นกัน แต่การที่นางซู จี นิ่งเฉยไม่เอ่ยปากออกประณามการกระทำอันโหดร้ายกองกองทัพนั้นไม่ต่างจากการเสริมเกราะกำบังทางการเมืองให้บรรดานายพลทั้งหลายในเทศเมียนมา

ขอบคุณข้อมูลข่างส่วนจากสำนักข่าว BBC