ผู้ประกอบการไทยกับDigitalization

11 ก.ย. 2560 | 23:15 น.
TP08-3295-1C ภาพรวมการส่งออก 7 เดือนแรกของปี 2560 มีมูลค่า 132,399 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโต 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนสำคัญเกิดจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วง 7 เดือนแรกที่มีมูลค่าสูงถึง 19,892 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตถึง 11.8% และคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 15% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด เป็นผลมาจากการย้ายฐานการผลิตกลับมายังประเทศไทยและการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Digitalization อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ และชิ้นส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็น Smart Device เป็นต้น
ผลจากตัวเลขการส่งออกบอกได้อย่างชัดเจนว่าอิทธิพลของ Digitalization มีผลอย่างมากต่อภาคการส่ง
ออกของไทย ซึ่งรวมถึงการ
ปรับตัวด้านกระบวนการและระบบปฏิบัติงานทั้งในระดับองค์กรและการเชื่อมต่อ (Connectivity) ในระดับซัพพลายเชนซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการที่เกี่ยว ข้องต้องเริ่มปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสที่เกิดขึ้น

เชื่อว่าผู้ประกอบการคงมีคำถามในใจว่าแล้วภาคธุรกิจต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถตามทันกระแส Digitalization ประการแรกคือ ต้องทำความเข้าใจว่าเราทำ Digitalization ไปเพื่อใคร? เป้าหมายขององค์กรอยู่ที่ใด? แน่นอนว่าคำตอบควรจะอยู่ที่ “ทำเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคขั้นสุดท้าย”

ประการต่อมาต้องเข้า
ใจว่า “ไม่มีสูตรสำเร็จในการพัฒนา Digitalization ในองค์กร” ไม่มีซอฟต์แวร์ใดหรือระบบบริหารจัดการใดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกกลุ่มสินค้า ทุกบริบททางธุรกิจ เพราะแม้จะอยู่ในธุรกิจเดียวกัน แต่ก็มี Business Model ที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นการพัฒนา Digitalization ขององค์กรจึงต้องเริ่มจากการประเมินตนเองควบคู่ไปกับการตรวจสอบความต้องการของลูกค้า เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่เราต้องทำคืออะไรบ้าง

ประการที่ 3 คือ “การพัฒนา Digitalization ในองค์กร ต้องทำทีละขั้นตอน” เริ่มจากการประเมินระบบการทำงานในองค์กรว่าสามารถทำส่วนใดให้เป็นระบบ automation หรือ paperless หรือลดขั้นตอนให้น้อยลงได้บ้าง หลังจากนั้นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรภายในองค์กรให้เข้าใจถึงความจำเป็น เพื่อให้ยอมรับและพัฒนาทักษะการทำงานให้สอดคล้องกับระบบและวิธีการทำงานที่จะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในบางครั้งหมายถึงการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานครั้งใหญ่ขององค์กรทีเดียว และท้ายที่สุดคือตัดสินใจเลือกว่าจะมีรูปแบบในการดำเนินงานใหม่สำหรับแต่ละกลุ่มธุรกิจเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มลูกค้าองค์กร กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค จะมีรูปแบบในการให้บริการที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เป็นต้น และเมื่อสามารถสรุปในแต่ละประเด็นได้แล้ว จึงค่อยมาเลือกหรือพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับโจทย์หรือความต้องการของลูกค้าในที่สุด

ประการสุดท้ายคือ
“ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Digitalization ของบริษัทคือทุกคนที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชน” ของเราทั้งหมด เพราะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกระ บวนการทางธุรกิจขององค์กร และโลกในอนาคตอันใกล้ ธุรกิจเกือบทั้งหมดต้องเชื่อมโยงกันผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมกับบูรณาการขั้นตอนการทำงานร่วมกัน เพื่อลดความซํ้าซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพให้มากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาเฉพาะภายในองค์กรเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ แต่ผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องเลือกพัฒนาระบบร่วมกับคู่ค้าหลักหรือคู่ค้าที่มีความพร้อมในการทำงานร่วมกันก่อนเป็นลำดับแรก 
ส่วนในระยะยาว คู่ค้าที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับกระ
แส Digitalization ได้ก็อาจต้องยอมรับและหายไปจากซัพพลายเชน เพราะเมื่อทุกคนพยายามปรับตัว จะทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงตลอด end-to-end ซัพพลายเชนในที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,295 วันที่ 10 - 13 กันยายน พ.ศ. 2560 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว