"ฉัตรชัย"เล็งเทหน้าตัก900 ล.ซื้อหนี้เร่งด่วนส่งซิกเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรใหม่

03 ก.ย. 2560 | 11:05 น.
 

"ฉัตรชัย" เตรียมเทหน้าตัก 900 ล.ซื้อหนี้เร่งด่วน  ส่งซิกเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรใหม่หลังคำสั่ง ม.44 ยุบ

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าการแก้ไขหนี้สินของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟู ที่มาขึ้นทะเบียนฐานข้อมูลหนี้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้จำนวน 512,889 ราย 646,394 บัญชี มูลหนี้ 84,711 ล้านบาท โดยให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดการหนี้สินของเกษตรกร เช่น  หนี้ล้มละลาย หนี้ขายทอดตลาด หนี้บังคับคดี (ยึดทรัพย์) หนี้พิพากษา หนี้ฟ้องร้องดำเนินคดี หนี้ผิดนัดชำระ (NPL ) ตามความเร่งด่วน ความคืบหน้าในการจัดทำฐานข้อมูลหนี้ใหม่ประมาณ 80% แล้ว หลังจากการจัดการหนี้เรียบร้อยแล้วจะส่งต่อให้คณะกรรมการชุดใหม่จัดการแทน

S__3678211

"ปัญหาของกองทุนฟื้นฟูฯ สถานการณ์ทำนองเดียวกันกับรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ที่ต้องเข้ามา เนื่องจากในขณะนั้นรัฐบาลมีปัญหาบริหารประเทศไม่ได้ เบิกเงินไม่ได้ ไม่ต่างจากกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่สามารถบริหารได้เพราะลาออกไปส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งก็ทะเลาะจนไม่สามารถบริหารได้ ผมก็เข้ามาช่วยในระยะเวลาสั้นๆ ที่กำหนดไว้ 6 เดือนให้มีการสำรวจข้อมูลหนี้ใหม่ ช่วยเหลือหนี้เร่งด่วนก่อน ขณะนี้มีเงินซื้อหนี้ 900 ล้านบาทจัดการหนี้ ส่วนที่เหลือจะของบกลางจากรัฐบาลเข้ามาช่วยในลำดับต่อไป เมื่อจัดการหนิ้สินจะส่งมอบให้คณะกรรมการชุดใหม่ที่เลือกตั้งเข้ามาให้จัดการแทนต่อไป จะพยายามทำให้ดีที่สุด"

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้า การตรวจสอบข้อมูลหนี้สินเกษตรกรทีมาขึ้นทะเบียนหนี้ไว้จำนวน 512,889 ราย 646,394 บัญชี มูลหนี้ 84,711 ล้านบาท (ณ วันที่ 7 ก.ค.60) ล่าสุดทางคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ก.ย.60) ผลการสำรวจพบว่ามีเกษตรกรที่มีอยู่ในระบบกองทุนฟื้นฟูฯ มี 465,509 ราย มีเกษตรกรมารายงานตัว 253,662 คน คิดเป็น 54% มีกลุ่มที่ต้องการให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร( กฟก.)ช่วยเหลือ 140,875 ราย จำนวน 300,701 สัญญา เงินต้นกว่า 30,396 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นอาทิ ลูกหนี้จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 77,125 ราย 216,168 สัญญา เงินต้น 18,843 ล้านบาท รองลงมาเป็น สหกรณ์การเกษตร 47,740 ราย 64,257 สัญญา เงินต้น 5,389 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์ นิติบุคคลและโรงงานน้ำตาล จำนวน 3,747 ราย 4,329 สัญญา เงินต้น 4,514 ล้านบาท เป็นต้น

สำหรับการจัดการหนี้ของ ธ.ก.ส. จะแบ่งลูกหนี้ออกเป็น 2 ส่วนในการปรับโครงสร้างหนี้ หากเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟู ปรับโครงสร้าง 50% นอกสมาชิก 90% ในส่วนของสหกรณ์การเกษตร กำลังเจรจาอยู่เนื่องจากสหกรณ์เงินต้นคิด 100% พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับด้วย อย่างไรก็ดียังมีสมาชิกที่มีมูลหนี้มากกว่า 2.5 ล้านบาท มีเกษตรกร 488 ราย จำนวน 534 สัญญา เงินต้น 4,634 ล้านบาท คงต้องติดตามดูว่ารัฐมนตรีจะจัดการหนี้ก้อนนี้อย่างไร แต่นโยบายท่านฉัตรชัย ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ไม่มีหลักประกัน จำนวน 70% มีมูลหนี้ 35% ก่อน

ทั้งนี้การจัดการหนี้สินเร่งด่วนตามคำสั่งของ คสช. ได้แก่ หนี้ที่เกษตรกรถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย หนี้ที่เกิดจากการบังคับคดี หนี้ตามคำพิพากษาของศาล หนี้ที่ถูกดำเนินคดี และหนี้ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างของหนี้เกษตรกรกับสถาบันเจ้านี้ ส่วนพวกที่มีหลักค้ำประกัน มีประมาณ 30% แต่มีมูลหนี้ 65% จะเป็นลำดับการช่วยต่อไป

e-book-1-503x62