การปรับตัวของธุรกิจครอบครัว ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

05 ก.ย. 2560 | 23:05 น.
MP35-3293-2 ธุรกิจครอบครัวถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก ตามรายงานของ Credit Suisse ในปีค.ศ. 2011 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 60% ในภูมิภาคนี้ดำเนินการโดยครอบครัว และมากกว่าครึ่งหนึ่งของ 200 บริษัทชั้นนำเมื่อพิจารณาจากรายได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีค.ศ. 2015 บริหารโดยครอบครัวเดี่ยว ซึ่งครอบครัว 15 อันดับแรกถือครองสินทรัพย์คิดเป็น 48% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในสิงคโปร์ 76% ในมาเลเซียและ 47% ในฟิลิปปินส์ ดังนั้นธุรกิจครอบครัวจึงอาจถือได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามเนื่องจากธุรกิจในครอบครัวมีทั้งสมาชิกในครอบครัวและมืออาชีพที่ต้องมีความข้องเกี่ยวกันไม่มากก็น้อย จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้เช่นกัน อาทิ ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ง่ายและการเลือกที่รักมักที่ชังอาจขัดขวางความก้าวหน้าของธุรกิจได้ สำหรับธุรกิจครอบครัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจโดย The Economist Intelligence Unit พบว่า สาเหตุสำคัญที่สุดของความเครียดเกิดจากปลดญาติพี่น้องที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพออก รองลงมาคือความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวนั่นเอง อย่างไรก็ตาม Tanya Mariano2 ได้สรุปวิธีที่จะรักษาธุรกิจครอบครัวเอาไว้พร้อมกับการรักษาความสัมพันธ์ในครอบ ครัวให้ราบรื่นไปพร้อมกันดังนี้

1. จัดการพลวัตของครอบครัวอย่างแข็งขัน กำหนดขอบเขตเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป คือปัญหาครอบครัว ต้องเก็บไว้ที่บ้าน ขณะที่การอภิปรายเรื่องธุรกิจที่บ้านควรทำให้น้อยที่สุด โดย George Isaac ที่ปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวกล่าวว่า “พลวัตของครอบครัวในเชิงบวกต้องมีการจัดการเชิงรุกและเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะประสบความสำเร็จสำหรับธุรกิจของครอบครัวที่มีมาหลายชั่วอายุคน” รวมถึงการไม่เอาเรื่องส่วนตัวเข้ามาปะปนกับธุรกิจเช่นกัน ซึ่งสมาชิกในครอบครัวสามารถจัดการได้โดยต้องมีการสื่อสารแบบเปิด

MP35-3293-1 2. การมีที่ปรึกษาจากภาย นอก คำแนะนำจากคนนอกจะสามารถช่วยธุรกิจไม่ให้มีวิสัยทัศน์แคบเกินไปและยังสามารถเติมเต็มในเรื่องของความเชี่ยวชาญได้อีกด้วย โดย George Isaac แนะนำว่า “ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการอิสระที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวจะทำให้เกิดความเป็นกลางและความเป็นมืออาชีพในการประชุมคณะกรรมการมากขึ้น”

3. สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวออกไปทำงานหาประสบการณ์จากภายนอกก่อน เนื่องจากประสบการณ์การทำงานจะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสที่จะเติบโตและแยกจากธุรกิจ อีกทั้งยังจะได้รับมุมมองกว้างขึ้นไม่เพียงที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมในการทำงานเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวกับตัวเองด้วย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเข้ามาทำงานในธุรกิจครอบครัว พวกเขาจะเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ดีกับพี่น้องและจะทำให้ธุรกิจของครอบครัวมีภูมิคุ้มกันต่อความขัดแย้งในครอบครัวมากขึ้น

4. ตอบสนองความต้องการและเป้าหมายส่วนบุคคลของสมาชิกในครอบครัว ครอบครัวไม่ควรมองข้ามรายละเอียดอย่างหนึ่ง นั่นคือสมาชิกในครอบครัวทุกคนมีเป้าหมาย ความต้องการและลำดับความสำคัญของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะค่อยๆพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โดย George Isaac แนะนำว่า “กฎที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติต่อครอบครัวเจ้า ของเหมือนเป็นนักลงทุนรายย่อย นั่นคือ ทำ ความเข้าใจและตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลของพวกเขา ทั้งในเรื่องธุรกิจและส่วนบุคคล”

จากการสำรวจพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของ 200 บริษัทชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวมีเพียงส่วนน้อยที่มีแผนสืบทอดกิจการเมื่อรุ่นผู้ก่อตั้งล้มหายตายจากไป และในระดับโลกพบว่า มากกว่า 60% ของธุรกิจครอบครัวจะเลิกกิจการเมื่อหมดยุคผู้ก่อตั้งและ 95% จะหายไปเมื่อถึงเข้าสู่รุ่นที่ 3 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการ?เตรียมตัวไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีทายาทมากเกินไป หรือมอบงานให้พวกเขาทำน้อยเกินไปหรืออาจเนื่องจากพวกเขาไม่เต็มใจที่จะหารือปัญหาในขณะที่ผู้ก่อตั้งยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งส่วนนี้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างความเป็นเจ้าของที่มุ่งเน้นให้สมาชิกอาวุโสในครอบครัวเพียงไม่กี่คนมีอำนาจมากที่สุด

อย่างไรก็ตามการวิจัยของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นชี้ว่า บริษัทในเอเชียมีโอกาสรอดมากกว่าเนื่องจากมีความเป็นหน่วยครอบครัวมากกว่าบริษัทในประเทศแถบอื่นเพราะสามารถกระจายความเสี่ยงโดยการกระจายธุรกิจได้ ขณะที่บริษัทในประเทศตะวันตกจะมุ่งเน้นที่กิจกรรมหลักมากกว่านั่นเอง

ที่มา :
1. Boyd, Alan. 2017. Sibling Rivalry Eclipses AsianFamily Businesses. Available: http://www.atimes.com/article/sibling-rivalry-eclipses-asian-family-businesses/
2. Mariano, Tanya. 2017. Four Tips to Run a Successfuland Drama-Free Family Business in Southeast Asia.Available: http://inc-asean.com/editor-picks/four-tipsrun-successful-drama-free-family-business-southeast-asia/

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,293 วันที่ 3 - 6 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว