เงินเฟ้อเดือน ส.ค. สูงขึ้น 0.32 % จากราคาน้ำมันสูงขึ้น

01 ก.ย. 2560 | 11:18 น.
เงินเฟ้อเดือน ส.ค. สูงขึ้น 0.32 % จากราคาน้ำมันสูงขึ้น ประกอบกับกำลังซื้อภาคครัวเรือนดีผลจากรายได้เกษตรกรดีขึ้น ยังคงกรอบเงินเฟ้อ 0.7-1.7% คาดจะมีการประเมินกรอบเงินเฟ้อใหม่ในเดือนหน้า

[caption id="attachment_202846" align="aligncenter" width="503"] นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร[/caption]

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนสิงหาคม 2560 เท่ากับ 100.64 สูงขึ้น 0.11 % เมื่อเทียบเดือนกรกฎาคม 2560 และสูงขึ้น 0.32 % เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม 2560) สูงขึ้นอยู่ที่ 0.56% ทั้งนี้ เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลมาจากกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันขายปลีกปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก นอกจากนี้ ยังประกอบกับ กำลังซื้อในครัวเรือดีขึ้น สะท้องให้เห็นถึงรายได้เกษตรกร มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ เป็นต้น

ทั้งนี้ เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น สาเหตุ จากหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 0.86% จากราคาน้ำมันขายปลีกสูงขึ้น 2.64% และค่าเรือโดยสารเรือ ที่ปรับขึ้นตามน้ำมันดีเซล และการสูงขึ้นของหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 0.12% ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง 0.24% จากการลดลงของหมวดผักสดและผลไม้ 2.35% เช่น ผักคะน้า ผักชี ขึ้นฉ่าย ซึ่งมาจากสภาพอาหารทำให้การเจริญเติบโตดี และเป็นฤดูของผลไม้อีกด้วย รวมถึงการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไข่ไก่ อาหารสำเร็จรูปอีกด้วย

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ยังไม่มีการปรับประมาณการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2560 ยังคงอยู่ที่ 0.7-1.7% ภายใต้สมมุติฐาน การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยขยายตัว 3-4% โดยมีปัจจัยจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนสูงขึ้น รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคา สินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 45-55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีผลจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ไม่แน่นอนของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ความต้องการน้ำมันในช่วงฤดูหนาว ความต้องการใช้ที่สูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

สำหรับ อัตราแลกเปลี่ยน อยู่ที่ 34.0-36.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก การปรับลดขนาดถือครองสินทรัพย์ทั้งส่าวนของพันธบัตรและอสังหาริมทรัพย์ การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และนโยบายผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการดำเนินการธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ช่วยให้ภาคธุรกิจในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลสนับสนุนต่อเงินเฟ้อ การใช้จ่ายภาคครัวเรือกดีขึ้นประกอบกับหนี้ครัวเรือนลดลง รายได้จากการส่งออกขยายตัว มาตรการภาครัฐช่วยสนับสนุน
แต่ทั้งนี้ ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบ คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู้ค่าสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแนวโน้มสูงขึ้น กระทบต่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ และความผันผวนของค่าเงินบาทที่กระทบต่อการแข่งขันของภาคส่งออก และต้นทุนราคาวัตถุดิบ ทั้งนี้ ทางสำนักฯจะมีการประเมินและปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้ออีกครั้งในเดือนหน้า

สำหรับ การสำรวจราคาสินค้าที่ใช้ในการคำนวณเงินเฟ้อทั้งหมด 422 รายการพบว่ามีสินค้าที่ปรับสูงขึ้น ราคาเพิ่มขึ้น 110 รายการ เช่น ไก่สด กุ้งขาว ไข่ไก่ กะทิสำเร็จรุป กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ค่าเช่าบ้าน น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารเย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า กระดาษชำระ ราคาสินค้าที่ปรับลดลง 99 รายการ เช่น ข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ปลาช่อน ผักสด น้ำมันพืช น้ำตาลทราย ผลซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ แชมพูสระผม ขณะที่ราคาสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลง 213 รายการ ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว