3 ไอพีโอพลังงานนิวไฮ บี.กริม-TPIPP-WHAUP โตอย่างมีคุณภาพ ต้นทุนลด

19 ส.ค. 2560 | 00:36 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

3 บริษัทน้องใหม่พลังงานทดแทนโชว์กำไรไตรมาส 2 ประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าสูงขึ้น ออกหุ้นกู้คืนหนี้ลดภาระดอกเบี้ย COD มากขึ้น

ในไตรมาส 2/2560 มีบริษัทที่ทำธุรกิจสาธารณูปโภค พลังงานทางเลือก จำนวน 3 บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ หุ้นบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือTPIPP บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP และบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ซึ่งทั้ง 3 บริษัทมีกำไรสุทธิโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (นิวไฮ) และยังมีแผนที่จะเติบโตก้าวกระโดดในระยะยาว

[caption id="attachment_175942" align="aligncenter" width="336"] นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)[/caption]

นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ฯเปิดเผยว่า บริษัทมีผลงานรวมครึ่งปีแรก เติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าใหม่ค่อนข้างดีมาก และต้นทุนทางการเงินลดลง โดยบี.กริมยังคงรักษามาตรฐานในการก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดและใช้จ่ายตํ่ากว่างบลงทุน มีอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity IRR)ประมาณ 18-25% แม้ว่าการแข่ง ขันจะสูงก็ตาม

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารยังคงมั่นใจเป้าหมายที่จะมีสัญญาซื้อขายไฟถึง 5,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) 30 โครงการ รวม 1,646 เมกะวัตต์ และมีโครงการในมือ 14 โครงการ คาดในปี 2565 จะ COD 2,431 เมกะวัตต์ เติบโต 48% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ยังไม่รวมงานในส่วนราชการที่ได้มาอีก 8 เมกะวัตต์ และโครง การที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้อีกมากกว่า 500 เมกะวัตต์ รวมถึงความร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้นำในแต่ละพลังงานช่วยประหยัดต้นทุน เช่น ชีวมวล เชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมและเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบ SPP Hybrid Firm ที่รัฐเปิดรับซื้อรวม 300 เมกะวัตต์ในปี 2560

MP17-3288-AA MP17-3288-A ขณะเดียวกันฐานะการเงินมีความแข็งแกร่งมากขึ้น หลังจากนำเงินไอพีโอชำระหนี้ ประมาณ 4,500 ล้านบาท ลดอัตราหนี้สินต่อทุน (ดี/อี) ลงจาก 3.7 เท่าเหลือ 1.6 เท่าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่เกินนโยบายที่กำหนด 2 เท่า เพิ่มศักยภาพการเติบโตและการแข่งขัน ส่วนผลงานในปีหน้าจะโตอย่างมีนัยสำคัญจากการ COD 3 โรงไฟฟ้าใหญ่

“ 6 ปีที่ผ่านมา เราทำมา 25 โครงการสร้างเสร็จทันกำหนดทั้งหมด โมเดลธุรกิจทำให้รายได้เติบโตมีเสถียรภาพ เรามีโอกาสทางธุรกิจทุกวันจากคอนเนกชันระดับรัฐบาลในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย กัมพูชารวมถึงเทรนด์ของโลก ขณะนี้ดีลดิลิเจนต์ หลายโครงการ เช่น ที่ฟิลิปปินส์เวียดนาม โซลาร์มาเลเซีย 180 เมกะวัตต์ คาดสิ้นปีน่าจะมีข้อสรุปบ้าง จะสนับสนุนให้หุ้น BGRIM เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานเราไม่ใช่หุ้นปั่น ขอปฏิเสธไม่มีการโยนหุ้นกันเอง และกรีนชูไม่น่าจะซื้อได้เพราะหุ้นไม่ได้ลงแรงผิดปกติ” นางปรียนาถกล่าว

นายนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท บี.กรีม เพาเวอร์ฯ กล่าวว่า บริษัทไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนอย่างน้อย 3-5 ปี แม้ในแต่ละปีต้องการใช้เงินลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และมีสินเชื่อโครง การประมาณ 5 หมื่นล้านบาทก็ตาม เพราะทยอยออกหุ้นกู้คืนหนี้ เมื่อต้นปีระดม 11,500 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3.8% ปลายปีนี้จะออกอีก 3,000-5,000 ล้านบาท ช่วยลดต้นทุนลงมาเรื่อยๆจาก 5.5% เหลือ 4.5% ในปัจจุบัน

“เรามีเป้าหมายลดดอกเบี้ยเฉลี่ยเหลือ 4% หรือประหยัด ได้ประมาณ 2% เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยสินเชื่อโครงการ หุ้นกู้มีเรตติ้ง A- นักลงทุนสถาบันสนใจซื้อมาก ครั้งก่อนล้น 4-5 เท่า และต้นปี 2561 บริษัทจะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรเป็นครั้งแรก ด้านผลงานกำไรสุทธิที่มีการปรับปรุงสูงสุดเป็นประวัติการณ์” นายนพเดชกล่าว

ด้านนายภากร เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TPIPP กล่าวว่า แนวโน้มผลงานดีขึ้นจากการ COD โรงไฟฟ้าใหม่อีก 3 โรง คาดไตรมาส 4 มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมเพิ่มขึ้นเป็น 440 เมกะวัตต์รวมถึงความพร้อมในการเข้าร่วมประมูล ไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ และค่า FT จะมีการปรับขึ้นอีก 8.87 สตางค์ต่อหน่วย ในงวดเดือนกันยายน-ธันวาคมนี้

นายวิเศษ จูงวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WHAUP มั่นใจว่าภาพรวมปี 2560 รายได้และส่วนแบ่งกำไรจะเติบโต 100% จากธุรกิจพลังงานที่มีการผลิตเต็มปี 350 เมกะวัตต์ และ COD โรงไฟฟ้า SPP อีก 4 โรง กำลังผลิตเฉลี่ยโรงละ 130 เมกะวัตต์ รวมถึงต้นทุนการเงินที่ลดลงจากการเสนอขายหุ้นกู้ 4,000 ล้านบาทในเดือนสิงหาคมนี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,288 วันที่ 17 -19 สิงหาคม พ.ศ. 2560