อยากหยุดเวลาไว้ที่ ภูฏาน

13 ส.ค. 2560 | 00:26 น.
MP26-3287-7P แค่บอกว่าจะไป “ภูฏาน” ใครได้ยินเป็นต้องอิจฉาตาร้อนไปตามๆ กัน เพราะเป็นดินแดนที่ใครๆ ก็อยากไปสัมผัส หลังได้ยินกิตติศัพท์ลํ่าลือ ที่ว่าไปยาก จำกัดคนเข้าประเทศ ทั้งต้องมีค่าใช้จ่าย 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน ซึ่งเหตุที่เขาควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวก็เพื่อไม่ให้สร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อมและกระทบถึงวัฒนธรรมดั้ง เดิมของชาวภูฏาน จึงเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพหรือ High Value Low Impact และได้รับการเรียกขานว่า “The Last Shangrila”

[caption id="attachment_193426" align="aligncenter" width="503"] พูนาคาซอง เมืองหลวงเก่า พูนาคาซอง เมืองหลวงเก่า[/caption]

ดังนั้นผู้วางแผนเดินทางไปภูฏาน จึงต้องมีความตั้งใจสูง ที่จะไปสัมผัส วิถีชีวิต จิตวิญญาณ ความศรัทธาศาสนาพุทธที่สืบทอดกันยาวนานกว่าพันปีของอาณาจักรเล็กๆ ที่เต็มเปี่ยมด้วยความสุขกลางเทือกเขาหิมาลัย ด้วยพื้นที่ราบมีอยู่อย่างจำกัด จะเงยหน้าไปทางไหนก็ปะทะกับขุนเขา ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์หรือราว 72% เป็นพื้นที่ป่าไม้ เขียวขจีเทือกเขาสูงกว่า 2,300 เมตร ยอดเขาบางลูกก็สูงเสียดฟ้าระดับน้องๆ เอเวอเรสต์หรือ 6,900 เมตร

[caption id="attachment_193428" align="aligncenter" width="503"] เทศกาลดอกไม้ เทศกาลดอกไม้[/caption]

สิ่งที่พึงระวัง ถ้าเผลอเดินเร็วๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่ายและ หายใจไม่ทัน เพราะความกดดันอากาศในที่สูง ถนนหนทางคดเคี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา บางช่วงสูงกว่า 3,200 เมตร เรื่องโค้งหักศอกมากจนไม่กล้านับ ยิ่งเส้นทาง จากเมืองทิมพู (Thimphu) ไปพูนาคา (Punaka) เมืองหลวงเก่า ระยะทางแค่ 77 กิโลเมตร ใช้เวลา ร่วม 3 ชั่วโมง ถ้าเมารถง่ายต้องเตรียมตัวให้พร้อม แต่แลกกับสิ่งที่ได้เห็นแล้วต้องยอม เพราะคุ้มค่ามาก

[caption id="attachment_193431" align="aligncenter" width="503"] พื้นที่เพาะปลูกเมืองพูนาคา พื้นที่เพาะปลูกเมืองพูนาคา[/caption]

ยิ่งเป็นนักท่องเที่ยวประเภทรักสงบ อินกับความเรียบง่าย ยิ่งอยู่ก็จะยิ่งหลงรัก ภูฏาน อยากหยุดเวลา ย้อนไปสู่อดีต หลีกหนีความวุ่นวาย กับภาพผู้คนนิยมการเดินเท้าไปตามถนนสวมชุดประจำชาติ “โกะ” Kho สำหรับผู้ชาย ของผู้หญิง จะเรียกว่า “กีรา” Kira ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของที่นี่ แต่กับคนแปลกหน้าแล้วนับเป็นความมหัศจรรย์ และดูพวกเขาช่างมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เร่งรีบ ไปไหน-มาไหนในเมืองใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็ถึง ชีวิตดี๊ดี

MP26-3287-3P นี่ขนาด “ทิมพู” เป็นเมืองหลวงยังมีประชากรแค่ 1 แสนคนทั้งที่เป็นเมืองใหญ่สุดของประเทศ จึงไม่มีสัญญาณไฟจราจร ใช้ตำรวจยืนโบกรถตามสี่แยก ตัวอาคารบ้านเรือน สร้างด้วยสถาปัตยกรรมภูฏาน อาคารก่ออิฐฉาบด้วยดิน หลังคาเป็นเชิงชั้น ประตู หน้าต่าง ประดับด้วยโครงไม้แกะสลัก โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ได้รับอิทธิพลจากทิเบต ข้อมูลปีที่แล้วภูฏานมีประชากรราว 7.9 แสนคนเป็นประเทศไม่มีทางออกทางทะเล มีพื้นที่ 38,394 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 7.5% ของประเทศ ไทย หรือมีขนาดเท่ากับสวิตเซอร์แลนด์ ชายแดนติดกับจีนและอินเดีย

[caption id="attachment_193430" align="aligncenter" width="503"] นักบวชรุ่นจิ๋ว นักบวชรุ่นจิ๋ว[/caption]

ภูฏานยังมีเทศกาลที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด“เตชู” Tshechus นาฏกรรมอันศักดิ์สิทธิ์โดยพระจะสวมหน้ากากร่ายรำ ที่แฝงไว้ด้วยคติธรรมทางศาสนา ถึงเทศกาลนี้เมืองแทบร้าง โลกรู้จักภูฏานจากหนังเรื่อง Little Buddha แสดงโดย ริชาร์ด เกียร์ และด้วยการที่ผู้นำประเทศมักสั่งสอนให้ประชาชนยึดคติที่ว่า “คุณภาพชีวิตอยู่ที่จิตใจไม่ใช่วัตถุ” กลายเป็นเสน่ห์ของภูฏานทุกวันนี้

[caption id="attachment_193424" align="aligncenter" width="335"] การหมุนกงล้อภาวนาด้วยมือขวา การหมุนกงล้อภาวนาด้วยมือขวา[/caption]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,287 วันที่ 13 -16 สิงหาคม พ.ศ. 2560