‘คริสเตียนี’กางแผนรุก คาดเมกะโปรเจ็กต์รัฐ-เอกชนดันครึ่งหลังโตตามเป้า

12 ส.ค. 2560 | 10:00 น.
คริสเตียนี&นีลเส็นไทย จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทรับเหมาที่มีแผนการรุกธุรกิจในปีนี้ที่กำหนดกลยุทธ์และกลุ่มเป้าหมายทั้งการรับงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งงานในส่วนเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่รัฐบาลเร่งผลักดันหรืองานก่อสร้างอาคาร ศูนย์การค้าที่เติบโตตามแนวเส้นทางและในย่านธุรกิจสำคัญที่จะมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้น

[caption id="attachment_192210" align="aligncenter" width="488"] พิเชฐ นิ่มพานิชย์ พิเชฐ นิ่มพานิชย์[/caption]

ทั้งนี้นายพิเชฐ นิ่มพานิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CNT ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจและเป้าหมายการรุกในครึ่งหลังปี 2560 นี้ว่าการแข่งขันในธุรกิจก่อสร้างและการได้งานของ CNT ในปี 2560 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน และได้รับงานที่มีความเสี่ยงตํ่ามาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นไปตามเป้าภายในของบริษัท

โดยรายละเอียดการได้รับงานนับจากเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2560 คิดเป็นมูลค่า 7,000 ล้านบาท (แยกประเภทตามแสดงในผังภาพ) ต่อเนื่อง จากการประเมินงานที่ประมูล และกำลังจะได้มาในช่วงครึ่งปีหลังก็จะมีโอกาสสูงมากที่จะได้งานตามเป้าหมายจากที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งถือว่าสภาวะการได้งานและรายได้จะดีกว่าปี 2559 ที่ผ่านมา

++ยังมีลุ้นรับงานภาครัฐต่อเนื่อง
ทั้งนี้จากข้อมูลในผังภาพจะแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ภาคผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ จะขยายตัวน้อยลง CNT ยังคงรักษาฐานในส่วนการก่อสร้างโรงงานผลิตต่างๆ ได้อย่างดี แต่ยังมีผลกระทบที่เกิดคือ งานออกมาน้อยมาก การแข่งขันก็สูงมากขึ้นแต่ด้วยคุณภาพ ราคา การทำงานทันเวลา และ Safety ที่ดี CNT ยังรักษาความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับในส่วนโครงการภาครัฐ งานโครงการพื้นฐาน และอื่นๆ นั้นเป็นที่ทราบกัน M35-3286-1a ดีในอุตสาหกรรมก่อสร้างงานโครงการขนาดใหญ่ งานสาธารณูปโภคภาครัฐ เช่น รถไฟฟ้า MRT, รถไฟทางคู่ SRT, สนามบินหลักของประเทศ สาธารณูปโภค งานภาครัฐต่อเนื่องและรวมไปถึงโครงการ PPP ร่วมภาครัฐ โครงการเหล่านี้มีการแข่งขันสูงมาก

“สามารถดูได้จากผู้ที่ผ่านคุณสมบัติและความสามารถได้งานจากภาครัฐ แต่ก็มีทิศทางการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เมื่อเงื่อนไข TOR/ขนาดของสัญญา ฯลฯ จะลดคุณสมบัติลงบางส่วนเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น และเป็นโอกาสที่บริษัทขนาดกลางจะรวมตัวกันเข้าแข่งขันในบางงานรายใหญ่หลักของประเทศถึงกับต้องลดราคาเพื่อให้ได้งาน กีดกันการเติบโต หรือโอกาสของรายอื่นๆ ที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญในอนาคต อาจเป็นการอนุมานได้จากราคาที่ได้งาน เช่น รถไฟทางคู่หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ที่เพิ่งเปิดประมูลไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จะพบว่าราคาที่ได้ไปตํ่ากว่าราคากลางถึง 20% อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน”

M35-3286-2a ++เน้นพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
ดังนั้นด้วยการที่ CNT เห็นว่าหลายโครงการถึงแม้จะเป็นโครงการขนาดใหญ่มากแต่ต้องเข้าประมูลให้ได้ด้วยความเสี่ยงทางธุรกิจที่สูงมากเช่นกัน จึงได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ว่าจะสร้างมูลค่าใดเพิ่มให้ CNT มากพอหรือไม่

ประการสำคัญยืนยันว่า CNT ยังคงติดตามและพร้อมเข้าร่วมประมูลงานภาครัฐทุกประเภท ด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบ แน่นอนว่าในการเตรียมการกับพันธมิตรนั้นได้เตรียมการไปยังการเข้าแข่งขันให้ได้มาซึ่งเมกะโปรเจ็กต์ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐเอง หรือการลงทุนร่วมรูปแบบ PPP (BTO หรือ BOT) CNT ได้เตรียมการเรื่อง โครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงอยู่ด้วย พร้อมเติบโตไปกับฐานของงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือฐานลูกค้า ภาคเอกชนที่มีกำลังขยายอย่างต่อเนื่อง และรายเดิมที่จะต้องรักษาและดูแลไว้เป็นอย่างดี

“ดังนั้นปีนี้ CNT ยังคงรักษาเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ โดยยอดงานในปีนี้รับรู้เบื้องต้นแล้วว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.2-1.3 หมื่นล้านบาทด้วยงานที่แข่งขันตามปกติซึ่ง CNT จะไม่กล่าวรวม ถึงโครงการขนาดใหญ่ที่เข้าแข่งขันในสมรภูมิเลือดและเป็นแค่โอกาส แต่ยังไม่เห็นชัดในการบรรลุผลที่มากกว่า 40-50%”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,286 วันที่ 10 -12 สิงหาคม พ.ศ. 2560