พณ.แจง3ข้อเท็จจริงเหตุโกดังข้าวร้องรัฐระงับขายโครงการรับจำนำ

30 ก.ค. 2560 | 07:04 น.
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แจงข้อเท็จจริงกรณีที่สถานีโทรทัศน์ ช่องหนึ่ง นำเสนอข่าว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 กรณีที่โกดังข้าว 8 แห่ง เรียกร้องรัฐบาลระงับการระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/2557

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่สถานีโทรทัศน์ ช่องหนึ่ง นำเสนอข่าว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 กรณีที่โกดังข้าว 8 แห่ง เรียกร้องรัฐบาลระงับการระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวปี 2556/2557 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ตั้งแต่ที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) และคณะอนุกรรมการต่างๆ รวมทั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ เพื่อทำหน้าที่ตรวจนับปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือจากการรับจำนำของรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยการลงพื้นที่ของคณะทำงาน 100 ชุด ซึ่งมีผู้ตรวจราชการจากทุกกระทรวงเป็นหัวหน้าชุด และใช้บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและทหารจากกองทัพทั้ง 4 ภาค ภายใต้หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตามการอบรมและคู่มือการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐที่จัดทำขึ้นตามหลักสากลในการตรวจสอบสินค้าเกษตรซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป

โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการตรวจสอบออกมาเช่นใด จะถือว่าเป็นคุณภาพของสินค้านั้นทั้งกอง และจะยึดถือผลนี้เป็นเกณฑ์ โดยมีผู้แทนเจ้าของคลังและบริษัทผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวหรือผู้แทนร่วมรับทราบและลงนามรับรองในเอกสารกำกับตัวอย่างข้าวและรายงานผลการปฏิบัติงานโดยตลอดและไม่มีข้อโต้แย้งในขณะปฏิบัติงานแต่อย่างใด และคณะกรรมการ นบข. ได้เห็นชอบให้ใช้ผลการตรวจสอบตามรายงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐเป็นข้อมูล เพื่อใช้ในการระบายข้าว รวมทั้งแจ้งความดำเนินคดีกรณีข้าวมีคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด
dung 2. การระบายข้าวในสต็อกของรัฐตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี (สิงหาคม 2557 - กรกฎาคม 2560) กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการดำเนินการระบายข้าว ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ แนวทาง วิธีการ หลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการ นบข. ให้ความเห็นชอบมาโดยตลอดใช้หลักปฏิบัติเดียวกันกับทุกราย ด้วยความโปร่งใส ชัดเจน โดยนำข้าวที่ผ่านการตรวจนับปริมาณและมีการวิเคราะห์และจัดระดับคุณภาพแล้วมาระบายตามจังหวะเวลา และช่องทางที่เหมาะสม โดยการระบายข้าวในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐได้พยายามนำข้าวออกมาประมูลเป็นการทั่วไปให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐ แต่การระบายก็ยังทำได้ไม่เร็วเท่าที่ควร เพราะตลาดข้าวทั่วไปมีขีดจำกัดในการรองรับปริมาณข้าวจากการที่ภาครัฐได้ระบายข้าวไปแล้วจำนวนมากก่อนหน้านี้ และข้าวฤดูกาลผลิตใหม่ได้ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเป็นความกดดันให้ต้องพิจารณาช่องทางการระบายที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาสต็อกข้าวกดทับตลาดซึ่งมีผลต่อจิตวิทยาตลาด และรักษาเสถียรภาพราคาข้าวฤดูกาลผลิตใหม่ที่เกษตรกรจะได้รับ

รวมทั้งลดภาระค่าใช้จ่าย ประกอบกับข้าวในสต็อกของรัฐส่วนใหญ่เป็นข้าวที่คุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และข้าวดีบางส่วนปะปนกันไม่สามารถแยกกองขายได้ นอกจากนี้ข้าวในแต่ละคลังมีรายละเอียดของชนิดและคุณภาพข้าวที่แตกต่างกัน จากข้อจำกัดและปัญหาดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการ นบข. จึงต้องทบทวนแนวทางหลักเกณฑ์การระบายมาเป็นระยะตามสถานการณ์ โดยในช่วงต้นปี 2560 ได้มีมติทบทวนและปรับแนวทางการระบาย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สภาพข้าวและสภาพคลัง ซึ่งมีการจัดกลุ่มข้าวเพื่อการระบายออกเป็น 3 กลุ่ม ตามเกณฑ์คุณภาพของข้าว เพื่อแยกช่องทางการตลาดให้ชัดเจน โดยขายแบบยกคลัง ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นข้าวทั่วไปเพื่อการบริโภค กลุ่มที่ 2 เป็นข้าวระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของคน และกลุ่มที่ 3 เป็นข้าวระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของคนและสัตว์

3. คลังข้าวทั้ง 8 แห่ง เมื่อจัดกลุ่มตามแนวทางที่มติคณะกรรมการนบข. กำหนดไว้เป็น ดังนี้
3.1 มี 5 คลังที่จัดเป็นข้าวกลุ่มที่ 2 ที่ต้องระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของคน เนื่องจากมีสัดส่วนข้าวผิดมาตรฐานมาก (C) ปนอยู่เกินร้อยละ 20 ดังนี้
(1) คลังวรโชติ หลัง 2 จังหวัดอ่างทอง ที่ผ่านมาได้นำข้าวในคลังดังกล่าวออกมาประมูลแล้วแต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ และเมื่อ นบข. มีมติทบทวนและปรับแนวทางการระบาย คลังวรโชติฯ ซึ่งมีข้าวปทุมธานีจำนวน 5 กอง ปีการผลิต 2556/57 และมีผลการจัดระดับคุณภาพข้าว แบ่งเป็น ข้าวผิดมาตรฐานแต่ปรับปรุงได้ 4 กอง และเป็นข้าวที่ผิดมาตรฐานมาก (C) ซึ่งไม่คุ้มหรือไม่อาจปรับปรุงเพื่อการบริโภคของคน 1 กอง โดยมีสัดส่วนข้าวผิดมาตรฐานมาก (C) ปนอยู่ร้อยละ 24
(2) คลังถาวรโชคชัย หลัง 1 จังหวัดสระบุรี มีข้าวขาว 5% ปีการผลิต 2556/57 จำนวน 4 กอง มีข้าวผิดมาตรฐานแต่ปรับปรุงได้ 2 กอง และเป็นข้าวที่ผิดมาตรฐานมาก (C) ซึ่งไม่คุ้มหรือไม่อาจปรับปรุงเพื่อการบริโภคของคน 2 กอง โดยมีสัดส่วนข้าวผิดมาตรฐานมาก (C) ปนอยู่ร้อยละ50
(3) คลัง บจก.โรงสีไฟแสงไพฑูรย์ (2000) หลัง 2 จังหวัด นนทบุรี มีข้าวขาว 5 % จำนวน 8 กอง มีข้าวผ่านมาตรฐาน 1 กอง