“ฉัตรชัย”รับปากเร่งแก้หนี้เกษตรกร 3 พันล้านใน 180 วัน

26 ก.ค. 2560 | 13:21 น.
ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินชาวนาตบเท้าบุก ก.เกษตรฯ ให้กำลังใจรัฐมนตรี เดินหน้าบอร์ดกฟก.เฉพาะกิจ เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน “บิ๊กฉัตร” รับปากเตรียมเสนองบ 3,000 ล้านแก้หนี้เกษตรกรให้แล้วเสร็จตามกรอบ 180 วัน

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ เปิดเผยในโอกาสให้เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) เข้าพบ(25 ก.ค.60)ว่า ตามที่มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 26/2560 เรื่องการแก้ปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และได้มีการตั้งคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจขึ้น แทนคณะกรรมการชุดเดิมเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมามองเห็นปัญหาภาคการเกษตรของไทย ซึ่งจากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรพบว่ายังมีปัญหาความเดือดร้อน ยากจน ปลูกพืชแล้วจน ต้นทุนแพงทำให้ ไม่มีกำไร จึงต้องกู้เงินมาทำเกษตร ซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขมานานหลายปีเนื่องจากไม่มีแผนแก้ไขอย่างยั่งยืน วันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการแก้ไขปัญหาหลายเรื่องไปพร้อม ๆ กัน เช่น โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการปศุสัตว์โคบาลบูรพาในพื้นที่ จ.สระแก้วเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น

“ปัญหาเหล่านี้สะสมมานานจนเกิดเป็นปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งเป้าหมายตลอดเวลา 2 ปีที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรที่ผ่านมามีนโยบายสำคัญที่ต้องการทำให้เกิด 3 ข้อ คือ 1. เกษตรกรมีความภูมิใจในอาชีพ 2. เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการทำเกษตร และ 3.เกษตรกรใช้ชีวิตพอเพียงตามแนวทางของรัชกาลที่ 9 เพื่อให้อยู่อย่างมีความสุขทั้งนี้ ตั้งใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เกษตร ซึ่งต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากเกษตรกรต้องสร้างความมั่นใจ แก้ปัญหาความจนให้ได้รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องมีความอดทนเพื่อทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร”

อย่างไรก็ตามได้ให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจเร่งเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนทันที ตรวจสอบข้อมูลคุณสมบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความยุติธรรม โปร่งใส และยืนยันว่าจะเดินหน้าเรื่องนี้ให้เร็วสุดตามขั้นตอนสำหรับงบกรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อนำมาแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูนั้น โดยมีแผนที่จะเสนองบประมาณดังกล่าวจากรัฐบาล ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้รับปากแล้วว่ามีงบ 3,000 ล้านบาทแน่นอน

สำหรับความก้าวหน้าการดำเนินงานของ คณะกรรมการ กฟก. เฉพาะกิจ แบ่งเป็น 1. การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการจัดทาหลักเกณฑ์ การจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีเร่งด่วน โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้เร่งจัดทำหลักเกณฑ์ และข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ 2. การกลั่นกรอง ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบข้อมูล คัดกรอง ยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร เพื่อนามา จัดกลุ่ม และบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินต่อไป คาดว่าจะดาเนินการตรวจสอบข้อมูล ให้แล้วเสร็จ ประมาณเดือนสิงหาคม 25603. การปรับปรุงโครงสร้างและกฎหมายของ กฟก. โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างและกฎหมายของ กฟก. โดยมีปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีกรอบเวลาจัดทำข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้าง การพัฒนาการดาเนินงาน และการปรับแก้ไขกฎหมายของ กฟก. ภายในเดือนกันยายน 2560 4. การตรวจสอบ กลั่นกรองการใช้จ่ายงบประมาณของ กฟก. โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณประจาปี 2560 และ 2561 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งจะพิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณประจาปี 2560 ต่อคณะกรรมการ กฟก. เฉพาะกิจ และการเสนอของบประมาณรายจ่ายประจาปี 2561 และ 5. การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่มีนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ในการจัดทำกรอบแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการใช้จ่ายงบประมาณด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจำปี 2560 และ 2561

ด้านนายชรินทร์ ดวงดารา ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.)กล่าวว่า การเดินทางมาในวันนี้ เพื่อมาขอบคุณพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจที่ทำงานแก้ไขปัญหามาตลอดระยะเวลา 60 วัน หลังจากมีการแต่งตั้งบอร์ด เป็นการทำงานที่เดินมาถูกทางแล้ว เนื่องจากมีการเข้าตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรครบถ้วนเป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจข้อมูลได้รอบด้าน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทำมาก่อน แม้จะยังมีความกังวลในกรอบระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ 180 วัน ที่อาจจะมีระยะเวลาที่สั้นไปในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้แล้วเสร็จจึงได้เสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวให้มีความต่อเนื่องมากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ยังขอสนับสนุนแนวทางเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่แล้ว หากต่างคนต่างทำก็ไม่รอด กระทรวงเกษตรฯ มีเครื่องมือมีกองทุน และสหกรณ์การเกษตรที่รองรับนโยบายเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างไรก็ตามกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่เพียงแต่แก้ไขการจัดการหนี้เท่านั้น แต่อยากให้ปฏิรูปด้านการฟื้นฟูและด้านการบริหารจัดการด้วย เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งขอให้พลเอกฉัตรชัย ดำรงตำแหน่งต่อไปเพื่อเดินหน้าแก้ไขปัญหา หากมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารอาจทำให้เสียเวลา เพราะความเดือดร้อนของเกษตรกรรอไม่ได้