สนช.สานพลัง สกว.ระดมสมองทำวิจัย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่

25 ก.ค. 2560 | 11:16 น.
สนช.จับมือ สกว. เปิดเวทีระดมสมองเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยของประเทศและการจัดการเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ หวังกระตุ้นให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างรายได้ และมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อดึงงบประมาณกลับเข้าระบบของประเทศ

[caption id="attachment_185044" align="aligncenter" width="503"] นายพีระศักดิ์  พอจิต  รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง และประธานกรรมการวิจัยและพัฒนาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง และประธานกรรมการวิจัยและพัฒนาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)[/caption]

25 ก.ค.2560 – นายพีระศักดิ์  พอจิต  รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง และประธานกรรมการวิจัยและพัฒนาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการ “ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยของประเทศและการจัดการเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่” ณ โรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมการดำเนินการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย ในคณะกรรมการวิจัยและพัฒนาของ สนช. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อรับฟังข้อมูล ความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ทั้งด้านสังคม การเมืองและการปกครอง ด้านวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ด้านสุขภาพและการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ และด้านการเกษตร อาหาร ดิจิทัล หุ่นยนต์และพลังงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลจากการบูรณาการความคิดเห็นในการกำหนดกรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และแนวทางการดำเนินงานด้านการวิจัยที่มีความชัดเจน เป็นระบบและสอดคล้องกับนโยบาย ทิศทางและเป้าหมายของประเทศ รวมถึงใช้เป็นกรอบและแนวทางการดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้มีความชัดเจน และสามารถนำไปปฏิบัติและสร้างประโยชน์ ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติและผู้นำไปใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างแท้จริง

[caption id="attachment_185046" align="aligncenter" width="503"] ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ กรรการวิจัยและพัฒนาฯ และประธานอนุกรรมการฯ ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ กรรการวิจัยและพัฒนาฯ และประธานอนุกรรมการฯ[/caption]

ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ กรรการวิจัยและพัฒนาฯ และประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า เพื่อให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพไปสู่เศรษฐกิจฐานใหม่ ประเทศไทย 4.0 สนช.จึงเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบของการพัฒนางานวิจัยที่ต้องได้รับการบูรณาการและระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากทั่วประเทศทั้งภาคการศึกษา นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาและนอกมหาวิทยาลัย คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวแทนจากภาคเอกชนและสมาคมบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนนักวิจัยดีเด่นที่ได้รับรางวัล และผู้แทนนักวิจัยที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาทบทวนปัญหาอุปสรรคให้งานวิจัยสัมฤทธิ์ผลต่อไปในอนาคต “ด้วยงบประมาณที่จำกัดจึงจำเป็นต้องพัฒนางานวิจัยที่สร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดการจ้างงานและรายได้เพื่อกลับคืนมาสู่งบประมาณแผ่นดินมากขึ้น เราจะต้องเปลี่ยนงานวิจัยจากหิ้งมาสู่ห้าง ทำให้เกิดการต่อยอดและสร้างนวัตกรรมสู่การแข่งขันของประเทศและการให้บริการที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของทุกฝ่ายและเป็นแชมเปี้ยนให้ได้”

ขณะที่รองประธาน สนช. คนที่สอง ระบุว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของประเทศและดึงงานวิจัยลงจากหิ้งจะต้องมีทุกองคาพยพเป็นองค์ประกอบ ในฐานะที่ สนช.เป็นหนึ่งในแม่น้ำห้าสาย เรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การพิจารณารายจ่ายประจำปีเพื่อส่งเสริมการทำงานและเชื่อมโยงกับแม่น้ำสายต่าง ๆ การสัมมนาครั้งนี้จึงมุ่งหวังจะให้เกิดประโยชน์ในช่วงเวลาอีกปีเศษที่เหลือของรัฐบาลในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย เพื่อการพิจารณางบประมาณ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และนำเสนอข้อมูลแก่ฝ่ายบริหารให้รับรู้ถึงความจำเป็นและความต้องการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ โดย สนช. จะพยายามผลักดันให้เกิดผลในเบื้องหน้า

DSC07488 ทั้งนี้ระหว่างการอภิปรายเรื่อง “ปัญหาอุปสรรคชองระบบการวิจัย การจัดการและการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่” ดร.วรพลกล่าวว่า เป็นที่น่าสงสัยว่าปัจจุบันงานวิจัยจำนวนมากไม่สามารถไปสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การสร้างงานและรายได้ของภาคธุรกิจ ปัญหาเกิดจากกระบวนการพัฒนานักวิจัยหรือองค์กรประเมินผลนักวิจัยผิดพลาด หรือเป็นเพราะงบประมาณแผ่นดินที่สนับสนุนยังไม่ถูกต้อง เหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องมาขบคิดเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวให้เกิดงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของตลาด เรามีงบประมาณเพียงร้อยละ 22 ที่นำมาลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องมีงบลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 40เราจึงต้องเพิ่มงบประมาณให้มากขึ้นเรามีเศรษฐกิจฐานรากจากเกษตรกรรมแต่บริโภคน้ำมันสูงสุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ข้าวหอมมะลิของไทยกำลังจะถูกชาติอื่นแซงหน้า ใช้นวัตกรรมสร้างมูลค่าให้ข้าวในรูปของเครื่องสำอางและยารักษาโรค เช่น โรคหลอดเลือด กัญชารักษาโรคมะเร็ง เราต้องส่งเสริมให้อาจารย์มหาวิทยาลัยพัฒนาสิ่งเหล่านี้

“รัฐบาลควรจะมอบหมายให้รับผิดชอบเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในอนาคต เราต้องมาช่วยกันคิดว่าเพราะอะไรเราจึงยังไม่ไปไหน ทำอย่างไรจึงจะสร้างรายได้ให้งบประมาณแผ่นดิน ควรจะมีการประเมินผลงานวิจัยใครสร้างผลงานทางวิชาการที่ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ก็จะได้งบประมาณมากขึ้นดีหรือไม่ รวมถึงการมอบรางวัลแก่นักวิจัยด้วยจึงอยากฝากให้ทุกคนคิดเป็นการบ้านว่าจะทำผลงานวิจัยสุดยอดเพื่อนำเงินกลับเข้าสู่ระบบได้อย่างไร เปลี่ยนงานวิจัยไปสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจให้ได้ นอกเหนือจากมูลค่าทางสติปัญญา เตรียมคนไทยให้คิดออกจากกรอบ สร้างความอยู่ดีมีสุขให้สังคม ทำให้สังคมแข็งแรงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับภาวะสังคมสูงวัยและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยจะดึงนักธุรกิจที่เกษียณแล้วมาร่วมเป็นอาสาสมัครที่ปรึกษา”

4774.0 ขณะที่ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า เราสามารถสร้างฐานเศรษฐกิจ 5ด้านจากงานวิจัย ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และเชิงนวัตกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจเพื่อสังคม และเศรษฐกิจสูงวัยโดยยกตัวอย่างความสำเร็จจากงานวิจัยพื้นฐานสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่น ผลิตภัณฑ์ความงามที่ต่อยอดจากเมือกหอยทากที่ใช้เวลากว่า 30ปีสู่ฟาร์มหอยเพาะความงามที่สร้างรายได้นับร้อยล้านบาท กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศและสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการมากถึงปีละ 100-200 ล้านบาท พร้อมกับสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรคิดเป็นเงิน 10 ล้านบาท/ปี และเกิดการจ้างงานในชุมชน นอกจากนี้ยังมีแนวคิดใหม่ในการทำวิจัยย้อนกลับจากผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ งานวิจัยที่เกิดขึ้นแบ่งได้เป็นงานวิจัยจากความสนใจของนักวิจัย ความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ ซึ่งล้วนทำให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศ

สกว.ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการงานวิจัยแบบใหม่ที่เรียกว่า “งานวิจัย 4.0”ได้แก่(1)พัฒนาโจทย์วิจัยที่เริ่มต้นจากความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้ก้าวข้ามขั้นตอนของการสร้างผลิตภัณฑ์และการตลาดได้หลายปี (2)งานวิจัยจากเป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการโดยสนับสนุนผู้ประกอบการหรือหน่วยงานภาครัฐให้เป็นนักวิจัยหรือสร้างบุคลากรร่วมกัน (3) ทำวิจัยอย่างรวดเร็ว แม่นยำ ทำได้จำนวนมาก ลดค่าใช้จ่ายด้วยเทคโนโลยีใหม่ ทั้งดิจิทัล,AI, IoT และการเก็บข้อมูล (4) งานวิจัยที่มาจากนักวิจัยที่ต้องการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้เกิดผลกระทบ จากนี้ไป สกว.ต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทุนวิจัย เพื่อสนับสนุนสินค้าที่มีอยู่แล้วในตลาด สร้างความเข้มแข็งให้ทันกับความต้องการของประเทศและนำไปสู่ประเทศไทย 4.0 ทั้งนี้ สกว.ยินดีที่จะให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ผู้ประกอบการจะต้องรวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อให้มาร์จิ้นสูงขึ้น และสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มากขึ้น