Digital Disruption ปรับตัวทันก็รอด

26 ก.ค. 2560 | 23:35 น.
MP20-3282-3 สัปดาห์ที่แล้ว มีการจัดสัมมนาการประชุมเรื่องศักยภาพการแข่งขันของประ เทศไทย 2017 มีหลายประเด็นน่าสนใจ และที่มีการพูดถึงกันไม่น้อย ก็คือการที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิตอล ที่นำมา?ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ที่ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ต้องเร่งปรับตัวให้ทัน ตั้งโฟกัสดีๆ ว่า ผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วเอกชนถึงจะอยู่รอดได้ครับ

ถือว่าเลี่ยงได้ยาก สำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่เทรนด์ของโลกดิจิตอล ในปัจจุบัน?สมาร์ทโฟนกำลังนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคนี่เอง ที่ต่างต้องการบริการ และสินค้าที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายมากขึ้น แต่มีราคาที่ถูกลง และผู้บริโภคก็จะมีพฤติกรรมตามใจตัวเองมากขึ้น คำว่า On Demand กำลังเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภคครับ

และหนึ่งในคำที่สำคัญมากสำหรับโลกยุคดิจิตอล ก็คือ คำว่า Digital Disruption ซึ่งหมายความว่า โมเดลทางธุรกิจ และการให้บริการบนพื้นฐานดิจิตอลรูปแบบใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีกว่าธุรกิจในแบบเดิมๆ
และแน่นอนว่า รูปแบบโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ นี้ ย่อมสร้างผลกระทบต่อธุรกิจแบบเดิมๆ อย่างรุนแรง ดังนั้นต้องบอก ว่าใครปรับตัวได้ก่อน ก็จะอยู่รอด แต่หากปรับตัวไม่ได้ก็รอดยาก

[caption id="attachment_184639" align="aligncenter" width="503"] ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายตามให้ทันกับภาวะโลกที่เปลี่ยนไปด้วย ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายตามให้ทันกับภาวะโลกที่เปลี่ยนไปด้วย[/caption]

ในโลกปัจจุบันนั้น มีตัวอย่างของ Digital Disruption ให้เห็นชัดๆ อยู่มากครับ ตัวอย่างเช่น การให้บริการแท็กซี่รูปแบบใหม่ผ่านแพลตฟอร์มของสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็น อูเบอร์ แท็กซี่ หรือ แกร็บ แท็กซี่ ที่สร้างความสั่นสะเทือนต่อผู้ให้บริการแท็กซี่แบบเดิมๆไปทั่วโลก

การให้บริการแท็กซี่รูปแบบใหม่เหล่านี้ แน่นอนว่าตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีกว่าการให้บริการแท็กซี่แบบเดิมๆ จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากกว่า และก็ทำให้เกิดการ “ปะทะกัน” ระหว่างโมเดลใหม่และการให้บริการแบบโมเดลเดิม อย่างที่ในประเทศไทย ก็เกิดภาวะตามไล่ล่า “อูเบอร์” ในบางจังหวัดโดยกลุ่มผู้ให้บริการแท็กซี่ในรูปแบบเดิม

สิ่งเหล่านี้ เป็นปรากฏการณ์ ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้น สำหรับภาครัฐ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายตามให้ทันกับภาวะโลกที่เปลี่ยนไปด้วย แน่นอนว่าในประเทศไทยนั้น อูเบอร์ กำลังสร้างปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหานั้นไม่ใช่ว่า จะสั่งให้หยุดบริการแล้วจบไป ภาครัฐต้องมานั่งคิดครับ ว่าจะปรับทำอย่างไรให้กฎ หมายรองรับสอดคล้องกับสภาวะโลกที่เปลี่ยนไปด้วย

[caption id="attachment_184640" align="aligncenter" width="503"] ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังมีพฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยผ่านแพลตฟอร์มดิจิตอลมากขึ้น ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังมีพฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยผ่านแพลตฟอร์มดิจิตอลมากขึ้น[/caption]

ส่วนในภาคบริการอื่นๆ นั้น การเกิด Digital Disruption ก็กำลังปรากฏขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน หลายธุรกิจ กำลังจะอยู่ยาก มากขึ้น เพราะการให้บริการใน รูปแบบใหม่ภายใต้แพลตฟอร์ม ดิจิตอลที่เกิดขึ้นมาทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการช็อบปิ้งที่ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังมีพฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยผ่านแพลตฟอร์มดิจิตอลมากขึ้น การใช้บริการทางการเงินที่โลกกำลังเดิน หน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสด เป็นต้น

เช่น นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาประเทศไทยกำลังใช้จ่ายสินค้า และบริการในประ เทศไทยผ่านระบบชำระเงินที่เรียกว่า Alipay มากขึ้น ซึ่งเป็นระบบเพียงแค่นักท่องเที่ยวใช้สมาร์ทโฟนชำระเงินที่ร้านค้าที่รองรับได้ทันที ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้ไม่ต้องนั่งปวดหัวกับส่วนต่างของค่าเงิน และไม่จำเป็นต้องถือเงินสดมากๆ ในระหว่างการเดินทางด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ธุรกิจแลกเปลี่ยนสกุลเงินก็อาจจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ก็ต้องหาทางปรับตัวกันครับ

ในขณะนี้ โลกกำลังเดินเข้าสู่ยุคใหม่อย่างรวดเร็ว และเป็นจังหวะการเดินที่รวดเร็วมาก ถึงมากที่สุดอย่างน่าตกใจ
การไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง จึงเป็นเส้นทางสู่หายนะครับ...

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,282 วันที่ 27 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560