ปาล์มอินโดฉาวอีก! ปตท.เสียหาย1.5พันล. - รัฐบาลอิเหนายึดที่คืน

23 ก.ค. 2560 | 06:11 น.
ปาล์มอินโดฉาวอีก!
• ปตท.เสียหาย1.5พันล.
• รัฐบาลอิเหนายึดที่คืน

คดีการทุจรติโครงการปลูกปาล์มและธุรกิจปาล์มนํ้ามันที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย โดยผ่านบริษัท พีทีที กรีน เอ็นเนอยี่ จำกัด หรือพีทีทีจีอี แต่ไม่สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้และนำไปสู่การขายทั้ง 5 โครงการทิ้ง
CiHZjUdJ5HPNXJ92GO1prJ4cDtMnRRz2q6
ล่าสุดนายนิพิฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท พีทีทีจีอีฯ ได้ส่งเรื่องฟ้องนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ถูกเชื่อมโยงการทุจริตโครงการปลูกปาล์มและธุรกิจปาล์มนํ้ามัน

โดยเฉพาะกรณีการเร่งรัดจ่ายเงินให้นายเบอร์ฮัน ผู้บริหารบริษัท KAIPATAR-INVESTAMA เพื่อแลกกับการลงนามในหนังสือที่เป็นหลักฐานว่านายนิพิฐ เป็นผู้สร้างความเสียหายทุจริตค่านายหน้าในโครงการดังกล่าว รวมถึงการออกมาเปิดเผยถึงการซื้อขายที่ดินในโครงการ พีที เคพีไอ (PT.KPI) ตํ่ากว่าท้องตลาดถึง 3,000 ล้านบาท ขัดต่อมติคณะกรรมการบริหารปตท.ที่กำหนดไว้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ไม่ให้ขายในราคาที่ขาดทุน

พบปมฉาวอีก2โครงการ
นอกจากความไม่ชอบมาพากลในเรื่องดังกล่าว “ฐานเศรษฐกิจ” พบอีกว่า มีการดำเนินงานที่ส่อไปในทางทุจริตในสมัยนายไพรินทร์ เพิ่มขึ้นอีก ในโครงการ PT.MAR Pontianak และโครงการ PT.MAR Banyuasin ที่บริษัท พีทีทีจีอีฯ ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นหรือทรัพย์สินและลงทุนธุรกิจปาล์มนํ้ามันกับบริษัท PT.MAR โดยลงทุนซื้อหุ้นประมาณ 15.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และประมาณ 21.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ รวม 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

EyWwB5WU57MYnKOuXoflKGyMn7wcmu6SUGJrcBIDg6zTNyIWxLP0E6
โดยพบว่าในช่วงต้นปี 2556 นางรสยา เธียรวรรณ ดำรงตำแหน่งกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ดำรงตำแหน่งกรรมการและประธานกรรมการบริษัท พีทีทีจีอีฯ กับพวก ได้เข้ามาบริหารจัดการบริษัท PT.MAR ใน 2 โครงการดังกล่าว ซึ่งโครงการPT.MAR Banyuasin มีพื้นที่ได้รับเอกสารสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน (HGU) จำนวน 7,131.69 เฮกตาร์ และมีโรงสกัดนํ้ามันปาล์มขนาด 30 ตันต่อชั่วโมงพร้อมเอกสารแสดงสิทธิในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ (HGB)

แต่ในพื้นที่บางส่วนที่ได้แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทางผู้บริหารปตท.ได้ทำหนังสือชี้แจงมายังกระทรวงพลังงาน ในฐานะหน่วยงานกำกับ ถึงเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้น โดยในหนังสือระบุว่า ปตท.ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติเกี่ยวกับการลงทุนในธุรกิจปาล์มของบริษัท พีทีทีจีอีฯจึงได้มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
จากผลการสืบสวนพบความเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก คณะกรรมการปตท.จึงมีมติให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบ

ปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อพิจารณา โดยปัจจุบันเรื่องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช. และปตท. ได้พิจารณาลงโทษพนักงานที่เกี่ยวข้องตามผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และพิจารณาเป็นโจทก์ร่วมกับพีทีทีจีอี ยื่นฟ้องผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย ต่อศาลแพ่ง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและศาลได้มีคำสั่งมิให้มีการเผยแพร่ข้อเท็จจริงของคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลคณะกรรมการปตท.พิจารณาถึงปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการโครงการต่างๆ ของพีทีทีจีอีแล้ว เห็นว่าการ ดำเนินโครงการต่อไปจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน จึงควรดำเนินการขายทรัพย์สินของโครงการต่างๆ ซึ่งฝ่ายจัดการได้มีการรายงานการ HGU ยังไม่ได้ดำเนินการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งกฎหมายประเทศอินโดนีเซียระบุว่า ผู้ครอบครองสิทธิ จะต้องดำเนินการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในที่ดินภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับ HGU และจะต้องรายงานการดำเนินงานโครงการปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้กับกรมที่ดินรับทราบ มิฉะนั้นจะต้องถูกถอนสิทธิ HGU

Y29udGVudHMlMkZLJTJGNCUyRmIyOTgzZjg3NTJmYi5qcGVn

ถูกรัฐบาลอินโดยึดที่คืน
แต่ผู้บริหารพีทีทีจีอีกลับเพิกเฉย ทางสำนักงานที่ดินแห่งชาติ ภูมิภาคจังหวัดสุมาตราใต้ประเทศอินโดนีเซีย จึงมีหนังสือแจ้งเตือนครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ให้ผู้บริหารบุคคลดังกล่าว พัฒนาและใช้ประโยชน์โครงการ PT.MAR Banyuasin และรายงานความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการต่อสำนักงานที่ดินแห่งชาติฯ ภายใน 1 เดือน นับจากได้รับหนังสือเตือน แต่ผู้บริหารดังกล่าว กลับไม่ดำเนินการพัฒนาหรือใช้ประโยชน์ที่ดินและแจ้งหรือรายงานไปยังสำนักงานที่ดินแห่งชาติฯแต่อย่างใด

จนนำไปสู่การแจ้งเตือนครั้งที่ 3 เป็นครั้งสุดท้าย แต่ก็ยังเพิกเฉยอยู่ ในที่สุดกระทรวงการเกษตรและปฏิรูปที่ดิน ประเทศอินโดนีเซีย ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการ มีหนังสือเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ให้เพิกถอนเอกสารสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน (HGU) ในโครงการ PT.MAR Banyuasin จำนวน 7,131.69 เฮกตาร์ และให้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่ดังกล่าวภายใน 1 เดือน ทำให้บริษัท ปตท.ฯ และบริษัท พีทีทีจีอีฯเสียสิทธิในที่ดินดังกล่าวไปทันที

หลังจากนั้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นำเรื่องเข้าเสนอบอร์ดปตท.โดยมีนางรสยา เธียรวรรณ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ช PTTGEและนายชาญศิลป์ตรีนุชกร ประธานบอร์ด PTTGE ซึ่งลูกน้องคนสนิทได้เข้าร่วมประชุมกับบอร์ดปตท.เพื่อขออนุมัติการขายหุ้นของบริษัท PT.MAR ให้กับ PJM/HBO ในราคา 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้ร่วมกันปกปิดข้อเท็จจริง จนในที่สุดบอร์ดปตท.ได้มีมติขายหุ้นของบริษัท PT.MAR ให้กับ PJM/HBO ในราคา 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

800_4561400509699

ลดราคาที่ดินซื้อ1แถม1

ต่อมาในการประชุมบอร์ดพีทีทีจีอีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 นางรสยา และนายชาญศิลป์ กับพวกได้ร่วมกันอนุมัติปรับลดราคา มูลค่าซื้อขายบริษัท PT.MAR จากเดิม 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามคำขอของผู้ซื้อ เนื่องจากที่ดินในโครงการ PT.MAR Banyuasin ถูกเพิกถอนสิทธิ HGU และผู้ซื้อไม่ให้มูลค่ากับโครงการดังกล่าว(ตีเป็นศูนย์) นอกจากนี้นายชาญศิลป์ยังให้ความเห็นว่าโครงการ PT.MAR Banyuasin ไม่มีมูลค่าเลยหลังจากนั้นในวันที่ 27 เมษายน 2558 บุคคลดังกล่าวได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการตรวจสอบของปตท.โดยได้นำเสนอการถูกเพิกถอนสิทธิ HGU ในโครงการ PT.MAR Banyuasinที่ผู้ซื้อขอลดราคามูลค่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเหตุผลที่ยอมรับได้ โดยปกปิดการกระทำความผิดของตนเป็นเหตุให้คณะกรรมการตรวจสอบของปตท.มีมติรับทราบตามที่นำเสนอและให้ดำเนินการต่อไป

ในการประชุมบอร์ดปตท.เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 นายไพรินทร์ นำเรื่องเข้าบอร์ดโดยได้นำเสนอการถูกเพิกถอนสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน (HGU) ในโครงการ PT.MAR Banyuasin เพื่อขออนุมัติปรับชลดราคามูลค่าซื้อขายบริษัท PT.MAR จากเดิม 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งที่การถูกเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน (HGU) ดังกล่าวเกิดจากการกระทำความผิดของนางรสยา นายชาญศิลป์กับพวก จนทำให้บอร์ดปตท. ยินยอมปรับลดราคามูลค่าซื้อขายลงเป็นเงินจำนวน 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

5316500d2

ปตท.เสียหาย 1.5 พันล้าน
ดังนั้น จากการปรับถูกเพิกถอนสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากการเพิกเฉยของผู้บริหารพีทีทีจีอี ส่งผลให้พีทีทีจีอีและปตท.เสียหาย รวมเป็นเงินมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 1,500 ล้านบาท จากการเพิกถอนใชสิ้ทธิทำประโยชน์ที่ดินจำนวน 7,131.69 เฮกตาร์ และการขายของทั้ง 2 โครงการมีการจ่ายเงินเพียงโครงการ PT.MAR Pontianak เท่านั้น
ส่วนโครงการ PT.MAR Banyuasin นั้นตีมูลค่าเป็นศูนย์และมีการลดราคาซื้อขายบริษัท PT.MAR ให้แก่ผู้ซื้ออีกจำนวน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อปกปิดการกระทำความผิดของผู้บริหารพีทีทีจีอี รวมทั้งเสียสิทธิโรงสกัดนํ้ามันปาล์ม และเอกสารแสดงสิทธิในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ (HGB) อีกประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จึงมีคำถามตามมาว่า ในกระบวนการขายโครงการต่างๆของพีทีทีจีอีได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องขั้นตอนการขายหรือไม่