SCG ยํ้าผู้นำนวัตกรรม เปิดอินโนเวชัน เซ็นเตอร์ โชว์วัสดุแต่งบ้าน

26 ก.ค. 2560 | 07:05 น.
แต่ไหนแต่ไรมา กลุ่มเอสซีจี ตอกยํ้าการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม พร้อมทุ่มงบด้านวิจัยและพัฒนา หรือ R&D สร้างสรรค์กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA) อย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้เปิดตัวงานโอเพน อินโนเวชัน เซ็นเตอร์ (Open Innovation Center) ศูนย์กลางการเปิดรับความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากทั่วโลกที่ตั้งอยู่อาคารนวัตกรรม 2 ทาวเวอร์ D ชั้น 9 ภายในสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ย่านรังสิต ปทุมธานี

“ฐานเศรษฐกิจ” ได้คัดเลือกผลงานนวัตกรรมที่จะเป็นวัสดุที่สามารถนำไปใช้กับงานตกแต่งบ้าน งานก่อสร้างเพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกให้ผู้สนใจสามารถนำนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้งานได้

++แปรกระดาษเป็นเฟอร์นิเจอร์
ผลงานแรกเป็น “การนำกระดาษมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์” ตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ประตู ฉากกั้นที่มีความแข็งแรงทนทาน โดยได้พัฒนามาจากกระดาษ Saturating Kraft เยื่อกระดาษรีไซเคิลจนออกมาเป็น MG Paper ที่มีคุณสมบัติด้านความเรียบ มันวาว ความทึบสูง และดูดซึมสารเคลือบเงาตํ่าจึงสามารถนำมาทำเป็นแผ่นพิมพ์แสดงลายที่สวยงามของเฟอร์นิเจอร์ได้เลย

“หินไพโรลิธิก” หินอ่อนชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว รูปแบบเสมือนหินอ่อนจากธรรมชาติ โดยเป็นการผสานหินอ่อนธรรมชาติเข้ากับคุณสมบัติการใช้งานที่สมบูรณ์แบบ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ 100% ด้วยเทคโนโลยีการขึ้นรูปที่เรียกว่า Geomimicry เทคโนโลยีที่สามารถเลียนแบบกระบวนการกำเนิดลวดลายสายแร่ของหินอ่อนที่สวยงาม สามารถนำไปใช้งานสร้างเคาน์เตอร์ขนาดต่างๆ ทั้งห้องครัว ห้องนํ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ งานปูพื้น ผนังหรือเคาน์เตอร์ท็อปห้องนํ้า

[caption id="attachment_183461" align="aligncenter" width="437"] SCGยํ้าผู้นำนวัตกรรม เปิดอินโนเวชัน เซ็นเตอร์ โชว์วัสดุแต่งบ้าน SCGยํ้าผู้นำนวัตกรรม เปิดอินโนเวชัน เซ็นเตอร์ โชว์วัสดุแต่งบ้าน[/caption]

++ผลงานด้านซีเมนต์ก็มีเพียบ
“ปูนฉาบกันความร้อน” นวัตกรรมปูนฉาบที่มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันความร้อนโดยการนำวัสดุผสมเพิ่มที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนมาประยุกต์ใช้กับปูนฉาบ ออกมาเป็นผลงาน Insulating Cement เมื่อมาใช้กับผนังภายในและภายนอกอาคารพบว่าช่วยลดการนำความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในอาคารทำให้บ้านเย็นลง และยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 1 หมื่นบาทต่อปี

“ไบโอไฟเบอร์” อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเราสามารถลดรอยแตกร้าวจากงานฉาบได้ด้วยนาโนเทคโนโลยี โดยอาศัยคุณสมบัติของเส้นใยไอโอไฟเบอร์เป็นสะพานเชื่อมต่อระดับนาโนที่สามารถ อุ้มนํ้าและมีการกระจายตัวในเนื้อซีเมนต์เมทริกซ์ได้ดี ช่วยลดปัญหาการแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียนํ้าในปูน ช่วยเสริมความแรงให้กับเนื้อซีเมนต์เพื่อช่วยลดปัญหาการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวของปูนฉาบ นำไปสู่การได้ผนังสวยมีคุณภาพสูงและประหยัดเวลาในการก่อสร้าง

“ซี ซีเมนต์” นํ้าทะเลใช้ผสมคอนกรีตเนื่องจากปกตินั้นนํ้าทะเลไม่สามารถนำไปใช้ผสมคอนกรีตได้เพราะนํ้าทะเลมีสารประกอบหลักเป็นคลอไรด์จะทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิมส่งผลให้โครงสร้างไม่คงทนแข็งแรงได้ แต่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลหรือเกาะห่างไกลที่ขาดแคลนนํ้าจืด การหานํ้าสะอาดและทรายที่ไม่มีคลอไรด์ปนจึงทำได้ยาก หรือต้องขนส่งเป็นระยะทางไกล จึงเป็นที่มาของการพัฒนาสูตร Sea Cement ที่สามารถนำนํ้าทะเลและทรายจากทะเลมาผสมเป็นคอนกรีตใช้งานได้โดยไม่ทำให้เกิดสนิมในเหล็กเสริมรวม ทั้งยังทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการป้องกันคลอไรด์จากภายนอกได้อีกด้วย

++คอนกรีตซ่อมแซมตัวเอง
เช่นเดียวกับผลงาน คอน กรีตปิดรอยร้าว “Self- Heating Concrete” รูปแบบคอนกรีตที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เสมือนผิวหนังบนร่างกายมนุษย์ เพราะโครงสร้างที่เกิดจากความเสียหายของการสึกกร่อนตามสภาพแวดล้อมทำให้เกิดรอยแตกที่จะนำไปสู่ความเสียหายจากนํ้าที่เข้าไปกัดกร่อนเหล็กเสริม นวัตกรรมคอนกรีต “Self-Heating Concrete” จึงสามารถเข้าไปปิดรอยแตกร้าวได้ด้วยตนเองก่อนที่นํ้าจะเข้าไปกัดกร่อนช่วยลดปริมาณรอยแตกร้าวให้กับโครงสร้างคอนกรีต ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมคอนกรีต อาทิ โครงสร้างใต้นํ้าหรืออุโมงค์ เป็นต้น

ทั้งนี้ผลงานที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายผลงานที่นำเสนอภายในศูนย์แห่งนี้ ดังนั้นจากนี้ไปผลงานที่คิดค้นมาได้ “คงไม่ต้องขึ้นหิ้ง” อีกต่อไป จึงเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่วิศวกรด้านโครงสร้างจะเรียนรู้จากศูนย์แห่งนี้เพื่อนำไปต่อยอดแนวคิดการพัฒนาของแต่ละคนต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,281 วันที่ 23 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560