เส้นทางรถไฟโคราช-มาบตาพุดแก่งคอย-บางซื่อขนาดทางมาตรฐานเพิ่มศักยภาพการขนส่ง

19 ก.ค. 2560 | 05:13 น.
นับเป็นมิติใหม่ของการเพิ่มศักยภาพของการขนส่งสำหรับการเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (1.435 เมตร) โดยใช้ระบบไฟฟ้าเข้าไปให้บริการเพื่อยกระดับการให้บริการเดินทางและการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยโครงการนี้เริ่มมีการศึกษาและออกแบบรายละเอียด (Definitive Design) มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

โครงข่ายการพัฒนาระบบรางขนาดมาตรฐานเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อ 3 ประเทศด้วยระบบรถไฟความเร็วปานกลางที่สามารถพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคตรองรับไว้ด้วย โดยรถไฟโดยสารที่ให้บริการความเร็ว 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนรถไฟขนสินค้าให้บริการความเร็ว 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ หนองคาย-นครราชสีมา, นครราชสีมา-แก่งคอย,แก่งคอย-บางซื่อ, แก่งคอย-มาบตาพุด

P12-3279-AAB โดยในการออกแบบมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมเส้นทาง 3 ช่วง คือช่วงนครราชสีมา-แก่งคอย, ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ และช่วงแก่งคอย-แหลมฉบัง-มาบ ตาพุด และแบ่งออกเป็น 4 ช่วงย่อย คือช่วงบางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโล เมตร ช่วงฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด 141 กิโลเมตร ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138 กิโลเมตร และช่วงแก่งรอย-ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีทั้งโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้น โครงสร้างยกระดับช่วงสั้นๆ และโครงสร้างอุโมงค์

ทั้งนี้รถไฟโดยสารจะเดิน รถคู่ขนานไปกับรถไฟขนาด 1 เมตรจากหนองคาย ไปยังสถานีนครราชสีมา เข้ากรุงเทพมหานครผ่านสถานีปากช่อง สระบุรี อยุธยา ดอนเมือง ไปสิ้นสุดที่สถานีบางซื่อ ส่วนผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังภาคตะวันออกสามารถเดินรถแยกออกมาจากสถานีแก่งคอยไปยังสถานีฉะเชิงเทราไปใช้เส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองเดินทางไปชลบุรีและระยองต่อไป

[caption id="attachment_180039" align="aligncenter" width="356"] เส้นทางรถไฟโคราช-มาบตาพุดแก่งคอย-บางซื่อขนาดทางมาตรฐานเพิ่มศักยภาพการขนส่ง เส้นทางรถไฟโคราช-มาบตาพุดแก่งคอย-บางซื่อขนาดทางมาตรฐานเพิ่มศักยภาพการขนส่ง[/caption]

ส่วนรถไฟขนสินค้าจะเดินทางจากหนองคายไปนครราชสีมา แก่งคอย ฉะเชิงเทราไปยังท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด โดยจะมีลานกองเก็บตู้สินค้าหรือคอนเทนเนอร์ยาร์ดอยู่ที่อำเภอองครักษ์เพื่อใช้กระจายสินค้าไปสู่พื้นที่โดยรอบ และยังจะมีการสร้างทางหลีกเป็นช่วงๆจำนวน 8 จุด มีตำแหน่งศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ 4 จุดคือโคกกรวด มวกเหล็ก และองครักษ์จะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงทาง และที่จุดเชียงรากน้อย จะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงหนัก ส่วนสถานีเชื่อมต่อจะอยู่ที่สถานีฉะเชิงเทรานั่นเอง ส่วนจะได้สร้างให้เกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้นยังมีลุ้นช่วงเส้นทางทับซ้อนโครงการรถไฟไทย-จีนจะสำเร็จหรือไม่เมื่อไหร่ เท่านั้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,279 วันที่ 16 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560