ยันรถไฟไทย-จีน 1.7 แสนล้าน  คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 11%

11 ก.ค. 2560 | 10:24 น.
วันที่ 11-7-60- นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  ที่ประชุมครมมีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร มูลค่า 1.79 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายลงทุน 100% โดยจะเสนอสนช. เพื่อทราบต่อไป

 

[caption id="attachment_177850" align="aligncenter" width="500"] นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล[/caption]

"วันนี้ ครม.มีมติอนุมัติให้ รฟท.ดำเนินการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย ระยะที่ 1 (กรุงเทพ-นครราชสีมา) วงเงิน 179,413 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 4 ปี"นายกอบศักดิ์ กล่าว

นายกอบศักดิ์ กล่าวต้อไปว่า โครงการนี้ถือเป็นการปฏิรูประบบรถไฟครั้งสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหากไม่ดำเนินการโครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสสำคัญที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่ายการคมนาคมสายไหมของจีนที่เชื่อมโยงจากยุโรป-เอเชีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทางรถไฟระยะทางรวม 53,700 กิโลเมตร โดยขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 50%

"ถ้าเราไม่ก่อสร้างเส้นทางสายนี้ โอกาสที่ประเทศไทยจะเชื่อมโยงเข้ากับโครงข่ายดังกล่าวก็จะหายไป จะทำให้ประเทศไทยตกขบวนได้ ทำให้เราไม่ได้รับโอกาสทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม"นายกอบศักดิ์ กล่าว

18-Jun-17-12-03-07-PM นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะเชื่อมโยงพื้นที่พัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา และในอนาคตจะต่อไปถึงขอนแก่น หนองคาย และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเปิดโอกาสทำการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวให้กับประชาชน และจะเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้

เส้นทางนี้จะเชื่อมต่อไปถึงจีนเป็นระยะทาง 1,800 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางในประเทศไทย 647 กิโลเมตร เส้นทางใน สปป.ลาว 440 กิโลเมตร และเส้นทางในจีน 777 กิโลเมตร

โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ กรุงเทพ-นครราชสีมา, นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด โดยในการพัฒนาโครงการนี้จะเกาะไปตามเส้นทางรถไฟเดิมให้มากที่สุด หากจะมีการเวนคืนก็เพื่อให้การเดินรถตีโค้งได้ดี การขับเคลื่อนเป็นไปได้ ซึ่งจะทำให้มีการเวนคืนที่ดินประมาณ 2,815 ไร่ ประกอบด้วย 6 สถานี คือ บางซื่อ, ดอนเมือง, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, ปากช่อง และนครราชสีมา โดยจะมีศูนย์ควบคุมและศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ที่เชียงรากน้อย

20-6-2560-12-16-44 การให้บริการครั้งแรกในปี 2564 จะมีรถ 6 ขบวน วิ่งให้บริการ 11 เที่ยว/วัน ทุก 90 นาที ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง บรรจุผู้โดยสารได้ 600 คน/ขบวน ใช้เวลา 1.17 ชั่วโมง คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการราว 5,300 คน/วัน และในปี 2594 จะมีผู้โดยสารขั้นต่ำ 26,800 คน/วัน จะมีรถ 26 ขบวน วิ่งให้บริการทุก 35 นาที ค่าโดยสารเบื้องต้น 80+1.80 บาท/กิโลเมตร เช่น กรุงเทพ-สระบุรี จะคิด 278 บาท, กรุงเทพ-ปากช่อง 393 บาท, กรุงเทพ-นครราชสีมา 535 บาท

สำหรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (EIRR) ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าว 8.56% และหากคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยกว้าง ได้แก่ การพัฒนาเมืองบริเวณรอบสถานีจะทำให้ EIRR  อยู่ที่ 11.68%

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น สัญญาส่วนแรกที่เป็นการก่อสร้างและงานโยธาจะว่าจ้างผู้รับเหมาคนไทย และใช้วัสดุภายในประเทศ ซึ่งจะมีมูลค่างาน 75% ของโครงการ ส่วนสัญญาที่สองจะเป็นการวางระบบไฟฟ้า และอาณัติสัญญาณ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะมีมูลค่างาน 25% ของโครงการที่จะว่าจ้างจีน ทั้งนี้ ครม.ได้กำชับในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทย

20-6-2560-12-16-58 "กระทรวงคมนาคมตั้งใจว่าจะใช้สัญญาคุณธรรมเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการในโครงการนี้ " นายกอบศักดิ์ กล่าว